Skip to main content



ผมรู้สึกตลกที่เดียวกับการที่ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย สายเหยี่ยว ได้กลายร่างเป็นทาร์ซานโหนตัวเลข 901 ออกมาสร้างกระแสสนับสนุนการรัฐประหาร  

มันตลกมากพอๆกับกระแสข่าวการยึดอำนาจทีมักถูกปล่อยออกมาสร้างความตระหนกในกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นระยะ 

เหตุที่ผมไม่ซีเรียสกับเรื่องพวกนี้เลยก็เพราะว่า เมื่อพิจารณาจากยุทธศาสตร์ทางการเมืองของ รบ.พรรคเพื่อไทย ที่ไม่ยอมแตะต้องงบประมาณและโครงสร้างอำนาจของกองทัพ  ประธานรัฐสภาใช้เท้าเขี่ยประเด็น แก้ รธน.50 และแก้ กม.อาญา ม.112 ที่ประชาชนนับหมื่นล่ารายชื่อกันมาทิ้งหน้าตาเฉย (อย่างเงียบๆผิดปกติ)

ขุนทหารคนไหนมันจะโง่ออกมาทำรัฐประหาร..!?!?

นอกจากการถอยอย่างนอบน้อมของรัฐบาลเด็กดี ที่น่าจะสร้างความอึดอัดใจให้กับพรรคฝ่ายค้านเนื่องจากไม่รู้ว่าจะตรวจสอบรัฐบาลด้วยประเด็นอะไรดีแล้ว นโยบายประชานิยมที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนชั้นกลางระดับล่างและคนยากคนจนก็เขยิบขยับตีกินมวลชนฐานเสียง ลดคุณค่าของพรรคประชาธิปัตย์ลงไปเรื่อยๆ

แน่นอนว่าถ้ามองในสายตาของนักประชาธิปไตยหรือในสายตาของเหยื่อจากเหตุการณ์การเมืองที่ผ่านมา มันคงเป็นความปวดร้าวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

แต่หากมองโดยภาพรวมของประเทศในสถานการณ์ความขัดแย้ง มันเป็นไม่กี่ทางเลือกที่ผู้บริหารประเทศจะสามารถหยิบมาใช้ได้

และการเลือกตั้งใหญ่สมัยหน้าจะกลายเป็นหลักไมล์ที่ชี้วัดถึงประสิทธิผลของแนวทางข้างต้น

โดยสรุปแล้ว ในช่วงนี้ฮาร์ดคอร์สายเหยี่ยวผู้นิยมเสพเลือดเนื้อเป็นภักษาหารของทั้งสองฝั่ง ถ้ายังไม่สามารถปรับตัวให้กลายเป็นพิราบหาจิกกินเมล็ดข้าวโพดข้าวฟ่างที่มีคนนำมาหว่านเลี้ยงแถวสนามหลวง ก็คงต้องสงบเสงี่ยมรอจังหวะเวลาไปก่อนนะครับ

ถ้าเคลื่อนไหวในช่วงนี้อาจทำได้แค่เป็นการสร้างความครื้นเครงให้กับประชาชนเท่านั้น :D
 

ที่มาภาพ:  วิวาทะ

หมายเหตุ:  บันทึกชิ้นนี้ต้องการทำความเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมการเมืองของกลุ่มการเมืองพรรคเพือไทยต่อการกำหนดบทบาททางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน

 

 


 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
เห็นมีเรื่อง พ่อ-ลูก ซึ้งบ้างไม่ซึ้งบ้าง ฮาบ้างไม่ฮาบ้าง คิดถึงคนที่ไม่มีพ่อ หรือคนที่พ่อไม่ค่อยมีดีอะไรให้อวดนัก แล้วเลยไพล่ไปนึกถึงพี่สุรพล จึงขออนุญาตรำลึกถึงความสัมพันธ์ของพ่อลูกคู่หนึ่งที่ผมสามารถทำได้เพียงเฝ้ามอง
gadfly
จากกรณีของ อ.สายพิณ จนถึงกรณีของ อ.ลลิตา รวมแล้วน่าจะประมาณกว่าสองทศวรรษ เวลาสองทศวรรษสำหรับบ้านเมืองอื่น ผมเชื่อว่าสถานการณ์ การรับรู้ ทัศนะคติ หรือโครงสร้างทางการเมือง-วัฒนธรรม ของพวกเขาน่าจะเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่สำหรับบ้านเมืองของเรา ผมเชื่อว่ารูปแบบความขัดแย้ง ปรากฎการณ์อาจเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยแก่นแท้แล้วยังคงเหมือนเดิม