Skip to main content

คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ


บรรยากาศตอนนี้ดูไม่ต่างจากอยู่เมืองไทยเท่าไหร่  เพราะในงานมีคนไทยประมาณร้อยละ
98 ส่วนที่เหลือปะปนกันไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสามี ภรรยา หรือเพื่อนสนิทของคนไทยที่มาร่วมงาน

ระหว่างที่คนกำลังทยอยกันเข้ามาในห้องที่มีการจัดแสดงคอนเสิร์ต ผมสังเกตเห็นเสื้อปกาเกอะญอตัวหนึ่งเคลื่อนตัวท่ามกลางฝูงชนเข้ามาในงาน  ผมอดตื้นตันไม่ได้ที่เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว ผมเพ่งมองอย่างไม่ละสายตา  แม้คนใส่เสื้อปกาเกอะญอจะไม่ใช่คนปกาเกอะญอก็ตาม


ทันทีที่เห็นผมเสื้อปกาเกอะญอโบกมือและแหวกฝูงชนตรงมาที่ผม

ผมมาเป็นกำลังใจคุณ หลังจากที่คุณออกจากโรงเรียน ทางคณะครูมานั่งคุยกันถึงความเป็นไปได้ในโครงการแลกเปลี่ยนครูจากศูนย์ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กับครูในโรงเรียนของเรา ที่ผ่านมาพวกเราคิดกันมาตลอดแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราไม่รู้จะประสานงานไปที่ใคร เมื่อเราเจอคุณ ทำให้เราเริ่มมีความหวัง เราอาจต้องรบกวนช่วยประสานงานให้เรากับทางศูนย์ฯที่เมืองไทยหน่อย เรามีแผนที่จะไปเยี่ยมศูนย์ที่เมืองไทย อาจต้องรบกวนคุณช่วยพาไป ครูชาวสเปนที่สอนในโรงเรียนผู้อพยพมาประเทศที่สามบอกผม


มีผู้ปกครองเด็กปกาเกอะญอมอบเสื้อให้ผมตอนเปิดเทอม ผมไม่เคยใส่เลย ครั้งนี้มาฟังเพลงปกาเกอะญอก็เลยอยากใส่เสื้อปกาเกอะญอ เพื่อให้คุณรู้ว่ามาเป็นกำลังใจให้คุณโดยเฉพาะเขาพูดพร้อมกับหัวเราะและจับดูเสื้อของตนเอง

งานเริ่มด้วยเพลงชาติไทยต่อด้วยการแสดงเปิดของลูกหลานไทย  นอกจากการแสดงจากไทยแล้ว มีการแสดงกระทบไม่ไผ่จากมองโกเลีย  และมีการแสดงระบำฮาวายจากกลุ่มแม่บ้านเจ้าถิ่นด้วย จากนั้นได้เวลาเตหน่ากูทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวตนเองให้คนไทยฟังอีกครั้ง

คีย์บอร์ดของ พี่สานุ วรรณพร ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเตหน่ากูในการบรรเลงครั้งนี้ 4 เพลง  หลังจากนั้นเตหน่ากูได้ร่วมกับวงใหญ่บรรเลงต่อจากภาคเหนือ ขยับสู่แดนใต้ ย้อนมาที่ภาคกลาง และปิดท้ายที่แม่น้ำโขง แบบแม่โขงบลูส์

หลังจบคอนเสิร์ต บรรยากาศรีบเร่งมาเยือนอีกครั้ง นักดนตรี นักเต้นและทีมงานทุกคนต่างรู้หน้าที่ดี ทุกคนเก็บอาวุธของตนเองและส่วนประกอบขึ้นรถเพื่อเดินทางต่อ  คืนนี้ไม่มีเวลาพักต้องเดินทางต่อเลย เป้าหมายอยู่ที่รัฐอีลีนอย เมืองชิคาโก ระยะกว่าพันไมล์ ใช้เวลาขับรถกว่า
20 โมง เวลาแสดงคือคืนพรุ่งนี้เวลาทุ่มตรง

เพื่อความปลอดภัยในการเตรียมตัวจึงมีการแบ่งคณะออกเป็น
2 ทีม ทีมแรกคือนักดนตรีสากลให้เดินทางโดยเครื่องบินเพื่อไปติดตั้งดนตรีและเครื่องเสียงก่อน ส่วนนักเต้นและนักดนตรีพื้นบ้านให้เดินทางโดยรถ และเนื่องจากระยะทางในการเดินทางยาวและรีบเร่ง ผมจึงถูกบังคับให้นอนก่อนในช่วงกลางคืน

คืนนี้คุณไม่มีสิทธิ์ทำอะไรนอกจากนอนและนอนเท่านั้น พรุ่งนี้เก้าโมงคุณเปลี่ยนหน้าที่เป็นคนขับและผมจะทำหน้าที่นอนแทนคุณพรุ่งนี้” พี่ทอด์ดบอกผมพร้อมกับให้ทีมงานเตรียมที่นอนบนม้านั่งยาวในรถตู้

