Skip to main content

ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
\\/--break--\>

การไปท้วร์ครั้งนี้ทำไมเลือกที่อเมริกาก่อน ทำไมไม่ทัวร์ที่เมืองไทยคะ?” สื่อมวลชนสุภาพสตรีท่านหนึ่งถาม

เราคิดว่าตลาดเพลงแนวนี้ในเมืองไทย แนว World music ไม่ค่อยมีพื้นที่เท่าที่ควร จึงยังไม่น่าสนใจเท่าที่ต่างประเทศ คนไทยยังไม่ค่อยอยากฟังเพลงที่มีสำเนียงไทยๆ วัฒนธรรมไทยที่ประกอบด้วยภูมิภาคต่างๆ ทั้งใต้ อีสาน กลาง เหนือ รวมไปถึงความเป็นชนเผ่าในเมืองไทย จริงๆมีศิลปินไทยที่พยายามสร้างสรรค์เพลงแนวนี้พอสมควร แต่กลุ่มคนฟังมันมีน้อยไนประเทศไทย คนไทยอยากฟังเพลงเกาหลีมากกว่า เราจึงเริ่มที่ต่างประเทศก่อน "พี่ทอด์ด" ตอบนักข่าว


แล้วไม่คิดจะปลูกฝังคนไทยให้หันมาฟังเพลงแนวนี้มากขึ้นเหรอคะ?” นักข่าวหญิงต่างสำนักถามต่อ

ผมว่าเป็นคำแนะนำที่ดี เราพยายามจัดเทศกาลดนตรีแนวนี้ เป็นเทศกาลจังหวะแผ่นดิน มาเป็นเวลา 4 ปี จัดมาทั้งทางใต้ ตะวันตก กลาง อีสานและทางเหนือด้วย ผู้คนมาฟังในงานเยอะ มัน สนุก แต่ไม่มีใครซื้อซีดีศิลปินเลย (ฮา) คนไทยยังมีเพลงของพี่เบิร์ดให้ฟังอยู่ครับ (ฮา) แต่ถ้ากระแสที่เมืองไทยดีขึ้นเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีครับ” พี่ทอด์ด อธิบายให้นักข่าวฟังอีกครั้ง


รุ่งเช้าตีสามกว่าของวันที่ 3 ผมถูกปลูกให้ตื่นเพราะต้องไปเช็คอินที่สุวรรณภูมิเครื่องจะออกประมาณ 6 โมง ผมขึ้นนั่งรถตู้ข้าง ๆ พี่ทอด์ด


ชิ อีก 20 นาทีเราจะถึงสนามบิน เราต้องโหลดของเยอะมาก ซึ่งเกินน้ำหนักที่เขากำหนดไว้ เพราะฉะนั้นอย่าถือสาพฤติกรรมผมอีก 20 นาทีข้างหน้านะ เพราะมันจะมีทั้งโหด เศร้า ร้องไห้ ขอความเห็นใจ เพื่อจะสามารถเอาของที่เป็นเครื่องดนตรีไปให้ได้ อเมริกาเขาจะกลัวไม้ที่มาจากต่างประเทศ เพราะเขากลัวปลวกจากต่างประเทศซึ่งเขาไม่สามารถกำจัดได้ บางทีมันกินบ้านพังไปทั้งหลัง อันนี้ก็เข้าใจเขา” พี่ทอด์ด คุยให้ฟัง ก่อนเราจะมุ่งหน้าเข้าสู่ประตูทางเข้า


การโหลดของเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากน้ำหนักเกินจะต้องใช้การเจรจาอย่างที่ว่า กว่าเราจะขึ้นเครื่องได้ เราก็กลายเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ขึ้นเครื่อง ปลายทางอยู่ที่ไทเป เราต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่นั่น โดยต้องใช้เวลารอเพื่อเปลี่ยนเครื่องประมาณ 8 ชั่วโมง ได้มีโอกาสชมบรรยากาศรอบ ๆ ในสนามบินไทเป นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสแวะชิม อาหารพื้นบ้านไต้หวัน

 

 
ร้านอาหารพื้นบ้านไต้หวัน ในสนามบิน


ไทเปหรือไต้หวัน ดูแล้วก็คล้าย ๆ จีน ทั้งภาษาเขียน ภาษาพูด รวมทั้งบุคลิกหน้าตาของผู้คน แต่เมื่อเราไปถามคนไต้หวันเขาจะบอกเพียงแต่ว่าเขาคล้ายจีนแต่เขาไม่เหมือนจีน และเขาไม่ใช่จีน เขาคือไต้หวัน เขาพยายามนำเสนอความเป็น อัตลักษณ์ของไต้หวัน ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเฉพาะที่ต่างจากจีน และในความเป็นอัตลักษณ์ของไต้หวันนั้น ยังได้รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 14 ชาติพันธุ์ อยู่ในนั้น


รูปแบบการต่อสู้ของไต้หวันเป็นการชูอัตลักษณ์ที่เด่นเพื่อประกาศความเป็นอิสระในอยู่เหนือการครอบครองออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของคนที่อยู่ในประเทศไต้หวันทั้งประเทศทุกคน ทุกชาติพันธุ์ และในการต่อสู้นั้น ส่วนหนึ่งใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อประกาศความเป็นเอกเทศ แม้จีนแผ่นดินใหญ่จะพยายามกดดันทุกวิถีทาง แต่วันนี้ไต้หวันยังคงยืนหยัดในความเป็นเอกเทศของตนเอง ยังคงเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนชาติพันธุ์ได้มีโอกาสประกาศตัวตน เกียรติ ศักดิ์ศรีในดินแดนแห่งนั้น


