Skip to main content


ขอต่อยาวสาวความยืดถึงน้ามาดบางมุมดูหน้าดุ เวลาเดินเหมือนนุ่นลอยอีกหน่อย อย่างที่บอกไว้ บุรุษไร้นาม(และหนาม)ตามใจคนนี้ อย่าให้นั่งหน้าทับหน้าหนังกลองแล้วกัน ความจืดของหน้าจะถูกขับออกมาอย่างเผ็ดร้อน ไม่เรียบเฉยปล่อยวางอีกแล้ว บางด้านดูดุเทียบได้ใบหน้าเสือจ้องขบ กลับเกลี่ยเสียใหม่ เป็นเสียงทะลวงไส้พุงเร้าใจผิดหน้าผิดหูผิดตาไปทันที


การปรากฏตัวบนเวทีของน้ามาด คนชอบลูกตอดอง(เหนาะ)จิ้มน้ำชุบเท่านั้น จึงจะรู้ว่ารสชาติเป็นอย่างไรหรอยอย่างแรง!!

ชีวิตเขาเล็กดีปลี(พริกขี้หนู) บ้านเกิดอยู่บ้านชายเลนอก อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช บนถนนเลียบริมเลไปทิศใต้ออกสงขลา หรือขึ้นเหนือไปออกสุราษฎร์ธานี

วัยเด็กของเขา เป็นยุคของความอุดมสมบูรณ์ ในนายังข้าว ในน้ำยังปลา ในอากาศยังลูก(มะ)พร้าวกับลูกโหนด อีกฟากหนึ่งของแผ่นดินเป็นเลสาปสงขลา รินน้ำยอกย้อนไปมากับเลเค็มเลนอกอ่าวไทย

ชีวิตปากพนัง ณ ปัจจุบัน ต้อง(ส)บถโหยหาฉากหลงลืมในห้วงอดีตไม่หวนคืน เขาแค่หลับตาก็เห็นภาพเด็กชาย ปีนเสาโรงหนังตะลุง ไปยืนอยู่หลังโรง เฝ้ามองตาเป็นมัน นายหนังจะเชิดรูปไหน รูปตัวตลก ไอ้เท่ง ไอ้ทอง ไอ้หนูนุ้ย ไอ้สะหม้อ ไอ้ดิก ไอ้เนือย ไอ้หลำ รูปเจ้าเมือง รูปฤาษี รูปเทวดา รูปตัวพระตัวนาง ฯลฯ

เขาหลงใหลการวางรูป เงารูปหนัง ลายสลักรูปหนังและดนตรีที่มีไม่กี่ชิ้น
"ตอนนั้นยังแค่ปี่ ซอ ขลุ่ย ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง เท่านั้นแหละ กีตาร์ กลอง เบส ยังไม่มา เพิ่งมาทีหลัง เราเห็นหนังลุงเดิมๆโบราณๆมาก่อน ซึมซับมันมาตลอด"

ยุคสมัยที่เดินทางจากปากพนังโดยทางเรือไปเมืองนครศรีธรรมราช ยุคแม่เฒ่าขุดแห้วขายลิตรละ 2 บาท เป็นช่วงเวลาพิเศษในชีวิตน้ามาด เขามีญาติอยู่นครฯ ช่วยขายปลา ขายของไปตามเรื่อง

ตกกลางคืน เขาไปเฝ้าจอหนัง(ตะ)ลุงจนสว่างคาตา กลับมาถึงบ้าน ยังไม่นอน นั่งวาดรูปหนังลุง แกะออกมาเป็นตัวๆ เสร็จแล้วจึงนอน
นอนกลางวัน เพื่อตื่นกลางคืน ไปแลหนังลุง
ไม่พอเท่านั้น เขายังไปหาถังน้ำมัน(ทุ่ง)ขนาด 200 ลิตร เอามาทำเป็นกลอง ว่างตอนไหน ตีตอนนั้น ตีมันเข้าไปตามจังหวะหนังลุง

ใครไม่ปฏิเสธเสียงตีถังน้ำมันของน้ามาด
"วันวันมันเอาแต่ตีทุ่ง" ..
เขาวาดรูปหนังลุงได้คล่องมือ และมีความสวยงามขึ้นตามลำดับ
"วาดรูปหนังแลกยางเส้น"

