ความโกลาหลเริ่มต้น
,07.00 น. ,เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งเตรียมงานของพวกเขาพร้อมกับการอารักขาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ,ฟายซาบัด แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 ฝั่ง มีแม่น้ำค็อกช่าคั่นระหว่างเมือง ,ฝั่งหนึ่งเป็นเขตเมืองเก่า อีกฝั่งเป็นเขตเมืองใหม่
\\/--break--\>
การลงสำรวจพื้นที่จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม ,ทีมการ์ด บอกว่า มีข่าวถึงการโจมตีที่ฟายซาบัดในวันนี้ อย่าพยายามออกไปนอกเมือง ขณะที่ การทำงานของยาดาต้องกระจายการลงสัมภาษณ์ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ตามหน่วยหรือเขตต่างๆ ออกไปให้มากและครบถ้วน
“เดินทางเป็นวงกลม หากต้องย้อนไปย้อนมา กลุ่มผู้ไม่หวังดีอาจจะย้อนรอยเรา” ยาดากล่าวขรึมๆ ,เพราะวันเลือกตั้งถือว่าเป็นวันที่อันตรายที่สุด ก่อนหน้านั้นเพียง 2 วัน เกิดระเบิดขึ้นนอกเมือง เจ้าหน้าที่เลือกตั้งเสียชีวิตไป 3 คน
‘ตาลีบัน ขุดถนน ฝังระเบิดแสวงเครื่อง เมื่อรถเจ้าหน้าที่ผ่านมา กด บึ้ม ,รถจะลอยสูงไม่ต่ำกว่า 5-10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักระเบิดและน้ำหนักรถ !!
“วันนั้น เราวางแผนเอาไว้ว่าจะลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านใน 2 อำเภอ คือ อาโก้และบาฮารัค” เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่า ทั้ง 2 เมืองใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมงเท่ากัน ถนนดีพอกัน แต่ภูมิประเทศของบาฮารัคสวย ยาดาตัดสินเลือกเส้นทางที่ 2 ซึ่งเป็นภาคตะวันออกของประเทศ มุ่งหน้าสู่พรมแดนปากีสถาน
“ชั้นวางแผนเอาไว้ว่าจะไปเมืองบาฮารัคและจวมแล้ววนกลับฟายซาบัด” ยาดาพูดถึงงานของตัวเอง ,เช้าวันนั้น หน่วยข่าวกรองทีมการ์ดจากคาบูล์ แจ้งข่าวถึงแผนลอบวางระเบิดแต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเหตุจะเกิดที่ไหน
“เขาห้ามไม่ให้เราออกนอกเมือง แต่ชั้นจะมานั่งกลัวอยู่ไม่ได้หรอกนะ” ยาดากล่าว ถึงแม้จะกังวลอยู่บ้างก็เหอะ ,เธอ ต่อรองจนได้ไปเมืองบาฮารัคแล้วกลับฟายซาบัด
บนความแตกต่างของหน้าที่
,หน้าที่ของยาดา คือ ลงพื้นที่ หาข้อมูล
,ส่วนหน้าที่ของหน่วยการ์ด คือ รักษาชีวิตนักสังเกตุการณ์การเลือกตั้งและนำพวกเขากลับบ้าน
ภายในวันนั้น ทีมการ์ดจากคาบูล์ ยืนยัน ตาลีบันก่อการที่อาโก้ ทีมเจ้าหน้าที่การเลือกตั้งเสียชีวิต 3 คน พร้อมกับข่าวลือสะพัด
,เธอ โชคดี
.....
