Skip to main content
ที่มาภาพ: The New York Times


จากรายงานการศึกษาเรื่อง ‘เศรษฐกิจแพลตฟอร์มและผลกระทบต่อแรงงานภาคบริการในประเทศไทย’ โดยสถาบันเศรษฐกิจและแรงงานที่เป็นธรรม (JELI) และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) พบว่า อูเบอร์ (Uber) ช่วยให้คนที่มีรายได้ไม่แน่นอน สร้างรายได้ที่สม่ำเสมอยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในการทำงานให้กับผู้ที่แต่เดิมต้องดูแลเด็ก ผู้สูงวัย และผู้พิการ แต่แม้ว่าจะมีความยืดหยุ่นสูงในเรื่องเวลาทำงาน แต่รายได้ไม่มีความแน่นอน สุขภาวะในการทำงานต่ำ ความมั่นคงในอาชีพต่ำ โอกาสในการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นมีน้อยเมื่อเทียบกับการจ้างงานแบบปกติ เมื่อแรงงานสะสมความชำนาญและความเชี่ยวชาญจากการทำงานไปสักระยะเวลาหนึ่ง ย่อมมีโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้ตนเองมากขึ้นแม้จะใช้เวลาทำงานเท่าเดิม

ทั้งนี้ยังพบว่าข้อถกเถียงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ครอบคลุมหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการกำกับดูแลบริการขนส่งในเมือง ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ สิทธิแรงงาน รวมทั้งข้อกฎหมายเรื่องสถานะนายจ้าง/ลูกจ้าง สุขภาวะในการทำงาน

ในสหรัฐอเมริกา ความขัดแย้งเรื่องสิทธิแรงงานระหว่างคนขับอูเบอร์และบริษัทอูเบอร์ นำไปสู่การฟ้องร้องในศาล จนถึงปี 2016 บริษัทอูเบอร์ถูกฟ้องร้องมากกว่า 70 คดี ในระบบศาลรัฐบาลกลาง (Federal Court) ไม่นับรวมคดีในระดับรัฐ (State Court) และคดีความส่วนมากเป็นกรณีการตีความเรื่องความสัมพันธ์ของการจ้างงานและสถานะนายจ้าง/ลูกจ้าง ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การตีความว่าผู้ขับอูเบอร์ถือเป็นลูกจ้างของอูเบอร์หรือไม่ หากใช่ จะมีผลผูกพันให้บริษัทต้องปฏิบัติต่อคนขับอย่างลูกจ้าง และคนขับอูเบอร์มีสิทธิในสวัสดิการและสวัสดิภาพตามที่กฎหมายคุ้มครอง แต่หากมีการตีความว่าผู้ขับถือเป็นผู้รับเหมาอิสระ (independent contractor) บริษัทอูเบอร์ย่อมปราศจากความรับผิดตามกฎหมายในเรื่องกฎหมายแรงงานและสิทธิแรงงานของคนขับรถ อย่างไรก็ตามได้ข้อสรุปว่า กรณีของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถสร้างกรอบที่คลอบคลุมทุกรัฐเพื่อหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป (น. 30)
 

ตัวอย่างข้อขัดแย้งทางกฎหมายในสหรัฐฯและยุโรป

ต.ค. 2016 ประเทศอังกฤษ London Employment Tribunal ชี้ขาดให้คนขับอูเบอร์เป็นพนักงานของอูเบอร์ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมาย เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ เงินบำนาญ และเงินชดเชยวันหยุดประจำปี ต่อมาในเดือน พ.ย. 2017 ในชั้นอุทธรณ์ Tribunal ยังคงยืนยันให้คนขับอูเบอร์มีสถานะเป็นพนักงานของบริษัท
 
พ.ค. 2017 European Court of Justice วินิจฉัยให้อูเบอร์เป็นบริษัทผู้ดำเนินการด้านการขนส่ง จำเป็นต้องทำตามกฎระเบียบเกี่ยวกับการขออนุญาต
- กรณีของอูเบอร์ในสเปน ก็รอการตัดสินจากศาลการค้าเช่นกัน (รออัพเดท)
- ในสหรัฐฯ คณะกรรมการ Federal Trade Commission สั่งปรับอูเบอร์ในเรื่องการโฆษณาเกินจริงเรื่องรายได้ของผู้ขับ และจูงใจให้มีการเช่ารถผ่านระบบ “ต้นทุนต่ำ” ที่กลับไม่ได้มีต้นทุนต่ำตามที่ประกาศไว้
 