สายตาซึมซับเครื่องหนัง ชุบหนังวัวเป็นรูปหนังลุง กลายเป็นลมหายใจของเขา ไม่ว่ามีหนังลุงที่บ้านไหน เขาต้องเดินข้ามถ่อง(ทุ่งนากว้าง)สามสี่ถ่อง ไปให้ถึงโรงหนัง ปีนขึ้นหลังโรง จนผู้ใหญ่ไล่ลงครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ไม่ยอมฟัง

เขาเติบโตมาบนพื้นที่ชีวิตเหล่านั้น
กระทั่งออกไปหาครูบาอาจารย์ที่ได้ชื่อว่าชำนาญเรื่องแกะสลักรูปหนังลุง เขามีอาจารย์ที่เคารพหลายคน หนึ่งในหลายคนนั้นมีชื่ออาจารย์สุชาติ ทรัพย์สินอยู่ด้วย ศิลปินแห่งชาติปี2550 ผู้ที่น้ามาดบอกว่าเป็นสุดยอดของงานแกะรูปหนัง(ตะ)ลุง

การเดินทางของใต้สวรรค์และเหล่าพลพรรคฝูงปลาดุกแถกเหงือก จึงมีรูปหนังติดสอยห้อยตาม เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบฉากแสดงด้วย
คนเชิดรูปหนังไม่ใช่ใคร
น้ามาด!!
ทิ้งทับแล้ววิ่งไปหาจอหนังทันที


การทำงานของเหล่าฝูงปลาดุก จึงต้องแบกจอหนังติดตัวไปด้วยทุกครั้ง ทำโครงเหล็กประกอบกันมาเสร็จสรรพ ขึงจอรอท่าไว้ตั้งแต่หัวมุ้งมิ้ง(หัวค่ำ )
และเจ้าภาพต้องสละต้นกล้วยให้หนึ่งต้นอย่างพออกพอใจทุกครั้ง
เสียบตัวหนัง(ตะ)ลุง
รูปหนังลุงปักไว้บนต้นหยวกกล้วย น้ามาดต้องทำพิธีไหว้ครู อัญเชิญเทวดา ขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงการล่วงเกินวิญญาณตัวหนังทั้งหลาย ให้การแสดงได้ลุล่วงจับใจคนฟังคนชมจนได้

งานเชิดหนังเป็นศิลปะของแสง-เงา ลายแกะสลักนั้นเอง เป็นที่มาของแสงเงาอลังการ เหลือเชื่อ สวยงาม มีเรื่องราวและมีชีวิตขึ้นมา
"รูปตัวตลกราคาของอาจารย์ดังๆ ผมซื้อมาตัวละ 250 บาท รูปหนูนุ้ย เท่ง ทอง อยู่ที่ฝีมืออาจารย์ รูปปลายหน้าบท รูปเจ้าเมือง รูปฤาษี รูปเทวดาทรงโค ราคาตัวหนึ่งเกิน 1,000 บาททั้งนั้น แต่ผมซื้อมาราคาตัวละ 800 กว่า 900 กว่าทั้งนั้น"

ม้ามาดมีรูปหนังลุงอยู่กับตัวตอนนี้ 30 ตัว

 

