Skip to main content

ปี 2006 'ราชอาณาจักรนอร์เวย์' ได้ทำการ 'ปฏิรูปภาษี' โดยการเก็บภาษีจากกำไรของบริษัทสูงสุดไม่เกิน 28% เท่าเดิม เหมือนก่อนปฏิรูป แต่ที่เพิ่มเติมคือ ภาษีที่เก็บจากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ นั่นคืออัตราภาษีสูงสุด 'หลัง' ปฏิรูปที่ 'เจ้าของบริษัท' ต้องจ่ายคือไม่เกิน 48.16% จาก 'รายได้ของบริษัท' ไม่เก็บโดยตรงจากผู้ถือหุ้น, ส่วนภาษีเงินได้ 'บุคคลธรรมดา' รวมที่หักค่าประกันสังคมแล้ว จากเดิมก่อนปฏิรูปสูงสุดไม่เกิน 64.7% ลดลงเหลือไม่เกิน 54.3% [1]

แล้ว 'ความเหลื่อมล้ำ' ก็ 'ลดลง' 5% ตามภาพ 
 
 
ที่มาภาพ http://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI?end=2012&locations=NO&start=2004
(เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2560)
 
* กร๊าฟนี้เรียกว่า Gini Index / Coefficient ซึ่งในเว็บ data.worldbank ไม่ได้อธิบายว่ากร๊าฟคืออะไร แต่ในวิกิพีเดียได้ระบุตัวอย่างไว้คือ กรณีที่อ้างถึงบ่อยๆว่า 1% ของประชากรทั้งหมดในโลกถือครองความมั่งคั่ง 50% ของทั้งโลก กร๊าฟจะอยู่ที่ 49% เป็นอย่างน้อย [2]
 
แล้ว 'กำลังการซื้อภายในประเทศต่อคน' (GDP per Capita PPP) กล่าวคือ นำรายได้เฉลี่ยต่อคน[เฉยๆ] (GDP per Capita *ไม่มี PPP) มาพิจารณาร่วมกับค่าครองชีพ(เฉลี่ย)ภายในประเทศ จากปี 2005-2006 'พุ่งขึ้น' ประมาณ 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ [3]
 
ที่มาภาพ [3]
 
นอกจากปี 2017 นอร์เวย์ถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกแล้ว จากข้อมูล ณ เม.ย. 2017 เมื่อนำรายได้ของกลุ่มคนรวยที่สุด 10% มาเทียบกับรายได้ของกลุ่มยากจนที่สุด 40% การเทียบแบบนี้เรียกว่า The Palma Ratio ซึ่งถูกอ้างอิงใน UN Human Development Index หรือคะแนนการพัฒนามนุษย์ของ UN พบว่า นอร์เวย์เหลื่อมล้ำ 'น้อยสุด' อันดับ 2 ของโลก (1.ยูเครน 3.สโลวีเนีย) [4]
 
 
 
[1] https://www.regjeringen.no/en/dokumenter/report-no.-11-to-the-storting-2010-2011/id637012/
[2] https://en.m.wikipedia.org/wiki/Gini_coefficient#Example:_two_levels_of_income
[3] http://mecometer.com/whats/norway/gdp-per-capita-ppp/
[4] https://www.theguardian.com/inequality/datablog/2017/apr/26/inequality-index-where-are-the-worlds-most-unequal-countries

บล็อกของ ฐานันดร ชมภูศรี

ฐานันดร ชมภูศรี
“โง่ จน เจ็บ” จะจริงหรือไม่นั้น มีการศึกษาที่ชี้ว่า ‘ความยากจนสูบพลังงานออกจากสมองอย่างมาก’ จากงานวิจัยปี 2013 ของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและม.พรินซ์ตันในสหรัฐฯ, ม.บริติชโคลัมเบียในแคนาดา, และม.วอร์วิคในอังกฤษ พบว่าความกังวลจากปัญหาทางการเงินของคนยากจนส่งผลให้ IQ ลดลงเฉลี่ย 13 หน่วย (เช่น
ฐานันดร ชมภูศรี
มีงานศึกษาของสหรัฐอเมริกา จาก 50 มลรัฐ + วอชิงตันดี.ซี.
ฐานันดร ชมภูศรี
ปี 2006 'ราชอาณาจักรนอร์เวย์' ได้ทำการ 'ปฏิรูปภาษี' โดยการเก็บภาษีจากกำไรของบริษัทสูงสุดไม่เกิน 28% เท่าเดิม เหมือนก่อนปฏิรูป แต่ที่เพิ่มเติมคือ ภาษีที่เก็บจากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ นั่นคืออัตราภาษีสูงสุด 'หลัง' ปฏิรูปที่ 'เจ้าของบริษัท' ต้องจ่ายคือไม่เกิน 48.16% จาก 'รายได้ของบริษัท' ไม่เก