Skip to main content

กำลังสงสัยว่า คสช. จะยอมปล่อยให้มีการลงประชามติอยูหรือไม่

ถ้า 7 สิงหาคม โหวตโนชนะ ร่างรัฐธรรมนูญตกไป ก็จะส่งผลกระทบถึงความชอบธรรมของ คสช. และไล่เรื่อยไปจนถึงการรัฐประหาร พฤษภา 57 แน่ๆ ถึงจุดนั้น อำนาจที่เคยกระชับไว้มั่นมือก็คงจะหลุดหลวม จะกอดจะกุมก็ยากแล้ว

ถ้าฝ่ายโหวตรับร่างชนะ ถามต่อว่ารัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมในสายตาประชาชนมากแค่ไหน ก็ในเมื่อทุกเหตุผลและกระบวนการทำงานของทุกหน่วยงานราชการภายใต้การบงการของ คสช. ล้วนชี้นำไปในทางให้ลงประชามติรับร่างฯทั้งสิ้น

ชนะไม่ง่ายด้วย ก็ กรธ.ร่างออกมาขี้ริ้วเสียปานนั้น เหตุผลเดียวที่ผมจะโหวตรับก็คือการเหม็นเบื่อหน้าประยุทธ์และ คสช. มันก็คงจะมีอยู่เท่านั้น

ไม่เห็นว่าภาพพจน์ของ คสช.มันจะดีขึ้นตรงไหน ถึงจะชนะศึกก็จริงแต่ก็แพ้สงคราม

ที่สำคัญก็คือระหว่างกระบวนการทำประชามติ กระแสมวลชนที่ไม่พอใจการรัฐประหารมันก่อตัวขึ้นได้ง่ายๆ ความอัปลักษณ์ในร่าง รธน. ของ สมีโกล ฤชุพันธุ์ มันเป็นชนวนระเบิดดีๆนี่เองที่ทำให้ประชาชนได้ช่องในการแสดงความอึดอัดคับข้องใจออกมา

เมื่ออุณหภูมิการเมืองพุ่งทะลุจุดเดือด แน่ใจหรือว่า กำปั้นเหล็ก ท็อปบู๊ททมิฬ จะกดข่มแรงระเบิดด้วยความคุคั่งของมวลชนได้

ดูเหมือนว่าการตัดสินใจเสี่ยงที่จะยกเลิกการทำประชามติและเลือกที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งไปเลย จะเป็นทางออกที่อาจเสี่ยงจากความพินาจชิบหายของ คสช. ได้ดีที่สุด

อย่างน้อยก็ในช่วงเฉพาะหน้า

ซึ่งก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร เพราะทุกวันนี้แต่ละเรื่องที่ออกมาจาก คสช. ก็ดูเหมือนกับจะเป็นการคิดแบบวันต่อวัน ลูบหน้าปะจมูกไปเรื่อยๆอยู่แล้ว

ก็ประชาชนไม่ได้เลือกมา จะไปแคร์ทำไม

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
เห็นมีเรื่อง พ่อ-ลูก ซึ้งบ้างไม่ซึ้งบ้าง ฮาบ้างไม่ฮาบ้าง คิดถึงคนที่ไม่มีพ่อ หรือคนที่พ่อไม่ค่อยมีดีอะไรให้อวดนัก แล้วเลยไพล่ไปนึกถึงพี่สุรพล จึงขออนุญาตรำลึกถึงความสัมพันธ์ของพ่อลูกคู่หนึ่งที่ผมสามารถทำได้เพียงเฝ้ามอง
gadfly
จากกรณีของ อ.สายพิณ จนถึงกรณีของ อ.ลลิตา รวมแล้วน่าจะประมาณกว่าสองทศวรรษ เวลาสองทศวรรษสำหรับบ้านเมืองอื่น ผมเชื่อว่าสถานการณ์ การรับรู้ ทัศนะคติ หรือโครงสร้างทางการเมือง-วัฒนธรรม ของพวกเขาน่าจะเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่สำหรับบ้านเมืองของเรา ผมเชื่อว่ารูปแบบความขัดแย้ง ปรากฎการณ์อาจเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยแก่นแท้แล้วยังคงเหมือนเดิม