อย่างไรก็ดี Matthew Taylor ผู้ได้รับมอบหมายจากนายกฯอังกฤษให้ทำรายงานเสนอนโยบายเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม เน้นว่าแรงงานแพลตฟอร์มมีสิทธิแรงงานต่าง ๆ อยู่แล้ว ปัญหาจึงอยู่ที่ในการถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน มักจะเริ่มต้นจากสมมุติฐานว่าแรงงานเหล่านี้ไม่มีสิทธิใด ๆ เลย แต่ในสหรัฐฯ คนขับรถอูเบอร์มีสถานะผู้ประกอบการอิสระ (contractor)
 
ก.ค. 2017 ศาลรัฐบาลกลางของรัฐนอร์ธแคโรไลนา (North Carolina) สหรัฐอเมริกา ได้ตัดสินเบื้องต้นยอมรับการฟ้องร้องคดีในนามของกลุ่มคนขับรถโดยผ่านตัวแทน (class action lawsuit) กับบริษัทอูเบอร์ ซึ่งมีผลให้คนขับรถอูเบอร์ทั่วประเทศสามารถร่วมสนับสนุนการดำเนินคดีกับอูเบอร์เพื่อคัดค้านการกำหนดสถานะดังกล่าว ภายใต้กฎหมายมาตรฐานแรงงานที่เป็นธรรม Fair Labor Standards Act อีกทั้งยังมีการรวมตัวของคนขับรถอูเบอร์ในเมืองนิวยอร์คผ่านตัวแทนของพันธมิตรแรงงานคนขับแท็กซี่แห่งนิวยอร์ค (New York Taxi Workers Alliance) เพื่อเรียกร้องให้อูเบอร์จ่ายค่าแรงขั้นต่ำ สวัสดิการและค่าชดเชยย้อนหลังให้กับคนขับรถของอูเบอร์ ทั้งนี้ มีกรณีของการฟ้องร้องจากคนขับรถอูเบอร์ที่ยังค้างอยู่ในศาลทั่วสหรัฐ อย่างน้อย 8 กรณีใน 7 รัฐ ไม่นับรวม 4 กรณีที่ฟ้องไม่รับ เป็นการฟ้องร้องคดีในนามของกลุ่ม แต่โอนไปเป็นการไกล่เกลี่ยระหว่างคนขับอูเบอร์เป็นรายบุคคลกับบริษัท (น. 19 – 21)  
 

อูเบอร์ควบคุมและกำหนดรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างแพลตฟอร์มอูเบอร์กับคนขับอูเบอร์เองทั้งหมด

ผู้ขับและผู้ใช้บริการ ไม่มีส่วนร่วมในการควบคุม algorithm ผู้ขับอูเบอร์จานวนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเริ่มสมัครเข้าเป็นผู้ขับใหม่ ๆ จะมีโอกาสในการได้รับการเรียกผู้โดยสารสูง มีความเป็นไปได้ว่าแพลตฟอร์มได้สร้างแรงจูงใจให้ผู้ขับรายใหม่โดยการมอบโอกาสในการรับบริการมากกว่าผู้ขับรายเก่าแอพพลิเคชั่นกำหนดค่าตอบแทนแบบแรงจูงใจ (Incentive) ค่อนข้างสูง เพื่อจูงใจให้คนออกมาขับในห้วงเวลาที่มีความต้องการใช้บริการสูง ในบางพื้นที่ที่มีความต้องการใช้บริการสูง แพลตฟอร์มจะกำหนดพื้นที่บริเวณนั้นให้มีตัวคูณค่าโดยสารที่มากขึ้นกว่าปกติ โดยจะปรากฏให้เห็นในแพลตฟอร์มฝั่งคนขับเท่านั้น เพื่อจูงใจให้ให้คนขับไปรอรับผู้ต้องการใช้บริการในบริเวณนั้น ในส่วนของผู้ต้องการใช้บริการอูเบอร์จะไม่ทราบเลยว่าพื้นที่ที่ตนเองต้องการเรียกใช้บริการเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้บริการอูเบอร์สูงกว่าปกติ และจะต้องเสียค่าโดยสารมากกว่าปกติ นอกจากผู้โดยสารที่เดินทางเป็นประจำในเส้นทางนั้น ๆจึงจะสังเกตได้ว่าค่าโดยสารแพงมากขึ้นกว่าปกติ (Price Surge)
 
