Skip to main content

หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 

\\/--break--\>

"จริงๆแล้วเด็กเวียดนามพวกนี้เกิดที่อเมริกา พ่อแม่เขาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม แต่ความเป็นเวียดนามของเขาแรงมาก และเขาจะรักษาความเป็นเวียดนามมากจนคนอเมริกาและคนเอเชียอื่นต่างเกรงกลัวในความเป็นคนเวียดนามที่เข้มแข็ง" พี่แพทเล่าให้ฟัง

ระหว่างที่ทานข้าวเราคุยกันถึงโปรแกรมที่ไปต่อหลังจากกินข้าวเสร็จ  ผู้ชายส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีตกลงกันที่จะไปเที่ยวในผับที่ขึ้นชื่อในการเล่นดนตรีสดในร้าน ส่วนผู้หญิงกลัวไปแล้วต้องกลับมาดึกจึงได้แยกไปซื้อของในห้างแทน

"House of Blues เป็นร้านที่ขึ้นที่ของเมืองนี้เกี่ยวกับแนวเพลงบลูส์ ผมอยากให้พวกคุณได้ไปชมวัฒนธรรมดนตรีของคนที่นี่บ้าง" พี่ทอด์ดได้บอกกับนักดนตรีที่มาด้วยกัน ผมชักจะรู้สึกตื่นเต้นซะแล้ว

เมื่อเข้าไปถึงร้าน บรรยากาศเหมือนร้านอาหารหรูๆทั่วไป มีเวทีสำหรับดนตรี ที่นั่งโซฟาอย่างดีสำหรับลูกค้าของร้าน  พี่ทอด์ดเข้าไปหาเจ้าของร้าน แล้วแนะนำคณะจากเมืองไทยที่เดินทางมาด้วย  สีหน้าเจ้าของร้านดีใจมากที่เห็นพวกเราเขามาในร้านเขา

"เราต้องขออภัยด้วยที่วันนี้ไม่มีดนตรี เพราะเป็นวันหยุดของนักดนตรี"เจ้าของร้านบอกข่าวร้ายแก่เรา เล่นเอาเศร้าไปตามๆกันไป แต่เจ้าของร้านพาไปดูฮอล์แสดงคอนเสริตของร้าน เจ้าของร้านยังถือโอกาสชวน หากคราวหน้ามีการทัวร์คอนเสริต อย่าลืมเลยผ่านบริการฮอล์ของร้านไป

จากนั้นเราเจอเจ้าของผับอีกแห่งหนึ่งที่บังเอิญเข้ามาเที่ยวในร้านและเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านเมื่อเขารู้ว่าเรามาจากเอเชียเขาจึงพาเราไปที่ผับของเขาซึ่งคนที่จะเข้าไปได้ต้องเป็นสมาชิกประจำของผับเท่านั้น  แต่ครั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับพวกเรา  ทั้งผับตกแต่งด้วยศิลปะอินเดียทั้งสิ้น  ตั้งแต่หน้าประตูลิฟต์ไปจนถึงห้องน้ำ  เจ้าของผับบอกว่า เขารักศิลปะของอินเดียมาก  เขาต้องการรักษาเอาไว้ ไม่ว่าลายผ้า เครื่องดนตรี เครื่องปั้น พระพุทธรูป ล้วนอยู่ในร้านนี้

ผมเองเมื่อเข้ามาในร้านรู้สึกทึ่งในความรักศิลปะอินเดียของเศรษฐีชาวอเมริกันคนหนึ่ง  แต่ผมไม่แน่ใจว่าสำหรับคนอินเดียเขาจะดีใจหรือเปล่า ในเมื่อศิลปะของเขาต้องมาอยู่ในที่แบบนี้  รูปปั้นพระพุทธรูปบางองค์ถูกตั้งอยู่ด้านหลังขวดเหล้าขวดไวน์หลายสิบขวด  บางองค์ต้องอยู่ในห้องดื่มส่วนตัว  ต่างคนคงมีต่างมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้  ทำให้ผมนึกถึง โกละ หรือกลองมโหระทึกของคนปกาเกอะญอที่ถูกเศรษฐีโรงแรมหลายคน เอาไปตั้งเป็นโต๊ะกาแฟในโรงแรม  ในความรู้สึกคนปกาเกอะญอมันไม่ใช่  ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา

