Skip to main content
 
 
โครงการเส้นทางมอเตอร์เวย์ที่กรุงมอสโคว์เชื่อมต่อกับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย เป็นโครงการของรัฐที่ร่วมทุนกับเอกชน (PPP) โดยส่วนแรกของโครงการนี้ครอบคลุมการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ระยะทาง 43 กิโลเมตร เส้นทางที่มีการเสนอเริ่มต้นที่ถนนวงแหวน MKAD ที่มอสโคว์ ถึงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
 
การก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายนี้เคยมีแผนว่าจะตัดผ่านพื้นที่ป่า Khimki ซึ่งเป็นป่าที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงมอสโคว์ ป่า Khimki ขณะนั้นเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่เป็นป่าสงวน ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาพรรณ ป่ายังมีความสำคัญอย่างมากต่อคนในท้องถิ่นเพราะอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีผู้คนดำรงชีวิตอยู่อย่างหนาแน่น คนท้องถิ่นได้มารวมตัวกันเพื่อคัดค้านการสร้างเส้นทางมอเตอร์เวย์ที่ถูกวางแผนไว้ โดยเรียกกันว่า "ขบวนการปกป้องป่า Khimki" หรือ "Movement to Defend Khimki Forest"
 
การไม่คำนึงถึงข้อคัดค้านและความกังวลใจต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้น โครงการยังคงถูกผลักดันให้รุดหน้าไป อย่างไรก็ตาม การผลักดันมากขึ้น ยิ่งเกิดการคัดค้านมากขึ้น
 

ลำดับเวลา

2004 – ประกาศโครงการสร้างมอเตอร์เวย์มอสโคว์-เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
 
2005 – ผ่านร่างโครงการส่วนทีจะตัดผ่านป่า Khimki ซึ่งเป็นเส้นทางที่ถูกเลือกผ่านการประชุมแบบปิดเป็นการลับ ต่อมากลุ่มผู้คัดค้านได้พบการเปิดรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะสำหรับโครงการสร้างถนนเส้นอื่นที่ดูน่าสงสัย (Dummy Public Hearings) ผู้คนได้อ่านรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการรับฟังความคิดเห็นนั้น ซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่ได้ตรวจสอบมันมาก่อน
 
2006 – พื้นที่ทั้งหมดของป่า Khimki ที่เดิมทีเป็นป่าสงวน ได้ถูกจัดวางให้เป็นพื้นที่สำหรับมอเตอร์เวย์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและโครงการก่อสร้างเพื่อเศรษฐกิจ
 
2007 – มีการสำรวจพื้นที่ป่าดังกล่าว นับเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านตระหนักถึงโครงการที่จะเกิดขึ้น แล้วการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องป่า Khimki ก็ได้เริ่มขึ้นโดยชาวบ้าน ทั้งนี้มีกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วว่าห้ามทำการก่อสร้างใด ๆ ดังนั้นการดำเนินงานในพื้นที่ดังกล่าวย่อมผิดกฎหมายแน่นอน
 
2008 -- การชุมนุมสาธารณะครั้งแรกและการแสดงออกอื่น ๆ จากความไม่พอใจของประชาชนได้เกิดขึ้น ซึ่งปรากฏความพยายามที่จะฆาตกรรม Mikhail Beketov นักข่าวท้องถิ่นผู้เขียนถึงปัญหานี้ไว้จำนวนมาก การดำเนินงานเบื้องต้นของโครงการยังคงดำเนินต่อไปแม้จะผิดกฎหมายก็ตาม
 
2009 – การเปิดรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะครั้งใหม่ ยังคงแสดงให้เห็นถึงเสียงคัดค้านอย่างเข้มข้นต่อโครงการ แต่เสียงเหล่านั้นยังคงถูกละเลย
 
ต่อมาวลาดิเมียร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีรัสเซียในขณะนั้นได้สั่งการให้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายของป่า Khimki เพื่อให้สามารถสร้างมอเตอร์เวย์ได้ เมื่อร่างกฎหมายนี้ผ่านออกมา มันได้ปลดล็อคข้อจำกัดให้สามารถก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งเคยถูกสงวนไว้
 
ด้วยระบอบการปกครองของรัสเซีย แลดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้อาจไม่มีทางเลือกแล้วสำหรับการคัดค้าน แต่ในความเป็นจริงก็ยังไม่ได้หมดหนทางเสียทีเดียว เนื่องจากนี่เป็นโครงการของรัฐที่ร่วมทุนกับเอกชน นักเคลื่อนไหวได้เริ่มปรึกษาปัญหากับตัวแทนของธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาแห่งยุโรป (European Bank for Reconstruction and Development - EBRD) และธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป (European Investment Bank - EBI) ธนาคารทั้งสองจึงได้ประเมินโครงการนี้ และไม่เข้าร่วมในการปล่อยเงินกู้สำหรับการระดมทุนของโครงการในเดือนเมษายน 2010 โดย EBRD ยืนยันว่าเป็นไปได้สูงที่จะไม่เข้าร่วมระดมทุนในเวลานั้น ขณะที่ EBI ระบุว่าขั้นตอนการประเมินโครงการถูกระงับ
 
อ้างอิง

อ่านเรื่องราวการสร้างมอเตอร์เวย์ กับประเด็นสิทธิชุมชน-ธรรมชาติ ได้ที่ ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) - มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช
 
 

อ่านเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยทางถนนได้ที่ LIMIT 4 LIFE

 

บล็อกของ ฐานันดร ชมภูศรี

ฐานันดร ชมภูศรี
“โง่ จน เจ็บ” จะจริงหรือไม่นั้น มีการศึกษาที่ชี้ว่า ‘ความยากจนสูบพลังงานออกจากสมองอย่างมาก’ จากงานวิจัยปี 2013 ของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและม.พรินซ์ตันในสหรัฐฯ, ม.บริติชโคลัมเบียในแคนาดา, และม.วอร์วิคในอังกฤษ พบว่าความกังวลจากปัญหาทางการเงินของคนยากจนส่งผลให้ IQ ลดลงเฉลี่ย 13 หน่วย (เช่น
ฐานันดร ชมภูศรี
มีงานศึกษาของสหรัฐอเมริกา จาก 50 มลรัฐ + วอชิงตันดี.ซี.
ฐานันดร ชมภูศรี
ปี 2006 'ราชอาณาจักรนอร์เวย์' ได้ทำการ 'ปฏิรูปภาษี' โดยการเก็บภาษีจากกำไรของบริษัทสูงสุดไม่เกิน 28% เท่าเดิม เหมือนก่อนปฏิรูป แต่ที่เพิ่มเติมคือ ภาษีที่เก็บจากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ นั่นคืออัตราภาษีสูงสุด 'หลัง' ปฏิรูปที่ 'เจ้าของบริษัท' ต้องจ่ายคือไม่เกิน 48.16% จาก 'รายได้ของบริษัท' ไม่เก