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
เสียงเธอดังขึ้นในความเงียบ ผมบอกให้เธอรู้อีกครั้ง ใช่ๆ ใช่มันจริงๆ อีแร้งหรือไม่ก็นกยักษ์ มันนั่งยองๆ อยู่บนรั้วบ้าน อย่างกับทิ้งน้ำหนักนับพันๆกิโลกดทับลงบนกำแพงคอนกรีตอันบอบบาง ถ้ามันนั่งนานกว่านี้ เมืองทั้งเมืองจะเทลาดมาทางนี้ มันเชิดหน้าเฉยเมย ประกาศความใหญ่โตหนาหนัก ผมยืนมองมันด้วยความรู้สึกแขนขาอ่อน เนื้อตัวเย็นเฉียบ อย่าคิดมากเลย คำพูดผมเบาเป็นนุ่น เธอไม่เชื่อในสิ่งที่ผมเห็นมากับตา เธอต้องลงไปดู ไม่ แต่พี่เห็นมัน มันคงมาเล่นงานเราอีก คราวนี้พี่อย่ายอมมันนะ ไอ้นกป่วยนั่นนำโชคร้ายมาให้ มันควรไปเกาะที่อื่น ไปในที่ๆไม่ใช่ขอบรั้วบ้านมนุษย์ยิ่งดี…
ชนกลุ่มน้อย
ด็อกเตอร์สมบัติ เครือทอง ครูการเขียนคนแรกของผม ย้ายจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก นานหลายปีมาแล้ว แต่ผมได้พบครูสอนเขียนเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น วันที่ครูมาร่วมงานสัมมนาทางวิชาการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อสัปดาห์ก่อนนี่เอง ผมไม่พลาดโอกาสที่จะพบหน้าครูให้ได้ เราพบกันในร้านกาแฟบนถนนนิมนานเหมินทร์ ย่านร้านรวงธุรกิจบริการกาแฟผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด จัดแต่งร้านพร้อมนำเสนอเครื่องดื่มชวนดื่มชิมรส รมณียสถานคราคร่ำด้วยผู้คนทั้งกลางวันกลางคืน พบกันคราวนี้ ผมมีเรื่องเก่าย้อนถาม “จดหมายจากสวนยางถึงสวนลุกซองบูร์ยังมีอยู่มั้ยครับ…
ชนกลุ่มน้อย
เปิดตัวหนังสืออีกแล้วหรือพี่..!??!” เครื่องหมายประหลาดใจตามมาด้วยความตกใจ ประมาณว่าไม่เข็ดหลาบจำเสียทีนะพี่ หนังสือเล่มไหนเล่มใหม่หรือพี่ ออกมาเมื่อไหร่ ไม่เห็นหน้าเห็นตาเลย “นั่นสิ มันหลบอยู่ตรงไหน กลายเป็นของหายากไปได้อย่างไร หลบหน้าหลบตาคนอ่าน” ทีเล่นหรือทีจริงก็ตาม สุดท้ายผมก็บอกไปว่า สงสัยแผงเขาไม่ว่างวางของหนัก หรือไม่ก็เขาเก็บออกไปจากแผงเสียแล้วมั้ง แล้วเขาก็ถามต่ออีกว่า แล้วพี่จะมาเปิดตัวหนังสืออีกทำไม สำนักพิมพ์ที่พิมพ์งานของพี่รวยเหรอ ผมรีบออกตัวว่า เปล่า อาจจะจนก็ได้มั้ง พอศอของข้าวแพงไข่ไก่แพง บนหนทางที่ไม่ได้ปลูกข้าวกินเอง และไม่ได้เลี้ยงไก่ไว้กินไข่…
ชนกลุ่มน้อย
ผมไปตามวันเวลาหมอนัดอีกครั้ง หลังจากพลาดนัดครั้งแรก ถ้าผมไม่ไปตรงเวลา ผมจะต้องคอยนานอีกอย่างน้อยสองเดือน คนจัดการรับเรื่องนัดหมายพยายามแจกแจงให้เห็นความจำเป็นของการคอย เพราะคนป่วยอันเนื่องมาจากฟัน มีเป็นจำนวนมาก เหมือนกับต่างคนต่างรู้ช่องทางทำฟันราคาถูก “ไปคลีนิกไม่ต้องนัดนานเป็นเดือนนะลูก” ป้าคนนั่งกุมแก้มขวาบวมเป่ง ผมถามป้าว่ามาทำอะไร “ถอนฟัน” .. ห่างออกไปราวสิบห้าเมตร มือเหล็กยักษ์กำลังขุดคุ้ยโคนรากไม้ เสียงเครื่องยนต์ครางกระหึ่มตลอดเวลา เส้นเชือกขีดคั่นปักแดนล้อมเอาไว้ แต่แค่บอกอาณาบริเวณห้ามคนผ่านเข้าไปเท่านั้น คนเดินผ่านไปมาก็ยังต้องหันไปมองมัน…