เพื่อเป็นการป้องกันการปฏิเสธผู้โดยสาร เมื่อมีผู้เรียกใช้บริการ แพลตฟอร์มในฝั่งของคนขับจะขึ้นพิกัดของผู้เรียกเพื่อให้ไปรับผู้โดยสาร โดยที่ผู้ขับจะไม่ทราบว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ใดจนกว่าจะรับผู้โดยสารขึ้นรถแล้ว และจะไม่ทราบว่าค่าโดยสารที่จะได้รับจะมีมูลค่าเป็นเท่าใด โดยจะทราบค่าโดยสารที่จะได้รับก็ต่อเมื่อส่งผู้โดยสารถึงที่หมายแล้ว
 
บ่อยครั้งที่ผู้โดยสารต้องการเดินทางไปในพื้นที่ที่ห่างไกล ซึ่งผู้ขับไม่ประสงค์จะขับไปส่ง เช่น นักท่องเที่ยวเรียกใช้บริการจากเชียงใหม่ไปเชียงราย หรือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อมารับผู้โดยสารแล้วผู้ขับจึงทราบจุดหมาย และหากปฏิเสธก็มีโอกาสเกิดข้อขัดแย้งโต้เถียงกับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้แพลตฟอร์มก็มีระบบเรทติ้งคะแนน ซึ่งเป็นการให้คุณให้โทษแก่ผู้ขับและมีผลต่อการคำนวนค่าตอบแทนแบบจูงใจและการเรียกใช้บริการครั้งต่อ ๆ ไป ผู้ขับรายหนึ่งให้ข้อมูลแก่ผู้วิจัยว่า เคยทดลองด้วยการอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับผู้ขับอีกรายที่มีคะแนนไม่เท่ากัน เมื่อมีผู้ต้องการใช้บริการเรียกใช้บริการ ระบบจะเรียกผู้ขับที่มีคะแนนสูงกว่าก่อน และแพลตฟอร์มอาจจะยกเลิกสถานะผู้ขับหากคะแนนที่ได้รับต่ำกว่ามาตรฐาน
 
แอพพลิเคชั่นอูเบอร์ในส่วนของคนขับมีการรับการเรียกรถในขณะที่กาลังเดินทางเพื่อส่งผู้โดยสารอื่นแม้การเดินทางยังไม่สิ้นสุด คือยังไม่ทันที่ผู้ขับจะส่งผู้โดยสารถึงที่หมาย ในกรณีที่ไม่มีผู้ขับรายอื่นอยู่ในบริเวณที่มีผู้ต้องการใช้บริการ แต่มีผู้ขับที่กำลังอยู่ระหว่างส่งผู้โดยสารรายอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยผู้ขับสามารถเลือกที่จะรับหรือไม่รับผู้โดยสารรายใหม่ได้แม้จะยังอยู่ในระหว่างส่งผู้โดยสารอีกราย ในวันที่มีความต้องการใช้บริการสูงจะมีการแจ้งเตือนการเรียกซ้อนเข้ามาตลอด และแม้จะเลือกได้ที่จะไม่รับ
 
ทั้งนี้ยังพบความไม่แน่นอนและไม่ทราบวิธีการทำงานของอัลกอริทึ่มอย่างแท้จริง ส่งผลให้ผู้ขับกลัวที่จะเสียโอกาส และต้องกดรับผู้โดยสารทุกครั้งทำให้ต้องขับรถหลายชั่วโมงติดต่อกันโดยไม่ได้พักรับประทานอาหาร หรือต้องเตรียมอาหารไว้สำหรับเผื่อไว้รับประทานบนรถขณะทำงาน
 

เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวถูกทำให้พร่าเลือน

ผู้วิจัยเคยพบกับผู้ขับอูเบอร์รายหนึ่งซึ่งเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว นำบุตรสาวอายุ 4 ขวบติดรถมาด้วย เนื่องจากวันนั้นไม่มีผู้ดูแล ไม่ได้ไปโรงเรียนอนุบาลเพราะป่วย และคุณครูขอให้หยุดเรียนเนื่องจากกังวลว่าเพื่อน ๆในชั้นเรียนจะไม่สบายไปด้วย เนื่องจากวันนั้นเป็นวันสุดท้ายของการคำนวนค่าตอบแทนแบบจูงใจ ผู้ขับรายนั้นจึงต้องนาลูกเดินทางไปด้วย เพราะหากทำจำนวนรอบไม่ถึงเป้าที่จะได้รับค่าตอบแทนแบบจูงใจความพยายามตลอดสัปดาห์จะเป็นเรื่องสูญเปล่า โดยผู้ขับรายนั้นได้ร้องขอผู้วิจัยไม่ให้รายงานเรื่องนี้ให้อูเบอร์ทราบ เนื่องจากอูเบอร์ไม่อนุญาตให้มีบุคคลอื่นนอกจากผู้ขับเดินทางไปด้วย
 

