Skip to main content

ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
\\/--break--\>

การไปท้วร์ครั้งนี้ทำไมเลือกที่อเมริกาก่อน ทำไมไม่ทัวร์ที่เมืองไทยคะ?” สื่อมวลชนสุภาพสตรีท่านหนึ่งถาม

เราคิดว่าตลาดเพลงแนวนี้ในเมืองไทย แนว World music ไม่ค่อยมีพื้นที่เท่าที่ควร จึงยังไม่น่าสนใจเท่าที่ต่างประเทศ คนไทยยังไม่ค่อยอยากฟังเพลงที่มีสำเนียงไทยๆ วัฒนธรรมไทยที่ประกอบด้วยภูมิภาคต่างๆ ทั้งใต้ อีสาน กลาง เหนือ รวมไปถึงความเป็นชนเผ่าในเมืองไทย จริงๆมีศิลปินไทยที่พยายามสร้างสรรค์เพลงแนวนี้พอสมควร แต่กลุ่มคนฟังมันมีน้อยไนประเทศไทย คนไทยอยากฟังเพลงเกาหลีมากกว่า เราจึงเริ่มที่ต่างประเทศก่อน "พี่ทอด์ด" ตอบนักข่าว


แล้วไม่คิดจะปลูกฝังคนไทยให้หันมาฟังเพลงแนวนี้มากขึ้นเหรอคะ?” นักข่าวหญิงต่างสำนักถามต่อ

ผมว่าเป็นคำแนะนำที่ดี เราพยายามจัดเทศกาลดนตรีแนวนี้ เป็นเทศกาลจังหวะแผ่นดิน มาเป็นเวลา 4 ปี จัดมาทั้งทางใต้ ตะวันตก กลาง อีสานและทางเหนือด้วย ผู้คนมาฟังในงานเยอะ มัน สนุก แต่ไม่มีใครซื้อซีดีศิลปินเลย (ฮา) คนไทยยังมีเพลงของพี่เบิร์ดให้ฟังอยู่ครับ (ฮา) แต่ถ้ากระแสที่เมืองไทยดีขึ้นเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีครับ” พี่ทอด์ด อธิบายให้นักข่าวฟังอีกครั้ง


รุ่งเช้าตีสามกว่าของวันที่ 3 ผมถูกปลูกให้ตื่นเพราะต้องไปเช็คอินที่สุวรรณภูมิเครื่องจะออกประมาณ 6 โมง ผมขึ้นนั่งรถตู้ข้าง ๆ พี่ทอด์ด


ชิ อีก 20 นาทีเราจะถึงสนามบิน เราต้องโหลดของเยอะมาก ซึ่งเกินน้ำหนักที่เขากำหนดไว้ เพราะฉะนั้นอย่าถือสาพฤติกรรมผมอีก 20 นาทีข้างหน้านะ เพราะมันจะมีทั้งโหด เศร้า ร้องไห้ ขอความเห็นใจ เพื่อจะสามารถเอาของที่เป็นเครื่องดนตรีไปให้ได้ อเมริกาเขาจะกลัวไม้ที่มาจากต่างประเทศ เพราะเขากลัวปลวกจากต่างประเทศซึ่งเขาไม่สามารถกำจัดได้ บางทีมันกินบ้านพังไปทั้งหลัง อันนี้ก็เข้าใจเขา” พี่ทอด์ด คุยให้ฟัง ก่อนเราจะมุ่งหน้าเข้าสู่ประตูทางเข้า


การโหลดของเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากน้ำหนักเกินจะต้องใช้การเจรจาอย่างที่ว่า กว่าเราจะขึ้นเครื่องได้ เราก็กลายเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ขึ้นเครื่อง ปลายทางอยู่ที่ไทเป เราต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่นั่น โดยต้องใช้เวลารอเพื่อเปลี่ยนเครื่องประมาณ 8 ชั่วโมง ได้มีโอกาสชมบรรยากาศรอบ ๆ ในสนามบินไทเป นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสแวะชิม อาหารพื้นบ้านไต้หวัน

