Skip to main content

หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 

\\/--break--\>

"จริงๆแล้วเด็กเวียดนามพวกนี้เกิดที่อเมริกา พ่อแม่เขาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม แต่ความเป็นเวียดนามของเขาแรงมาก และเขาจะรักษาความเป็นเวียดนามมากจนคนอเมริกาและคนเอเชียอื่นต่างเกรงกลัวในความเป็นคนเวียดนามที่เข้มแข็ง" พี่แพทเล่าให้ฟัง

ระหว่างที่ทานข้าวเราคุยกันถึงโปรแกรมที่ไปต่อหลังจากกินข้าวเสร็จ  ผู้ชายส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีตกลงกันที่จะไปเที่ยวในผับที่ขึ้นชื่อในการเล่นดนตรีสดในร้าน ส่วนผู้หญิงกลัวไปแล้วต้องกลับมาดึกจึงได้แยกไปซื้อของในห้างแทน

"House of Blues เป็นร้านที่ขึ้นที่ของเมืองนี้เกี่ยวกับแนวเพลงบลูส์ ผมอยากให้พวกคุณได้ไปชมวัฒนธรรมดนตรีของคนที่นี่บ้าง" พี่ทอด์ดได้บอกกับนักดนตรีที่มาด้วยกัน ผมชักจะรู้สึกตื่นเต้นซะแล้ว

เมื่อเข้าไปถึงร้าน บรรยากาศเหมือนร้านอาหารหรูๆทั่วไป มีเวทีสำหรับดนตรี ที่นั่งโซฟาอย่างดีสำหรับลูกค้าของร้าน  พี่ทอด์ดเข้าไปหาเจ้าของร้าน แล้วแนะนำคณะจากเมืองไทยที่เดินทางมาด้วย  สีหน้าเจ้าของร้านดีใจมากที่เห็นพวกเราเขามาในร้านเขา

"เราต้องขออภัยด้วยที่วันนี้ไม่มีดนตรี เพราะเป็นวันหยุดของนักดนตรี"เจ้าของร้านบอกข่าวร้ายแก่เรา เล่นเอาเศร้าไปตามๆกันไป แต่เจ้าของร้านพาไปดูฮอล์แสดงคอนเสริตของร้าน เจ้าของร้านยังถือโอกาสชวน หากคราวหน้ามีการทัวร์คอนเสริต อย่าลืมเลยผ่านบริการฮอล์ของร้านไป

จากนั้นเราเจอเจ้าของผับอีกแห่งหนึ่งที่บังเอิญเข้ามาเที่ยวในร้านและเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านเมื่อเขารู้ว่าเรามาจากเอเชียเขาจึงพาเราไปที่ผับของเขาซึ่งคนที่จะเข้าไปได้ต้องเป็นสมาชิกประจำของผับเท่านั้น  แต่ครั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับพวกเรา  ทั้งผับตกแต่งด้วยศิลปะอินเดียทั้งสิ้น  ตั้งแต่หน้าประตูลิฟต์ไปจนถึงห้องน้ำ  เจ้าของผับบอกว่า เขารักศิลปะของอินเดียมาก  เขาต้องการรักษาเอาไว้ ไม่ว่าลายผ้า เครื่องดนตรี เครื่องปั้น พระพุทธรูป ล้วนอยู่ในร้านนี้

ผมเองเมื่อเข้ามาในร้านรู้สึกทึ่งในความรักศิลปะอินเดียของเศรษฐีชาวอเมริกันคนหนึ่ง  แต่ผมไม่แน่ใจว่าสำหรับคนอินเดียเขาจะดีใจหรือเปล่า ในเมื่อศิลปะของเขาต้องมาอยู่ในที่แบบนี้  รูปปั้นพระพุทธรูปบางองค์ถูกตั้งอยู่ด้านหลังขวดเหล้าขวดไวน์หลายสิบขวด  บางองค์ต้องอยู่ในห้องดื่มส่วนตัว  ต่างคนคงมีต่างมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้  ทำให้ผมนึกถึง โกละ หรือกลองมโหระทึกของคนปกาเกอะญอที่ถูกเศรษฐีโรงแรมหลายคน เอาไปตั้งเป็นโต๊ะกาแฟในโรงแรม  ในความรู้สึกคนปกาเกอะญอมันไม่ใช่  ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา

หลังจากเราออกจากผับศิลปะอินเดีย  เราเห็นชอบร่วมกันว่า ในเมื่อไม่มีบลูส์ให้ฟัง ไปฟังร็อคแก้เซ็งก็ไม่เลว   จึงไปร้านที่มีการแสดงดนตรีร็อคที่มีชื่อเสียงในเมือง  แต่ปรากฏว่าร้านดังกล่าวกลับปิดอีก  เหมือนโชคไม่ให้เอื้อให้เราได้เสพดนตรีของเมืองนี้ในคืนนี้  จึงได้มีการเบนเข็มไปสถานที่เที่ยวดูอะไรที่ตื่นเต้นแบบผู้ชายแทน  จึงทำให้ผมลังเลมาก ไปดีหรือไม่ไปดี

"ไหนๆ คุณมาถึงอเมริกาแล้ว คุณไปดูวัฒนธรรมของคนที่นี่บ้างดิ" พี่แพทบอกผม
"ไปเถิด ไม่มีใครไปบอกภรรยาคุณหรอก" เพื่อนนักดนตรีจากอีสานบอกผม
"ไปเหอะ ไม่มีอะไรหรอก ไปเที่ยวดูเฉย พี่ก็ไป สนุกๆ" พี่ที่อาวุโสที่สุดในกลุ่มโน้มน้าวผม
"ไปดิ เผื่อกลับไปเล่าให้พี่น้องคุณฟังอีกมุมหนึ่งของที่นี่" พี่ทอด์ดบอกผม

ผมจะปฏิเสธได้อย่างไรในเมื่อทุกคนมีใจอยากไปกัน และมารถคันเดียวกัน หากผมดื้อไม่ไปคนเดียวและให้ทุกคนกลับไปส่งผมก็ดูจะเรื่องมากไปหน่อย  ผมจึงตกลงตามๆเขาไป โดยยังไม่รู้ว่าปลายทางที่แท้จริงคืออะไร

ทันทีที่ถึงสถานที่หมาย ได้รับคำสั่งให้หยิบพาสปอร์ตออกมา  เพื่อแสดงต่อพนักงานของสถานที่นั้น  มีการตรวจค้นอาวุธ กักมือถือกล้องถ่ายรูปทุกอย่างไว้  พกเพียงกระเป๋าตังค์เข้าไป  เมื่อเข้าไปในบาร์ ผมตกใจกับภาพที่เห็นต่อหน้านิดหน่อย  ย้ำว่านิดหน่อย หญิงสาวแหม่มกำลังเต้นเย้ายวนตามโต๊ะต่างๆของแขก  โดยที่นุ่งเพียงบิกินี่ ตัวเดียว เนื้อเป็นเนื้อ นมเป็นนม  ผมค่อยๆปรับอารมณ์ตนเองให้ปกติ  ทางคณะเลือกโต๊ะที่ติดขอบเวที เพื่อสามารถดูนางระบำได้อย่างใกล้ชิด และก็ไม่ผิดหวัง  นอกจากได้เห็นด้วยตาที่ระยะประชิดแล้ว เสียงหายใจของเธอยังได้ยินเลย

นางระบำออกมาโชว์ลีลาเย้ายวนคนแล้วคนเล่า จากสาวเล็ก สาวใหญ่จนถึงสาวแก่ น่าเบื่อบ้างน่าตื่นเต้นบ้าง  ก่อนที่เธอจะออกมาด้วยทรวดทรงแบบนักยิมนาสติก โดยปกติคนอื่นจะใช้เสาเหล็กสำหรับรูด แต่เธอเอามือจับแล้วดันตัวขึ้นตรง แล้วเหวี่ยงตัวตามเข็มนาฬิกา  เธอแสดงให้เห็นพละกำลังของผู้หญิงมิใช่เพียงความเย้ายวน เซ็กซี่อย่างเดียว ลีลาของเธอไม่ได้ออกมาในเชิงลามกอนาจาร แต่เต็มไปด้วยท่วงท่าจังหวะที่มีศิลปะอยู่ในตัว  คืนนี้ผมไม่ได้ประทับใจนักระบำเย้ายวนของแหม่มสาว แต่ผมกลับประทับใจนักยิมนาสติก 