กลยุทธ์การตลาดและการสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ประกอบการ และเสรีภาพในการทำงาน

อูเบอร์หลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีความหมายในลักษณะไม่เท่าเทียมกันกับคนขับ โดยอูเบอร์เลือกใช้คำว่า“พาร์ทเนอร์” ซึ่งมีความหมายถึงการเป็นหุ้นส่วนในทางธุรกิจ โดยปกติแล้วความเป็นหุ้นส่วนในทางธุรกิจไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การมีส่วนแบ่งในรายได้ แต่หมายถึงความสามารถที่จะกำหนดนโยบายและทิศทางของธุรกิจ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่าง ๆ ซึ่งในความเป็นจริงอูเบอร์ไม่เคยเปิดโอกาสให้คนขับอูเบอร์ หรือในภาษาของอูเบอร์คือ “พาร์ทเนอร์” มีส่วนร่วมเลยแม้แต่น้อย
 
อูเบอร์สร้างแรงจูงใจให้ผู้ขับบอกต่อและชักชวนคนรู้จักให้สมัครเข้ามาขับอูเบอร์โดยการเสนอผลตอบแทนให้ 2,500 บาท หากเพื่อนสมัครเป็นผู้ขับอูเบอร์และวิ่งรับผู้โดยสารครบ 25 เที่ยว การเสนอผลตอบแทนลักษณะนี้ทำให้ผู้ขับชักชวนเพื่อนให้สมัครเข้าเป็นผู้ขับจำนวนมาก จำนวนผู้ขับที่มากขึ้นเรื่อย ๆนี้ ส่งผลให้ผู้ขับแต่ละรายได้รับผู้โดยสาร โดยเฉลี่ยต่อวันน้อยลง เพราะต้องแข่งขันกันเอง ขณะที่ผู้ขับมองว่าอูเบอร์ได้ส่วนแบ่งคงที่เท่าเดิม แต่ลดความเสี่ยงกรณีผู้ขับมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการลง และทำให้อูเบอร์ไม่จำเป็นต้องเสนอค่าตอบแทนชนิดจูงใจมาก เพราะมีผู้ขับในจำนวนที่มากพอ ทำให้ค่าตอบแทนที่ผู้ขับได้รับมีความไม่แน่นอน
 
โดยการเชิญชวนให้คนเข้ามาร่วมเป็นผู้ขับผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของอูเบอร์(www.uber.com/th) และช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ค (www.facebook.com/uberthai) อูเบอร์ก็เลือกใช้ถ้อยคำที่มีความหมายเชิงบวก เช่น “เป็นเจ้านายตัวเอง” “Uber ให้อิสระคุณในการเลือกขับได้เต็มที่” หรือ “แอพพลิเคชั่น Uber Driver ออกแบบมาเพื่อคุณ”
 

การผลักภาระและความเสี่ยงให้ผู้ขับและผู้ใช้บริการ

ตามมุมมองของเจ้าหน้าที่รัฐในไทย ผู้ขับอูเบอร์ทำผิดกฎหมายหลายมาตรา ทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์ และพ.ร.บ. ขนส่งทางบก โดยที่กฎหมายไม่สามารถเอาผิดบริษัทฯเจ้าของแอพพลิเคชั่นได้ แม้อูเบอร์จะมีการชดเชยค่าปรับที่ผู้ขับอูเบอร์ต้องเสีย แต่ประวัติการทำผิดจะติดตัวผู้ขับไปตลอด ต้องถูกเรียกเข้ารับการอบรม และมีโอกาสที่จะถูกพักใบอนุญาตขับขี่หากถูกจับในความผิดเดียวกันซ้ำหลายครั้ง ความเสี่ยงต่อการถูกจับกุมจึงตกอยู่กับผู้ขับอูเบอร์แต่ฝ่ายเดียว
 