หน่วยเลือกตั้งในฟายซาบัดอยู่ในโรงเรียน โรงพยาบาลและคุก
,ยาดามีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์นักโทษ พวกเขามีสิทธิ์ออกเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ ,ภายในนั้นห้ามถ่ายภาพ นอกจากการสัมภาษณ์ถึงความคิดเห็น
นักโทษร่วม 100 คน ยืนเรียงแถว ยาดาตั้งคำถามและมีล่ามคอยแปล
,เธอถามพวกเขาเหล่านั้นว่า
,รู้เรื่องการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ ทุกคนบอกว่า รู้ดีและต้องการเป็นหนึ่งในการสร้างประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
,และคาดหวังว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้ประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ,พวกเขาคิดและอึกอัก บางคนบอกว่า ใช่ คิดว่า ชาวอัฟกันน่าจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เสียงของพวกเขาแผ่วเบา อย่างมีความหวัง
.....
วันเลือกตั้งผ่านไปด้วยดี ประชาชนมากกว่า 70% ตื่นตัวและออกมาใช้สิทธิ์ของพวกเขา ถึงแม้จะมีข่าวลือว่า ตาลีบันจะตัดนิ้วคนทุกคนที่มีรอยน้ำหมึก
,เป็นวิธีการการเลือกตั้งของอัฟกานิสถาน
คนที่มีสิทธิ์จะเดินทางมายังหน่วยเลือกตั้ง เขาถูกตรวจค้นร่างกาย ตรวจบัตรประชาชนเพื่อแสดงหลักฐาน ‘จุ่มนิ้วลงในหมึก,แล้วเข้าไปลงคะแนน
…..
ทุกคนมีความหวัง
แม้จะมีข่าวข่มขู่
แม้ชาวอัฟกันหลายคนบอกว่า ,กลัว
แต่พวกเขาคิดว่าดีกว่าให้ประเทศนี้ตกอยู่ในภาวะเช่นเดิมที่ไร้ความหวัง
.....
,2 เดือน ผ่านมาจนถึงวันนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอัฟกันยังไม่สามารถรับรองผลการเลือกตั้ง ด้วยเหตุผลของการทุจริตและความรุนแรงยังคงอยู่
เพียงหนึ่งวันหลังการเลือกตั้ง บางจังหวัด กลายเป็นสนามรบพร้อมข่าวนาโต้บอมบ์ผิดเป้าหมายลงหลังคาชาวบ้านและหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยกลายเป็น WAR ZONE
“ประชาชนกำลังเหนื่อยเปล่า” ยาดาคิด
“มันเป็นอย่างนี้กันทั้งโลก” แต่คงต้องดิ้นรนกันต่อไป ประชาธิปไตยสร้างไม่ได้เพียงชั่วข้ามคืน
วันนี้อาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จแต่เราหยุดไม่ได้ ยาดาเชื่อเช่นนั้น !!!
กลุ่มผู้หญิงในชุดคลุมเบอก้า เดินข้ามทุ่งไปยังหน่วยเลือกตั้งและมีทีมการ์ดคอยประกบเพื่อรักษาความปลอดภัย
ซาเดีย ล่ามของยาดากำลังตรวจบัตรแสดงหลักฐานเพื่อเข้าไปเลือกตั้ง
เจ้าหน้าที่เจาะบัตรเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการลงคะแนนเสียงซ้ำ
ประชาชนมุงกันอยู่หน้าคูหา ก่อนเข้ามาใช้สิทธิ์ของตนเอง
ตรวจร่างกาย รักษาความปลอดภัยกันอย่างเต็มที่
บัตรประชาชนและรอยนิ้วเปื้อนหมึก แสดงว่า พวกเธอได้ผ่านการกำหนดชะตากรรมประเทศในครั้งนี้แล้ว
โฉมหน้า ผู้ประกาศตนเป็นผู้แทนประชาชนในการนำพาประเทศ
การเลือกตั้งในอัฟกานิสถานจะแยกระหว่างหญิงชาย
หน่วยเลือกตั้งแห่งนี้เป็นของผู้ชายที่มาใช้สิทธิ์ด้วยใจจดใจจ่อ
หญิงในชุดคลุมเบอก้า เบียดเสียดเพื่อใช้สิทธิ์
หีบบัตรใส ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