ก่อนออกมีคนไทยวัยดึกคนหนึ่งเดินมาหา

คืนนี้ไปนอนบ้านผม ไม่ต้องไปนอนที่อื่น เขาบอกผม
ไม่ได้ครับคืนนี้เดินทางไปชิคาโกเลยครับ ผมปฏิเสธคำชวนอย่างรู้สึกเกรงใจ
นั่งเครื่องไปพรุ่งนี้ก็ได้ ประมาณ 3 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว ผมอยากให้ไปนอนที่บ้านเพราะเมื่อก่อนผมเคยไปเป็นครูที่หมู่บ้านปกาเกอะญอที่อำเภอแม่แจ่ม เขาพูดจบพร้อมกับเอ่ยชื่อคนปกาเกอะญอที่เขารู้จัก รวมไปถึงพ่อของผมด้วย และเขายังพูดภาษาปกาเกอะญอได้อีกหลายประโยค

ขอบคุณมากครับ แต่ผมต้องช่วยพี่ทอด์ดขับรถครับ จึงต้องเดินทางไปพร้อมกัน ผมปฏิเสธเขาอีกครั้งด้วยความที่ต่างคนต่างเสียดาย อยากสานสัมพันธ์ต่อให้ยาวกว่านั้น แต่ต้องเก็บพับโอกาสนั้นไว้เพื่อเดินทางต่อยังจุดหมายที่ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้าให้แล้ว



เสื้อปกาเกอะญอแทรกตัวท่ามกลางฝูงชน

 


คนใส่ไม่ใช่คนปกาเกอะญอ

 


รำกระทบไม้ไผ่จากมองโกเลีย

 

 


ระบำฮาวาย

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์”…
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง…
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่…
ชิ สุวิชาน
เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า   เก่อ…
ชิ สุวิชาน
หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้ มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด      …
ชิ สุวิชาน
“โมะโชะมาแล้ว” ชายหนุ่มคนหนึ่งกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น เมื่อเห็นร่างชายวัยปลายกลางคนเดินเข้ามา สายตาทุกดวงจึงมองไปที่ โมะโชะ เขาคือผู้นำในการขับขานเพลงธา เขาต้องเรียนรู้และพิสูจน์ตัวเองมาหลายปีกว่าเขาจะได้รับตำแหน่งนี้ หน้าที่รับผิดชอบสำหรับตำแหน่งนี้คือการเป็นผู้นำในการขับขานธาในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่น งานแต่ง หรืองานตาย บางชุมชนทั้งหมู่บ้านไม่มีโมะโชะเลย เวลามีงานต้องไปยืมหรือเชื้อเชิญโมะโชะจากชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ ว่ากันว่าชุมชนที่สมบูรณ์นอกจากต้องมีผู้นำชุมชนตามประเพณีที่เรียกว่า ฮี่โข่ ต้องมีจำนวนหลังคาในชุมชนมากกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว…
ชิ สุวิชาน
ช่วงเย็นหลังจากที่ทำงานในไร่ และกำลังจะนั่งกินข้าวร่วมครอบครัว “ลุงเร็ว ปู่ วาโข่ หายใจขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้หายใจลงแล้ว” หลานชายมาวงข่าวเกี่ยวกับพือวาโข่ซึ่งเป็นพ่อของเขา เขาละจากวงทานข้าวของครอบครัว แล้ววิ่งไปหาพ่อทันที พือวาโข่ เป็นฉายาที่เด็กๆ ในหมู่บ้านและหลานๆเ รียกชื่อผู้เฒ่าผู้ชายที่อาวุโส จนผมหงอกทั้งหัว พือหมายถึงพ่อเฒ่า วาโข่หมายถึง ผมขาว หากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า พีวาโข่ พีแปลว่าแม่เฒ่า นั่นเอง คนรุ่นนี้จะเป็นที่รักใคร่ของลูกหลานทั้งในครอบครัวและในชุมชน เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลของชุมชนทีมีค่า หากมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชนที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาทางออกได้…
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ…
ชิ สุวิชาน
มีบทธา ซึ่งเป็นบทกวีหรือสุภาษิตสองลูกสอนหลานของคนปกาเกอะญอมากมาย ที่กล่าวถึงเตหน่ากูเครื่องดนตรีดั้งเดิมของคนปกาเกอะญอ แต่ในตรงนี้จะยกมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างเบื้องต้นของ ธา ที่กล่าวถึงเตหน่ากู 1. เตหน่า อะ ปลี เลอ จอ ชึ             เด เต่อ มึ เด ซึ เด ซึ2.เตหน่า เลอ จอ แว พอ ฮือ            เต่อ บะ จอ จึ แซ เต่อ มึ3.เตหน่า ปวา แกวะ ออ เลอ เฌอ      เด บะ เก อะ หล่อ เลอ เปลอ4.เตหน่า ปวา เจาะ เลอ เก่อ มา     …
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ”…