นอกจากนั้นแอพพลิเคชั่นยังมีปัญหา โดยเฉพาะแผนที่ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และบางครั้งนำไปสู่การถกเถียงกับผู้โดยสาร หรือบางครั้งผู้ใช้บริการรอไม่ไหวจึงต้องยกเลิก หรือผู้โดยสารไม่พอใจที่ใช้เวลานานเกินไปจึงให้คะแนนต่ำซึ่งมีผลต่อการได้รับค่าตอบแทนแบบจูงใจ และมีโอกาสที่จะได้ผู้โดยสารน้อยลง
 
การติดต่อสื่อสารระหว่างคนขับอูเบอร์และผู้เรียกใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ทำได้สองลักษณะคือโดยการแชทและการโทร สาหรับการแชทสามารถทาผ่านแอพพลิเคชั่นได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่การพิมพ์ข้อความแชทผ่านแอพพลิเคชั่นขณะขับรถมีความอันตราย และด้วยภาวะที่ต้องเร่งรีบเพื่อไปรับผู้เรียกใช้บริการ จึงไม่อาจจะหยุดรถเพื่อทำการแชท วิธีการติดต่อที่ใช้ส่วนมากคือการโทรศัพท์ ซึ่งเป็นภาระของผู้ขับและผู้เรียกใช้บริการ ในหลายกรณีที่ผู้เรียกใช้บริการเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ การโทรศัพท์ติดต่อกันมีต้นทุนสูงเนื่องจากเป็นการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ผู้ขับอูเบอร์รายหนึ่งเล่าประสบการณ์ที่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ติดต่อกับผู้ใช้บริการและต้องเสียค่าโทรศัพท์มากกว่าค่าโดยสารที่ได้รับ ค่าใช้จ่ายในการติดต่อกันระหว่างผู้ขับอูเบอร์และผู้ใช้บริการเป็นภาระที่บริษัทฯผู้เป็นเจ้าของแอพผลักให้เป็นภาระของผู้ขับและผู้ใช้ อูเบอร์หักส่วนแบ่งรายได้ 25% จากค่าโดยสาร โดยที่การกำหนดค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้นเป็นสิทธิ์ของอูเบอร์แต่ฝ่ายเดียว ขณะที่ต้นทุนต่าง ๆ เป็นภาระของผู้ขับ ทั้งค่าน้ามันเชื้อเพลิง ค่าสึกหรอ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ อาทิ น้ามันเครื่อง ที่สำคัญคือ การประกันอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการถกเถียง เนื่องจากผู้ขับอูเบอร์นั้นตามกฎหมาย ถือเป็นการใช้รถผิดประเภท เอารถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการสาธารณะ ซึ่งผิดประเภทจากที่ได้จดทะเบียนเอาไว้ ทำให้บริษัทประกันภัยปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากตรวจสอบได้ว่าเป็นการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้เพื่อรับจ้างขนส่ง ภาระและความเสี่ยงจึงตกเป็นของผู้ขับและผู้ใช้บริการ (น. 44 – 50)
 
 

อ่านเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยทางถนนได้ที่ LIMIT 4 LIFE

 

บล็อกของ ฐานันดร ชมภูศรี

ฐานันดร ชมภูศรี
“โง่ จน เจ็บ” จะจริงหรือไม่นั้น มีการศึกษาที่ชี้ว่า ‘ความยากจนสูบพลังงานออกจากสมองอย่างมาก’ จากงานวิจัยปี 2013 ของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและม.พรินซ์ตันในสหรัฐฯ, ม.บริติชโคลัมเบียในแคนาดา, และม.วอร์วิคในอังกฤษ พบว่าความกังวลจากปัญหาทางการเงินของคนยากจนส่งผลให้ IQ ลดลงเฉลี่ย 13 หน่วย (เช่น
ฐานันดร ชมภูศรี
มีงานศึกษาของสหรัฐอเมริกา จาก 50 มลรัฐ + วอชิงตันดี.ซี.
ฐานันดร ชมภูศรี
ปี 2006 'ราชอาณาจักรนอร์เวย์' ได้ทำการ 'ปฏิรูปภาษี' โดยการเก็บภาษีจากกำไรของบริษัทสูงสุดไม่เกิน 28% เท่าเดิม เหมือนก่อนปฏิรูป แต่ที่เพิ่มเติมคือ ภาษีที่เก็บจากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ นั่นคืออัตราภาษีสูงสุด 'หลัง' ปฏิรูปที่ 'เจ้าของบริษัท' ต้องจ่ายคือไม่เกิน 48.16% จาก 'รายได้ของบริษัท' ไม่เก