ทำให้นึกย้อนกลับมาดูการต่อสู้หลายๆ ที่ หลายๆ แห่ง หลายๆ กลุ่ม ที่มุ่งเน้นแต่การเมืองการทหารจนละเลยมิติอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนลูกหลานคนรุ่นใหม่ขาดจิตสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ และขาดความเข้าใจถึงรากเหง้าแก่นแท้ของเกียรติและศักดิ์ศรี วัฒนธรรมชนเผ่าของตนเอง ทำให้คนรุ่นใหม่ขาดพลังที่เป็นชาติพันธุ์นิยมทำให้พื้นที่การขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมลดน้อยลงไป เมื่อวัฒนธรรมที่เป็นจุดร่วมของคนชาติพันธุ์เดียวกันลดน้อยลง พลังสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียว ความเป็นปึกแผ่น ย่อมถูกกัดเซาะได้ง่ายขึ้น


ยิ่งทำให้นึกถึงการต่อสู้ของคนกะเหรี่ยงทางฝั่งพม่าที่หลงลืมความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เดียวกันแต่ถูกกัดเซาะ ยุแยง โดยการนำศาสนามาเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก แล้วปกครองอย่างง่ายดาย น่าเป็นห่วงว่าหลังจากความขัดแย้งด้านศาสนาซาลงไป ถ้าคนกะเหรี่ยงไม่มอง ไม่วิเคราะห์ ความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเดียวกันให้ชัดเจน ฝ่ายตรงข้ามจะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งเพื่อแบ่งแยกซ้ำคนกะเหรี่ยงอีกทีหนึ่ง นั่นคือ การจะพยายามแยกคนกะเหรี่ยงโผล่ว์กับกะเหรี่ยงจอห์ออกจากกัน ครั้งนี้จะทำให้กะเหรี่ยงแตกแยก กระจัดกระจาย ไร้พลังไปกันใหญ่ ได้แต่หวังว่า ความเจ็บปวดของสงครามริมฝั่งเมยรอบล่าสุดจะเป็นบทเรียนที่จะทำชาติพันธุ์ตนเองที่อยู่คนละฝั่งน้ำกันได้เป็นอย่างดี

 

 


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์”…
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง…
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่…
ชิ สุวิชาน
เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า   เก่อ…
ชิ สุวิชาน
หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้ มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด      …
ชิ สุวิชาน
“โมะโชะมาแล้ว” ชายหนุ่มคนหนึ่งกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น เมื่อเห็นร่างชายวัยปลายกลางคนเดินเข้ามา สายตาทุกดวงจึงมองไปที่ โมะโชะ เขาคือผู้นำในการขับขานเพลงธา เขาต้องเรียนรู้และพิสูจน์ตัวเองมาหลายปีกว่าเขาจะได้รับตำแหน่งนี้ หน้าที่รับผิดชอบสำหรับตำแหน่งนี้คือการเป็นผู้นำในการขับขานธาในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่น งานแต่ง หรืองานตาย บางชุมชนทั้งหมู่บ้านไม่มีโมะโชะเลย เวลามีงานต้องไปยืมหรือเชื้อเชิญโมะโชะจากชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ ว่ากันว่าชุมชนที่สมบูรณ์นอกจากต้องมีผู้นำชุมชนตามประเพณีที่เรียกว่า ฮี่โข่ ต้องมีจำนวนหลังคาในชุมชนมากกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว…
ชิ สุวิชาน
ช่วงเย็นหลังจากที่ทำงานในไร่ และกำลังจะนั่งกินข้าวร่วมครอบครัว “ลุงเร็ว ปู่ วาโข่ หายใจขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้หายใจลงแล้ว” หลานชายมาวงข่าวเกี่ยวกับพือวาโข่ซึ่งเป็นพ่อของเขา เขาละจากวงทานข้าวของครอบครัว แล้ววิ่งไปหาพ่อทันที พือวาโข่ เป็นฉายาที่เด็กๆ ในหมู่บ้านและหลานๆเ รียกชื่อผู้เฒ่าผู้ชายที่อาวุโส จนผมหงอกทั้งหัว พือหมายถึงพ่อเฒ่า วาโข่หมายถึง ผมขาว หากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า พีวาโข่ พีแปลว่าแม่เฒ่า นั่นเอง คนรุ่นนี้จะเป็นที่รักใคร่ของลูกหลานทั้งในครอบครัวและในชุมชน เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลของชุมชนทีมีค่า หากมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชนที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาทางออกได้…
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ…
ชิ สุวิชาน
มีบทธา ซึ่งเป็นบทกวีหรือสุภาษิตสองลูกสอนหลานของคนปกาเกอะญอมากมาย ที่กล่าวถึงเตหน่ากูเครื่องดนตรีดั้งเดิมของคนปกาเกอะญอ แต่ในตรงนี้จะยกมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างเบื้องต้นของ ธา ที่กล่าวถึงเตหน่ากู 1. เตหน่า อะ ปลี เลอ จอ ชึ             เด เต่อ มึ เด ซึ เด ซึ2.เตหน่า เลอ จอ แว พอ ฮือ            เต่อ บะ จอ จึ แซ เต่อ มึ3.เตหน่า ปวา แกวะ ออ เลอ เฌอ      เด บะ เก อะ หล่อ เลอ เปลอ4.เตหน่า ปวา เจาะ เลอ เก่อ มา     …
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ”…