หลังจากเราออกจากผับศิลปะอินเดีย  เราเห็นชอบร่วมกันว่า ในเมื่อไม่มีบลูส์ให้ฟัง ไปฟังร็อคแก้เซ็งก็ไม่เลว   จึงไปร้านที่มีการแสดงดนตรีร็อคที่มีชื่อเสียงในเมือง  แต่ปรากฏว่าร้านดังกล่าวกลับปิดอีก  เหมือนโชคไม่ให้เอื้อให้เราได้เสพดนตรีของเมืองนี้ในคืนนี้  จึงได้มีการเบนเข็มไปสถานที่เที่ยวดูอะไรที่ตื่นเต้นแบบผู้ชายแทน  จึงทำให้ผมลังเลมาก ไปดีหรือไม่ไปดี

"ไหนๆ คุณมาถึงอเมริกาแล้ว คุณไปดูวัฒนธรรมของคนที่นี่บ้างดิ" พี่แพทบอกผม
"ไปเถิด ไม่มีใครไปบอกภรรยาคุณหรอก" เพื่อนนักดนตรีจากอีสานบอกผม
"ไปเหอะ ไม่มีอะไรหรอก ไปเที่ยวดูเฉย พี่ก็ไป สนุกๆ" พี่ที่อาวุโสที่สุดในกลุ่มโน้มน้าวผม
"ไปดิ เผื่อกลับไปเล่าให้พี่น้องคุณฟังอีกมุมหนึ่งของที่นี่" พี่ทอด์ดบอกผม

ผมจะปฏิเสธได้อย่างไรในเมื่อทุกคนมีใจอยากไปกัน และมารถคันเดียวกัน หากผมดื้อไม่ไปคนเดียวและให้ทุกคนกลับไปส่งผมก็ดูจะเรื่องมากไปหน่อย  ผมจึงตกลงตามๆเขาไป โดยยังไม่รู้ว่าปลายทางที่แท้จริงคืออะไร

ทันทีที่ถึงสถานที่หมาย ได้รับคำสั่งให้หยิบพาสปอร์ตออกมา  เพื่อแสดงต่อพนักงานของสถานที่นั้น  มีการตรวจค้นอาวุธ กักมือถือกล้องถ่ายรูปทุกอย่างไว้  พกเพียงกระเป๋าตังค์เข้าไป  เมื่อเข้าไปในบาร์ ผมตกใจกับภาพที่เห็นต่อหน้านิดหน่อย  ย้ำว่านิดหน่อย หญิงสาวแหม่มกำลังเต้นเย้ายวนตามโต๊ะต่างๆของแขก  โดยที่นุ่งเพียงบิกินี่ ตัวเดียว เนื้อเป็นเนื้อ นมเป็นนม  ผมค่อยๆปรับอารมณ์ตนเองให้ปกติ  ทางคณะเลือกโต๊ะที่ติดขอบเวที เพื่อสามารถดูนางระบำได้อย่างใกล้ชิด และก็ไม่ผิดหวัง  นอกจากได้เห็นด้วยตาที่ระยะประชิดแล้ว เสียงหายใจของเธอยังได้ยินเลย

นางระบำออกมาโชว์ลีลาเย้ายวนคนแล้วคนเล่า จากสาวเล็ก สาวใหญ่จนถึงสาวแก่ น่าเบื่อบ้างน่าตื่นเต้นบ้าง  ก่อนที่เธอจะออกมาด้วยทรวดทรงแบบนักยิมนาสติก โดยปกติคนอื่นจะใช้เสาเหล็กสำหรับรูด แต่เธอเอามือจับแล้วดันตัวขึ้นตรง แล้วเหวี่ยงตัวตามเข็มนาฬิกา  เธอแสดงให้เห็นพละกำลังของผู้หญิงมิใช่เพียงความเย้ายวน เซ็กซี่อย่างเดียว ลีลาของเธอไม่ได้ออกมาในเชิงลามกอนาจาร แต่เต็มไปด้วยท่วงท่าจังหวะที่มีศิลปะอยู่ในตัว  คืนนี้ผมไม่ได้ประทับใจนักระบำเย้ายวนของแหม่มสาว แต่ผมกลับประทับใจนักยิมนาสติก 

ราตรีนี้ จากเพลงบลูส์ เป็นผับศิลปะอินเดีย ต่อด้วยดนตรีร็อค ตามด้วยบาร์ระบำและยิมนาสติก


ในฮอลล์แสดงคอนเสริตของ House of Bluse
 


ในผับศิลปะอินเดีย
 


ขวดเหล้า ไวน์ ต่อหน้ารูปปั้น
  


ในมุมส่วนตัว
 


อีกมุมหนึ่ง

  

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