Skip to main content

 

 

เห็นบนเฟซบุ๊กมีการพูดกันบ่อยๆว่า แกนนำ นปช.พาคนไปตาย พาคนไปติดคุก แกนนำไม่รับผิดชอบกับชีวิตของมวลชน ผมคิดว่ามันเป็นข้อกล่าวหาโจมตีผู้อื่นเพื่อเป็นการยกตนขึ้นสูง หรืออีกนัยหนึ่งคือมันเป็นข้อกล่าวหาทางศีลธรรม

จำได้ว่าจำลอง ศรีเมือง ก็โดน ชวน หลีกภัย จาก ปชป.เล่นเรื่องนี้เมือการเลือกตั้ง ปี 35 ปัจจุบันนี้ ใครที่โดนข้อหานี้บ้างก็คงไม่ต้องกล่าวถคึง และใครที่พูดเรื่องนี้มากๆก็คงไม่ต้องกล่าวถึง ไล่ดูเอาในเฟซบุ๊กก็คงเห็นอยู่เยอะเพราะมันถูกนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อ

คือถ้าใครที่คิดขึ้นมาเป็นแกนนำในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อสู้กับรัฐที่มีขีดความพร้อมในการใช้ความรุนแรงกับประชาชน ก็ขอให้เตรียมตัวรับข้อกล่าวหาซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นข้อสรุปนี้ไว้ได้เลย

อาจอ้างว่า"สิ่งที่เห็นเป็นอย่างนั้น" หากแต่ว่า "ข้อเท็จจริง"เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ไม่มีใครสามารถพิสูจน์

ไม่แน่ใจว่ามีมวลชนที่ลงไปเดินถนนตามหลังแกนนำคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ และมวลชนมีทัศนะหรือความรู้สึกอย่างไรต่อข้อกล่าวหาทางศีลธรรมที่มีค่อแกนนำของเขา ซึ่งแน่นอนว่ามันมีผลต่อกระบวนการเคลื่อนทั้งหมด มวลชนที่ถูกแกนนำพาไปตายอยู่เรื่อยๆนี่มันจะถูกลดค่าเป็นมวลชนแบบไหน??

เคยถามพวกเขาสักคำไหม??

ถ้ามวลชนไม่เห็นด้วยกับข้อกล่าวหาดังกล่าว มวลชนมีช่องทางในการอธิบายได้อย่างไร เสียงของเขาจะได้รับการรับฟังหรือไม่ เสียงสะท้อนของเขาจะถูกนักศีลธรรมทางการเมืองเก็บกลับไปคิด จะถูกนำไปพยายามทำความเข้าใจซุ่มเสียงที่ดูแปลกแปร่งดูไม่เป็นวิชาการหรือไม่

มวลชนจะได้ข้อหาตามมาหรือไม่ว่า มวลชนก้าวข้ามไม่พ้นนู่นนี่นั่น , มวลชนยังอยู่ใต้ร่มเงาระบอบอุปถัมภ์ของแกนนำและนักการเมือง ,มวลชนยังไม่ยอมเติบโตฯลฯ

เกือบสิบปีหลังรัฐประหาร 2549 พวกท่านมองมวลชนอย่างไร? มวลชนไม่ได้เรียนรู้อะไรนเส้นทางๆการเมืองที่ผ่านมาเลยใช่หรือไม่? 

ในทางกลับกันผมกลับคิดว่าเมื่อไหร่นักศีลธรรมเหล่านี้จะเติบโตเสียที เมื่อไหหร่ที่พวกเขาจะสามารถสร้างข้อเสนอทางการเมืองของตัวเองให้กับมวลชนและก้าวข้ามธรรมาสน์ลงมาสื่อสารกับมวลชนและนำมวลชนต่อสู้สักที

เดาว่าไม่มีน้ำยา !

แต่ถ้ามีน้ำยาพอ ก็ขอให้ทำใจไว้ล่วงหน้าเลยว่าให้เตรียมตัวรับทราบข้อกล่าวหา"แกนนำพาคนไปตาย"จากนักศีลธรรมทางการเมืองรุ่นต่อไปได้เลย

ให้กำลังใจ

 

 

ปรับแต่งเล็กน้อยจาก https://www.facebook.com/sarayut.tangprasert/posts/958600724184079?pnref=story

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
เห็นมีเรื่อง พ่อ-ลูก ซึ้งบ้างไม่ซึ้งบ้าง ฮาบ้างไม่ฮาบ้าง คิดถึงคนที่ไม่มีพ่อ หรือคนที่พ่อไม่ค่อยมีดีอะไรให้อวดนัก แล้วเลยไพล่ไปนึกถึงพี่สุรพล จึงขออนุญาตรำลึกถึงความสัมพันธ์ของพ่อลูกคู่หนึ่งที่ผมสามารถทำได้เพียงเฝ้ามอง
gadfly
จากกรณีของ อ.สายพิณ จนถึงกรณีของ อ.ลลิตา รวมแล้วน่าจะประมาณกว่าสองทศวรรษ เวลาสองทศวรรษสำหรับบ้านเมืองอื่น ผมเชื่อว่าสถานการณ์ การรับรู้ ทัศนะคติ หรือโครงสร้างทางการเมือง-วัฒนธรรม ของพวกเขาน่าจะเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่สำหรับบ้านเมืองของเรา ผมเชื่อว่ารูปแบบความขัดแย้ง ปรากฎการณ์อาจเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยแก่นแท้แล้วยังคงเหมือนเดิม