Skip to main content

มีงานศึกษาของสหรัฐอเมริกา จาก 50 มลรัฐ + วอชิงตันดี.ซี. เมื่อย้อนกลับไปในปี 2010 มลรัฐที่เลือก มิตต์ รอมนีย์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2008 แล้วปราชัยให้กับบารัค โอบามา จากเดโมแครต ซึ่งกลุ่มมลรัฐที่ มิตต์ รอมนีย์ ชนะ กินสัดส่วนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ 

 

โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็น 'ชนบท' มากกว่ากลุ่มมลรัฐที่เลือกเดโมแครตซึ่งพื้นที่เป็น 'เมือง' มากกว่า และตายทางถนนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

 

โดยมีกรุงวอชิงตันดี.ซี. ที่อัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 1 แสนคน ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นเมืองเดียวที่พื้นที่ทั้งหมดเป็น 'เมือง' (จากการเปรียบเทียบทั้งหมด 50 มลรัฐ + วอชิงตันดี.ซี.) โดย William Lucy ศาสตราจารย์ด้านผังเมืองและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียชี้ว่า ผู้คนมักจะขับขี่เร็วกว่าบนถนนชานเมือง ไม่เหมือนในตัวเมืองซึ่งมีสัญญาณไฟหรือป้ายหยุดมากกว่า และยังมีขนส่งสาธารณะมากกว่า แถมยังเอื้อต่อการเดินเท้ามากกว่า 

 

โดยมี 5 มลรัฐที่เสียชีวิตทางถนนต่อประชากร 1 แสนคน น้อยที่สุด ได้แก่ วอชิงตันดี.ซี. แมสซาชูเซ็ตส์ นิวยอร์ก โรดไอแลนด์ นิวเจอร์ซีย์ เมื่อข้ามมาดูข้อมูลของปี 2015 ก็ยังคงเป็นกลุ่มมลรัฐเหล่านี้ที่ตายทางถนนน้อยที่สุด ส่วนมลรัฐที่ตายทางถนนต่อประชากร 1 แสนคน มากที่สุดปี 2010 มีความน่าสนใจคือ มีสามมลรัฐที่เกือบจะประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในปี 2015 ได้แก่ ไวโอมิง มิสซิสซิปปี มอนทานา 

 

[Streets Blog USA, Why Traffic Deaths Are More Common in Red States Than in Blue States (สีแดง=รีพับลิกัน, น้ำเงิน=เดโมแครต)], [Forbes, Crash Death Rate Highest In West & South, Lowest In Northeast, New Report Finds]

 

 

แล้วเมื่อเลือกเอาเฉพาะปี 2015 แล้วดูข้อมูลการเลือกตั้งสหรัฐฯปี 2016 ระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ปะทะ ฮิลลารี คลินตัน จากเดโมแครต พบว่า 14 มลรัฐแรกที่มีอัตราการตายบนท้องถนนต่อประชากร 1 แสนคน สูงที่สุด เลือกทรัมป์ ส่วน 12 มลรัฐที่ตายน้อยที่สุดเลือกฮิลลารี 

 

[Huffington Post, Revisiting A Red-Blue Divide: States With Worst Highway Death Rates Favored Trump — Why?]

 

 

ส่วนในไทย จากการสืบค้นไม่ปรากฏข้อมูลการจำแนกถนนในเมืองกับชนบทของทั้งปี (ยกเว้นช่วง 7 วันอันตราย) ซึ่ง ณ ปี 2018 ประชากร 50% ในไทยอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง โดยหากดูข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของกลุ่มประเทศความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นประเทศรายได้สูง.ที่ประชากรส่วนใหญ่ย้ายจากชนบทเข้าไปทำงานในเมือง กระนั้นก็พบว่า จาก 35 ประเทศที่มีข้อมูลจำแนกถนนในเมืองกับนอกเมือง (จากทั้งหมด 36 ประเทศ) มีถึง 28 ประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตที่ 'ถนนนอกเมือง' มากกว่าในเมือง 

 

[OECD, Road Safety Annual Report 2017 (ค้นคำว่า Road fatalities by road type)]

 

 

หากจะบอกว่าถนนในเมืองของไทยตายเยอะกว่านอกเมือง จากที่เมืองไทยตายทางถนนปีละไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นราย ก็คงเป็นประเด็นใหญ่ไม่แพ้มอ'ไซค์ชนคนบนทางเท้า

 

 

อ่านเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยทางถนนได้ที่ LIMIT 4 LIFE

บล็อกของ ฐานันดร ชมภูศรี

ฐานันดร ชมภูศรี
“โง่ จน เจ็บ” จะจริงหรือไม่นั้น มีการศึกษาที่ชี้ว่า ‘ความยากจนสูบพลังงานออกจากสมองอย่างมาก’ จากงานวิจัยปี 2013 ของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและม.พรินซ์ตันในสหรัฐฯ, ม.บริติชโคลัมเบียในแคนาดา, และม.วอร์วิคในอังกฤษ พบว่าความกังวลจากปัญหาทางการเงินของคนยากจนส่งผลให้ IQ ลดลงเฉลี่ย 13 หน่วย (เช่น
ฐานันดร ชมภูศรี
มีงานศึกษาของสหรัฐอเมริกา จาก 50 มลรัฐ + วอชิงตันดี.ซี.
ฐานันดร ชมภูศรี
ปี 2006 'ราชอาณาจักรนอร์เวย์' ได้ทำการ 'ปฏิรูปภาษี' โดยการเก็บภาษีจากกำไรของบริษัทสูงสุดไม่เกิน 28% เท่าเดิม เหมือนก่อนปฏิรูป แต่ที่เพิ่มเติมคือ ภาษีที่เก็บจากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ นั่นคืออัตราภาษีสูงสุด 'หลัง' ปฏิรูปที่ 'เจ้าของบริษัท' ต้องจ่ายคือไม่เกิน 48.16% จาก 'รายได้ของบริษัท' ไม่เก