ชนกลุ่มน้อย
พอพ่อลูกเดินไปถึงสถานีขนส่งช้างเผือก คนก็มองจ้องราวกับกำลังจะมีฉากถ่ายหนังในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า เขากองสัมภาระไว้ข้างเก้าอี้ ลูกชายนั่งเฝ้า เขาเดินไปซื้อตั๋ว คนมองลูกชายพลางมองพ่อไปมา บางคนแอบกระซิบยิ้มหัวขณะสายตามองไปยังลูกชาย “เชียงดาวสองที่นั่ง” คนเป็นพ่อมองหญิงวัย 40 กว่าๆ ดูสีหน้าแววตาขี้เล่น ใบหน้าลงเครื่องแป้งหนาลบวัยจริง เป็นใบหน้าคอยถามตอบต้อนรับผู้โดยสาร “ลงที่ไหนจ้าว..วว์” เสียงหวานถามกลับเป็นสำเนียงคำเมืองยืดหางเสียง คนเป็นพ่อนิ่งคิด ชั่วอึดใจนั้น คนขายตั๋วก็มีสถานที่นำเสนอให้ลง “สถานีตำรวจมั้ยจ้าว” น้ำเสียงนั้นเจือยิ้มหัวเป็นกันเอง…
ชนกลุ่มน้อย
คุณไปยืนอยู่ใต้ต้นพลัมตอนย่ำค่ำ มันขึ้นปะปนอยู่กับป่าผลไม้อื่นๆ อย่างพลับ ท้อ บ้วย สาลี่ อโวคาโด ขนุน กล้วย นับรวมหลายสิบชนิด เพียงต่อพลัมกำลังให้ลูกสุกเต็มต้น เช้าวันต่อมา คุณกลายร่างเป็นนกป่าเข้าสวนตั้งแต่เช้า ดวงอาทิตย์สว่างมาจากแนวป่าสนลอดผ่านพุ่มใบไม้เป็นลำแสงสีเงินสีทอง งามสงบจนคุณไม่อยากจะเดินย่างไปไหน   แต่นกหิวลืมตัว ปลิดเข้าปากกินสดๆ อย่างไม่รู้จักอิ่ม “ลูกนี้สุกแล้ว ลองดูๆพันธุ์ลูกแดง พันธุ์ลูกเหลืองก็มี เดินไปดูต้นโน้น” เจ้าของสวนชวนชิม “กินเลยๆ ปล่อยให้มันร่วงไปอย่างนั้น นกมานกก็กินกัน”
ชนกลุ่มน้อย
ผมตกปากรับคำนั่งซ้อนหลังอานรถของเขาอย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผมจะวางใจในฝีไม้ลายมือของเขา รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเส้นทางที่เขาขับขี่ไปมาอยู่ทุกวัน ผมควรประหยัดคำพูดที่จะถามเรื่องคุ้นเคยเส้นทาง อีกทั้งมอเตอร์ไซค์คู่ชีพเขา ก็ตั้งวางให้เห็นความแข็งแรงพร้อมลุย โคลนคลุกตามตัวรถเหมือนบอกว่าไปทางไหนไม่หวั่น “ไกลมั้ย” ผมจะถามถึงระยะทาง “หลังเขาลูกนั้น” เขาชี้มือไปยังเนินเขาไกลๆอยู่ม่านหมอกฝน เขามาอาสาเป็นธุระรับส่งไปสวนป่า ผมอยากไปเห็นกับตา ว่าป่าธรรมชาติกับคนทำสวนในป่านั้น จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ความเข้าใจคนทั่วไปนั้น ป่าก็อยู่ส่วนป่า คนก็อยู่ส่วนคน…
ชนกลุ่มน้อย
31 สิงหาคม 2540 13.30 น. ไกลลิบ ถนนโค้งพุ่งผิดรูปหายไปในพงหญ้าสูงท่วมศีรษะ คนหนึ่งเหมือนหลักกิโลเมตรเคลือบสีดำ เห็นมาแต่ไกล เพียงแต่เสาหินเคลื่อนที่ได้ ช้าเหมือนมด พอรถวิ่งไปใกล้ จึงเห็นผืนผ้าขาวเขียนตัวหนังสือด้วยหมึกดำ เคียงคู่ไปกับเสาหิน เหมือนไม่รู้สุขรู้เศร้า เสาหินสวมหมวกเก่าๆ รองเท้ายางหุ้มส้น ในใจผมคิดว่า แกคงเดินเรียกร้องบางสิ่งบางอย่าง พอรถแล่นผ่านตัวแก โค้งถนนเป็นเส้นตรงอีกครั้ง ความจริงก็ปรากฏ ขบวนแห่ศพ!!.. รถผมเชื่องช้าเป็นไส้เดือน เหมือนว่าล้อรถหุ้มด้วยหนังงูเหลือม ลมตีเข้ามาทางหน้าต่าง ไม่ใช่ลมดอกไม้สด แต่เป็นลมมีกลิ่นธูป…
ชนกลุ่มน้อย