 

 
ร้านอาหารพื้นบ้านไต้หวัน ในสนามบิน


ไทเปหรือไต้หวัน ดูแล้วก็คล้าย ๆ จีน ทั้งภาษาเขียน ภาษาพูด รวมทั้งบุคลิกหน้าตาของผู้คน แต่เมื่อเราไปถามคนไต้หวันเขาจะบอกเพียงแต่ว่าเขาคล้ายจีนแต่เขาไม่เหมือนจีน และเขาไม่ใช่จีน เขาคือไต้หวัน เขาพยายามนำเสนอความเป็น อัตลักษณ์ของไต้หวัน ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเฉพาะที่ต่างจากจีน และในความเป็นอัตลักษณ์ของไต้หวันนั้น ยังได้รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 14 ชาติพันธุ์ อยู่ในนั้น


รูปแบบการต่อสู้ของไต้หวันเป็นการชูอัตลักษณ์ที่เด่นเพื่อประกาศความเป็นอิสระในอยู่เหนือการครอบครองออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของคนที่อยู่ในประเทศไต้หวันทั้งประเทศทุกคน ทุกชาติพันธุ์ และในการต่อสู้นั้น ส่วนหนึ่งใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อประกาศความเป็นเอกเทศ แม้จีนแผ่นดินใหญ่จะพยายามกดดันทุกวิถีทาง แต่วันนี้ไต้หวันยังคงยืนหยัดในความเป็นเอกเทศของตนเอง ยังคงเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนชาติพันธุ์ได้มีโอกาสประกาศตัวตน เกียรติ ศักดิ์ศรีในดินแดนแห่งนั้น


ทำให้นึกย้อนกลับมาดูการต่อสู้หลายๆ ที่ หลายๆ แห่ง หลายๆ กลุ่ม ที่มุ่งเน้นแต่การเมืองการทหารจนละเลยมิติอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนลูกหลานคนรุ่นใหม่ขาดจิตสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ และขาดความเข้าใจถึงรากเหง้าแก่นแท้ของเกียรติและศักดิ์ศรี วัฒนธรรมชนเผ่าของตนเอง ทำให้คนรุ่นใหม่ขาดพลังที่เป็นชาติพันธุ์นิยมทำให้พื้นที่การขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมลดน้อยลงไป เมื่อวัฒนธรรมที่เป็นจุดร่วมของคนชาติพันธุ์เดียวกันลดน้อยลง พลังสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียว ความเป็นปึกแผ่น ย่อมถูกกัดเซาะได้ง่ายขึ้น


ยิ่งทำให้นึกถึงการต่อสู้ของคนกะเหรี่ยงทางฝั่งพม่าที่หลงลืมความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เดียวกันแต่ถูกกัดเซาะ ยุแยง โดยการนำศาสนามาเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก แล้วปกครองอย่างง่ายดาย น่าเป็นห่วงว่าหลังจากความขัดแย้งด้านศาสนาซาลงไป ถ้าคนกะเหรี่ยงไม่มอง ไม่วิเคราะห์ ความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเดียวกันให้ชัดเจน ฝ่ายตรงข้ามจะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งเพื่อแบ่งแยกซ้ำคนกะเหรี่ยงอีกทีหนึ่ง นั่นคือ การจะพยายามแยกคนกะเหรี่ยงโผล่ว์กับกะเหรี่ยงจอห์ออกจากกัน ครั้งนี้จะทำให้กะเหรี่ยงแตกแยก กระจัดกระจาย ไร้พลังไปกันใหญ่ ได้แต่หวังว่า ความเจ็บปวดของสงครามริมฝั่งเมยรอบล่าสุดจะเป็นบทเรียนที่จะทำชาติพันธุ์ตนเองที่อยู่คนละฝั่งน้ำกันได้เป็นอย่างดี

 

 


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