Skip to main content

คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ


บรรยากาศตอนนี้ดูไม่ต่างจากอยู่เมืองไทยเท่าไหร่  เพราะในงานมีคนไทยประมาณร้อยละ
98 ส่วนที่เหลือปะปนกันไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสามี ภรรยา หรือเพื่อนสนิทของคนไทยที่มาร่วมงาน

ระหว่างที่คนกำลังทยอยกันเข้ามาในห้องที่มีการจัดแสดงคอนเสิร์ต ผมสังเกตเห็นเสื้อปกาเกอะญอตัวหนึ่งเคลื่อนตัวท่ามกลางฝูงชนเข้ามาในงาน  ผมอดตื้นตันไม่ได้ที่เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว ผมเพ่งมองอย่างไม่ละสายตา  แม้คนใส่เสื้อปกาเกอะญอจะไม่ใช่คนปกาเกอะญอก็ตาม


ทันทีที่เห็นผมเสื้อปกาเกอะญอโบกมือและแหวกฝูงชนตรงมาที่ผม

ผมมาเป็นกำลังใจคุณ หลังจากที่คุณออกจากโรงเรียน ทางคณะครูมานั่งคุยกันถึงความเป็นไปได้ในโครงการแลกเปลี่ยนครูจากศูนย์ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กับครูในโรงเรียนของเรา ที่ผ่านมาพวกเราคิดกันมาตลอดแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราไม่รู้จะประสานงานไปที่ใคร เมื่อเราเจอคุณ ทำให้เราเริ่มมีความหวัง เราอาจต้องรบกวนช่วยประสานงานให้เรากับทางศูนย์ฯที่เมืองไทยหน่อย เรามีแผนที่จะไปเยี่ยมศูนย์ที่เมืองไทย อาจต้องรบกวนคุณช่วยพาไป ครูชาวสเปนที่สอนในโรงเรียนผู้อพยพมาประเทศที่สามบอกผม


มีผู้ปกครองเด็กปกาเกอะญอมอบเสื้อให้ผมตอนเปิดเทอม ผมไม่เคยใส่เลย ครั้งนี้มาฟังเพลงปกาเกอะญอก็เลยอยากใส่เสื้อปกาเกอะญอ เพื่อให้คุณรู้ว่ามาเป็นกำลังใจให้คุณโดยเฉพาะเขาพูดพร้อมกับหัวเราะและจับดูเสื้อของตนเอง

งานเริ่มด้วยเพลงชาติไทยต่อด้วยการแสดงเปิดของลูกหลานไทย  นอกจากการแสดงจากไทยแล้ว มีการแสดงกระทบไม่ไผ่จากมองโกเลีย  และมีการแสดงระบำฮาวายจากกลุ่มแม่บ้านเจ้าถิ่นด้วย จากนั้นได้เวลาเตหน่ากูทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวตนเองให้คนไทยฟังอีกครั้ง

คีย์บอร์ดของ พี่สานุ วรรณพร ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเตหน่ากูในการบรรเลงครั้งนี้ 4 เพลง  หลังจากนั้นเตหน่ากูได้ร่วมกับวงใหญ่บรรเลงต่อจากภาคเหนือ ขยับสู่แดนใต้ ย้อนมาที่ภาคกลาง และปิดท้ายที่แม่น้ำโขง แบบแม่โขงบลูส์

หลังจบคอนเสิร์ต บรรยากาศรีบเร่งมาเยือนอีกครั้ง นักดนตรี นักเต้นและทีมงานทุกคนต่างรู้หน้าที่ดี ทุกคนเก็บอาวุธของตนเองและส่วนประกอบขึ้นรถเพื่อเดินทางต่อ  คืนนี้ไม่มีเวลาพักต้องเดินทางต่อเลย เป้าหมายอยู่ที่รัฐอีลีนอย เมืองชิคาโก ระยะกว่าพันไมล์ ใช้เวลาขับรถกว่า
20 โมง เวลาแสดงคือคืนพรุ่งนี้เวลาทุ่มตรง

เพื่อความปลอดภัยในการเตรียมตัวจึงมีการแบ่งคณะออกเป็น
2 ทีม ทีมแรกคือนักดนตรีสากลให้เดินทางโดยเครื่องบินเพื่อไปติดตั้งดนตรีและเครื่องเสียงก่อน ส่วนนักเต้นและนักดนตรีพื้นบ้านให้เดินทางโดยรถ และเนื่องจากระยะทางในการเดินทางยาวและรีบเร่ง ผมจึงถูกบังคับให้นอนก่อนในช่วงกลางคืน

คืนนี้คุณไม่มีสิทธิ์ทำอะไรนอกจากนอนและนอนเท่านั้น พรุ่งนี้เก้าโมงคุณเปลี่ยนหน้าที่เป็นคนขับและผมจะทำหน้าที่นอนแทนคุณพรุ่งนี้” พี่ทอด์ดบอกผมพร้อมกับให้ทีมงานเตรียมที่นอนบนม้านั่งยาวในรถตู้

ก่อนออกมีคนไทยวัยดึกคนหนึ่งเดินมาหา

คืนนี้ไปนอนบ้านผม ไม่ต้องไปนอนที่อื่น เขาบอกผม
ไม่ได้ครับคืนนี้เดินทางไปชิคาโกเลยครับ ผมปฏิเสธคำชวนอย่างรู้สึกเกรงใจ
นั่งเครื่องไปพรุ่งนี้ก็ได้ ประมาณ 3 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว ผมอยากให้ไปนอนที่บ้านเพราะเมื่อก่อนผมเคยไปเป็นครูที่หมู่บ้านปกาเกอะญอที่อำเภอแม่แจ่ม เขาพูดจบพร้อมกับเอ่ยชื่อคนปกาเกอะญอที่เขารู้จัก รวมไปถึงพ่อของผมด้วย และเขายังพูดภาษาปกาเกอะญอได้อีกหลายประโยค

ขอบคุณมากครับ แต่ผมต้องช่วยพี่ทอด์ดขับรถครับ จึงต้องเดินทางไปพร้อมกัน ผมปฏิเสธเขาอีกครั้งด้วยความที่ต่างคนต่างเสียดาย อยากสานสัมพันธ์ต่อให้ยาวกว่านั้น แต่ต้องเก็บพับโอกาสนั้นไว้เพื่อเดินทางต่อยังจุดหมายที่ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้าให้แล้ว



เสื้อปกาเกอะญอแทรกตัวท่ามกลางฝูงชน

 


คนใส่ไม่ใช่คนปกาเกอะญอ

 


รำกระทบไม้ไผ่จากมองโกเลีย

 

 


ระบำฮาวาย

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…