Skip to main content

เช้าวันสุดท้าย ในดาก้า อีกวันที่อากาศแจ่มใส

บนถนนสายหนึ่ง ใจกลางเมือง นักศึกษากลุ่มเล็กๆ จากมหาวิทยาลัยดาก้ากำลังทำงานของพวกเขา ชายหนุ่มหญิงสาวกลุ่มใหญ่กำลังมุงดูวงดนตรีพื้นบ้านริมถนนสายหลัก


วงดนตรีพื้นบ้านวงนี้ได้รับเชิญจากนักศึกษามหาวิทยาลัยดาก้ากลุ่มนี้ ผ่านความเชื่อตามแนวทางศาสนาฮินดูถึงการร้องเพลงอวยพรมวลหมู่เทพเจ้า บรรยายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารในชนบท โดยมีผลไม้หลากชนิดแจกจ่ายแก่ทุกๆ คนที่เข้าร่วมในคอนเสิร์ต

เครื่องดนตรีพื้นเมืองถูกจัดเรียงอย่างบรรจง ชายในชุดคลุมยาวกรอมเท้า บรรเลงเครื่องสายอย่างเคลิบเคลิ้ม
"เออ ชั้น เรียกชื่อมันไม่ถูก คล้ายพิณกับกลองบ้านเรานี่แหละ" เพื่อนผมเอ่ย

...


ระหว่างนั้น ชายไร้บ้าน ผมทรงเด้ดร็อก(เพราะไม่ได้สระ) ใบหน้ากร้านแดด ผิวคล้ำ ท่าทางขวางๆ เดินเข้ามาหน้าวงดนตรี เขาส่งสัญญาณให้จังหวะนักดนตรี เป็นบทเพลงที่พวกเขาคุ้นเคย


ทุกคนรู้ดีว่า ช่วงเวลาของความประทับใจกำลังจะมาถึง

ชายไร้บ้าน เปล่งเสียงท่วงทำนองสูงต่ำ

"ก่อนหน้านี้ ชั้นไม่คิดว่า การเล่นดนตรีครั้งนี้จะจัดให้ชายไร้บ้านคนนี้" มันคาดว่างานนี้ต้องล่มแน่ๆ เมื่อชายไร้บ้านลุกขึ้นสวมกางเกง ใช้เชือกฟางรัดเอวแทนเข็มขัดแล้วก้าวอาดๆ มาจับไมค์ร้องเพลง

...


เล่ากันว่า ชายไร้บ้านแกเคยเป็นนักร้องมาก่อน หลังจากไม่ประสบความสำเร็จแกเลยเพี้ยน ออกมาร่อนเร่ข้างถนนดีกว่า วันดีคืนดี แกจะมาร่วมร้องเพลง จนเป็นที่รู้จักของนักศึกษากลุ่มนี้


เหตุผลหนึ่ง คือ การเติมเต็มความฝันของชีวิตชายคนหนึ่ง

ระหว่างร้องมีหลายช่วงที่อารมณ์แกขึ้นๆ ลงๆ โดยเฉพาะช่วงที่ไมค์ไร้เสียงหรือช่วงที่เครื่องดนตรีสะดุด บางครั้งแกจะวิ่งพล่าน หยุดร้อง หัวเราะ คึกคักตามท่วงทำนองของบทเพลง หลายครั้งที่ชายไร้บ้านลึกซึ้งไปกับเสียงเพลงอย่างได้อารมณ์


"เขาชื่นชมความงดงามของเมืองในชนบท" เพื่อนชาวบังคลาเทศบอก

"เอ่อ ชั้นฟังไม่ออกหรอกแก" เพื่อนบอกผม


บางที ระหว่างความหมายกับความรู้สึก สิ่งใดถือว่ามีคุณค่ามากกว่ากัน

หลังจากร้องเพลงจบจะมีการแจกจ่ายผลไม้ให้แก่ผู้คนที่เข้าร่วม

เพื่อนผมมันลังเลที่จะกินผลไม้เข้าไป จากคำเตือนก่อนจะมาทำงาน ให้กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น

"ชั้นกลัวท้องเสีย แต่แกเชื่อไม๊ ตาลุงไร้บ้านเดินเข้ามาหาชั้น แกหยิบผลส้มไปจากมือแล้วหยิกกลีบหนึ่งยื่นมาที่ปากของชั้น"

"แล้วแกทำยังไง"

"ทำยังไง ชั้นก็กินหน่ะสิแล้วรู้อะไรไม๊ เพื่อนบังคลาเทศบอกว่าชั้นหน่ะโชคดี ถือว่า เป็นคนแรกที่ตาลุงเค้าหยิกส้มให้กิน"