ราตรีนี้ จากเพลงบลูส์ เป็นผับศิลปะอินเดีย ต่อด้วยดนตรีร็อค ตามด้วยบาร์ระบำและยิมนาสติก


ในฮอลล์แสดงคอนเสริตของ House of Bluse
 


ในผับศิลปะอินเดีย
 


ขวดเหล้า ไวน์ ต่อหน้ารูปปั้น
  


ในมุมส่วนตัว
 


อีกมุมหนึ่ง

  

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์”…
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง…
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่…
ชิ สุวิชาน
เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า   เก่อ…
ชิ สุวิชาน
หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้ มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด      …
ชิ สุวิชาน
“โมะโชะมาแล้ว” ชายหนุ่มคนหนึ่งกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น เมื่อเห็นร่างชายวัยปลายกลางคนเดินเข้ามา สายตาทุกดวงจึงมองไปที่ โมะโชะ เขาคือผู้นำในการขับขานเพลงธา เขาต้องเรียนรู้และพิสูจน์ตัวเองมาหลายปีกว่าเขาจะได้รับตำแหน่งนี้ หน้าที่รับผิดชอบสำหรับตำแหน่งนี้คือการเป็นผู้นำในการขับขานธาในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่น งานแต่ง หรืองานตาย บางชุมชนทั้งหมู่บ้านไม่มีโมะโชะเลย เวลามีงานต้องไปยืมหรือเชื้อเชิญโมะโชะจากชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ ว่ากันว่าชุมชนที่สมบูรณ์นอกจากต้องมีผู้นำชุมชนตามประเพณีที่เรียกว่า ฮี่โข่ ต้องมีจำนวนหลังคาในชุมชนมากกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว…
ชิ สุวิชาน
ช่วงเย็นหลังจากที่ทำงานในไร่ และกำลังจะนั่งกินข้าวร่วมครอบครัว “ลุงเร็ว ปู่ วาโข่ หายใจขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้หายใจลงแล้ว” หลานชายมาวงข่าวเกี่ยวกับพือวาโข่ซึ่งเป็นพ่อของเขา เขาละจากวงทานข้าวของครอบครัว แล้ววิ่งไปหาพ่อทันที พือวาโข่ เป็นฉายาที่เด็กๆ ในหมู่บ้านและหลานๆเ รียกชื่อผู้เฒ่าผู้ชายที่อาวุโส จนผมหงอกทั้งหัว พือหมายถึงพ่อเฒ่า วาโข่หมายถึง ผมขาว หากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า พีวาโข่ พีแปลว่าแม่เฒ่า นั่นเอง คนรุ่นนี้จะเป็นที่รักใคร่ของลูกหลานทั้งในครอบครัวและในชุมชน เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลของชุมชนทีมีค่า หากมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชนที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาทางออกได้…
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ…
ชิ สุวิชาน
มีบทธา ซึ่งเป็นบทกวีหรือสุภาษิตสองลูกสอนหลานของคนปกาเกอะญอมากมาย ที่กล่าวถึงเตหน่ากูเครื่องดนตรีดั้งเดิมของคนปกาเกอะญอ แต่ในตรงนี้จะยกมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างเบื้องต้นของ ธา ที่กล่าวถึงเตหน่ากู 1. เตหน่า อะ ปลี เลอ จอ ชึ             เด เต่อ มึ เด ซึ เด ซึ2.เตหน่า เลอ จอ แว พอ ฮือ            เต่อ บะ จอ จึ แซ เต่อ มึ3.เตหน่า ปวา แกวะ ออ เลอ เฌอ      เด บะ เก อะ หล่อ เลอ เปลอ4.เตหน่า ปวา เจาะ เลอ เก่อ มา     …
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ”…