30 สิงหาคม 254008.35 น. รถจิ๊ปสีดำส่งเสียงอยู่หน้าบ้าน เสียงนั้นเพิ่งกลับมาจากทำงาน เธออดนอนมาค่อนคืน ชั่วอึดใจหนึ่งนั้น เสียงเหล็กปะทะของแข็ง ผมผละจากหน้าเครื่องพิมพ์ดีดโอ เสาบ้าน กันชนแตกเป็นรอยร้าวเธอมองหน้าผม ผมพยายามจะเข้าใจ “อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าชีวิตจริงจะมีกันชนหรือไม่ก็ตาม”หนังสือ “ลมหายใจสงคราม” ของอา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ยังวางอยู่บนโต๊ะ ผมเปิดอ่านอีกครั้ง “..ผมเสียใจ! ระยำ! ผมไม่เคยมีความรู้สึกนี้บ่อยนัก แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะแนะนำให้คุณเข้าป่า ในป่ามันก็มีสงครามระหว่างแมลงกับใบไม้ และดอกไม้เป็นพิเศษ บัดซบ! คุณไม่รักสงคราม แต่คุณก็ไม่เกลียดมัน คุณกลัวมันเท่านั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ไม่มีเหตุผลที่ผมจะมุ่งไปยังเถียงนาหลังนั้น เพียงแต่อยากเดินเข้าไปในโพรงจมูกของเทือกอินทนนท์สักครั้งหนึ่ง วันที่แดดแรงปลายฤดูร้อน นาข้าวขั้นบันไดสุดหูสุดตาเหลือแต่ตอ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ร่องรอยเก็บเกี่ยว โล่งลิบ ใบข้าวกองเกลื่อน ร่องรอยตีข้าวมีฟางข้าว ตอซังข้าวเป็นตุ่มตาเรียงรายบนพื้นผิวไหล่เขา ผมยืนอยู่บนไหล่เขาแล้วมองออกไปทางราบลุ่ม ภาพที่เห็นอย่างกับการปรากฏตัวของชิ้นส่วนวัตถุประหลาดผุดขึ้นมาจากพื้นดินผมนึกไม่ออกว่า เถียงนาลุงเหน่วอเป็นอย่างไร คนนำทางก็ไม่ได้บอกว่า เถียงนาหลังนั้นซุกซ่อนเรื่องราวใดไว้บ้าง หรือมีส่วนปลีกย่อยอื่นใด ทำให้เกิดความหมายน่าสนใจขึ้นมากกว่าเถียงนาหลังอื่นๆ…
ชนกลุ่มน้อย
“ถ้าน่องมนุษย์ตั้งท้องได้ คนทุกคนจะเป็นพี่น้องกัน” ถึงเวลาหยิบปลาแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ สะตอใส่กล่องลังเสียที ช่วงเวลาตากอากาศบ้านเกิดหมดลงอีกครั้ง ผมได้ย้อนกลับไปบนเส้นทางเก่าๆที่เคยไป สถานที่ที่ข้องเกี่ยวกับวัยเด็ก คนที่ผูกพันใจ รวมไปถึงพืชพันธุ์ต้นไม้ที่อยู่ในใจ กลับไปสู่ต้นสายปลายเหตุของตัวเอง และเดินทางต่อไป อย่างที่บอกแต่ต้น ผมพกหนังสือไปหลายเล่ม แต่ไม่ได้อ่านครบทุกเล่ม อย่างเล่ม แผ่นดินอื่น รวมเรื่องสั้นของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ผมเปิดอ่านผ่านๆอีกรอบ แต่ผมก็มีโอกาสไปเดิน บนถนนโคลีเซียม เรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของเขา วันเวลาได้กลืนกินฉากเก่าๆไปแทบหมดสิ้น…
ชนกลุ่มน้อย
 ยืนอยู่บนท่าเรือปากพะยูน  มองเห็นเกาะสี่เกาะห้าที่อยู่ของรังนกนางแอ่นชัดเจน  ราวกับภาพวาดในม่านฝน  เบลอๆหมองๆ มองได้นานๆ  ผมกลับบ้านทุกครั้ง  ต้องไปให้ถึง ณ จุดนั้นให้ได้  ที่ซึ่งระเบียงยื่นออกไปในน้ำ   ยังมีร้านกาแฟ  ชาผงชงถุงแบบโบราณ  โต๊ะเก้าอี้ตั้งวางแบบเปิดโล่ง  ตกเย็นถุงกาแฟบนรถเข็นยกขึ้นลงไม่ขาดมือ  ชงหวานชงขม  ใส่นมข้นหวาน  น้ำตาลกับโกปี้  โต๊ะต่อโต๊ะ  เก้าอี้ต่อเก้าอี้ตั้งพื้นไม่มีหลังคา  รับลมพัดมาแรงๆ  มองออกไปยังเห็นพื้นน้ำเขียวกว้าง  …