"ก๊ากกกกกกกกกกกกกก"



ที่พักแรมติดดาว กลางสี่แยก กลางเมืองดาก้า

 


นักดนตรีพื้นเมือง เริ่มตั้งเสียงพิณของเขา




ชายไร้บ้านร่วมวงบรรเลงเพลงอย่างครึกครื้น

 


เครื่องดนตรีอีกชนิดที่ชายไร้บ้านใช้บรรเลง

 


ข้างหลังเป็นผืนธงบังคลาเทศ ประเทศบ้านเกิดของชายไร้บ้าน

 




ลีลานักดนตรีพื้นเมือง

 


จู่ๆ ชายไร้บ้านก็กระโดดกอดนักศึกษาคนหนึ่งอย่างลึกซึ้ง

 




วงดนตรีพื้นเมือง นักศึกษาและชายไร้บ้าน กับเสียงดนตรีที่ไร้ชนชั้น

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทิศทางการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สะเปะสะปะทำให้ชาวบ้านหลายคนทิ้งชีวิตเรือกสวนไร่นา หันมาเป็นผู้ประกอบการอย่างไร้ทิศทาง ไร้การจัดการ ไร้ความคิด ในสังคมมือใครยาวสาวได้สาวเอาที่ต้องการแต่ประโยชน์ส่วนตน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดยามบ่ายกระทบสายน้ำเป็นริ้วเต้นระริกรินไหลไปตามแก่งหินน้อยใหญ่ ทิวไม้สองฝั่งแน่นขนัดทอดกายยึดผืนดินไม่ให้น้ำกัดเซาะ ราวกับมืออันอบอุ่นของแม่ที่โอบอุ้มทารกแนบอก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย    
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนงานบนเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ริมฝั่งโขง กำลังทำงานของพวกเขา เรือขุดทรายตักทรายจากกลางลำน้ำ ชายชราหาปลาอยู่บนเรือท้องแบน ธุรกิจการค้าคึกคัก ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชียงคานเมืองริมฝั่งโขง ถูกพูดถึงมากมายในหมู่นักท่องเที่ยว นักเดินทางหลายคนหยุดเวลาเอาไว้ที่นั่นด้วยการนอนอ่านหนังสือเป็นอาทิตย์ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทุกเช้าๆ คุณแม่ชาวปกาเกอญอจะออกมาสะพายลูก ... ระหว่างเดินไปตามถนนกลางหมู่บ้าน ระหว่างอาบน้ำริมห้วยแม่แงะ ระหว่าง รอ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในลมหนาวมีใบหน้าใสซื่อ ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วอย่างยิ่ง ที่จะต้องถ่ายภาพใบหน้าคน ... ทุกปีที่ไปงานวันเด็กไร้สัญชาติ รอยยิ้มของคนหลังภูเขา อ่อนโยนแบบเด็กๆ ..
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ห้องทะเบียนราษฏรเคลื่อนที่ถูกจำลองขึ้นบนลานโล่งบริเวณบ้านผู้ใหญ่บ้าน ,คนไร้รัฐบ้านแม่แพะมารวมตัวกันเพื่อทำประชาคม ,ยกมือรับรองสถานะบุคคลเป็นพยานรู้เห็นว่าครอบครัวที่ได้รับการสำรวจทั้งหมดอยู่บนผืนดินแห่งนี้มานาน ก า เ ล
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดินแดนอันไกลโพ้นเหนือความคิดฝัน ,เทือกเขาและดวงตะวันนิ่งงัน ราวกับภาพวาด
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มุมหนึ่งของเชียงคาน จ.เลย ,หากใครเคยไปเชียงคานจะเห็นแม่น้ำโขงยาวสุดลูกหูลูกตา ก่อนจะลับหายเข้าไปยังฝั่งลาวตรงแก่งคุดคู้ ,ในภาพมองเห็นเรือดูดทรายเอกชน ,แนวโน้มการพัฒนาเพื่อให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ,คนที่นั่นออกปากปฏิเสธเป็นพัลวันถึงความไม่ต้องการให้เจริญขีดสุดแบบปาย ,แต่ขณะเดียวกันก็อ้าแขนต้อนรับนักท่องเที่ยว ,รวมถึงนักเก็งกำไรเข้ามาหาซื้อที่ดิน ,หลับตาก็พอมองออกว่าภายในระยะ 5-10 ปี เชียงคานจะอยู่ในสภาพของเมืองท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เสนอสนองความต้องการของคนในทุกระดับชั้น ,แต่ความเห็นส่วนตัว ผมชอบปายคับ (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายภาพ)