Skip to main content
 
เราเรียกภรรยาของ "ลุงโอภาส" ว่า "แม่" เพราะเธอเรียกตัวเองกับเราอย่างนั้น และเวลาคุยกับเราเธอเรียกลุงโอภาสว่า "พ่อ"
จะว่าไปอายุของเราก็ใกล้ๆเคียงๆ กับลูกๆ ของเขา
 
เธอคือหญิงวัยหกสิบกว่าๆ อาชีพปัจจุบัน คือ แม่ค้าขายเข็มกลัดในตลาดนัด อาชีพในอดีตเป็นพนักงานบริษัทเอกชนตำแหน่งไม่เล็ก แต่ถูกบีบให้ลาออกหลังอายุมากขึ้น จากเดิมที่ไม่เคยสนใจการเมือง ไม่เคยรู้เรื่องมาตรา 112 ไม่เคยสนใจการรัฐประหาร ไม่รู้เรื่องคดีความการขึ้นโรงขึ้นศาล เธอกลับเป็นคนเดียวที่ต้องวิ่งเข้าออกโรงพัก เรือนจำ และศาลทหาร เพื่อช่วยเหลือสามี
 
สามีของเธอ หรือ ลุงโอภาส ถูกจับตามมาตรา 112 จากการเขียนฝาผนังห้องน้ำ ศาลทหารตัดสินเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 ให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่ต่อมาตำรวจตั้งข้อหาเพิ่มจากข้อความบนฝาห้องน้ำอีกห้องหนึ่ง ลุงโอภาสจะขึ้นศาลคดีที่สองวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2558
 
ในช่วงแรกที่ถูกจับลุงโอภาสถูกขังอยู่ที่ห้องขังของกองปราบปราม "แม่" ในอาการหวาดกลัวและสับสน ต้องวิ่งลนลานหาเอกสารประกันตัว เอาโฉนดที่ดินไปตีราคา และยังต้องซื้อข้าวซื้อน้ำไปส่งที่ห้องขังทุกวัน เพราะกลัวสามีจะอด ช่วงนั้นเธอต้องปิดร้านและมาเป็นคนแบกรับปัญหาทุกอย่างเอาไว้ ทั้งปัญหาทางการเงินและทางจิตใจ จากแม่ค้าขายเข็มกลัดธรรมดา เธอกลายเป็นคนที่มีใบหน้าอมทุกข์และมีน้ำตาที่แฝงหลายความหมายอยู่แทบทุกครั้งที่เจอกัน
 
"แม่ก็ไม่รู้ว่าพ่อเขาทำอะไรของเขานะ นี่ถ้ารู้ก่อนจะตีให้ตายเลย"
เธอเคยกล่าวไว้ด้วยอาการหงุดหงิด
 
"วันนั้นเราก็มาด้วยกันนะ พ่อเขาบอกจะแวะทำธุระที่ซีคอนแปบนึง แล้วให้เราเข้าบ้านไปก่อน ก็ไม่รู้ว่าทำไมเป็นอย่างงี้ไปได้"
เธอเล่าถึงเหตุการณ์วันที่ 15 ตุลาคม 2557 วันที่ลุงโอภาสถูก รปภ.ห้างซีคอนจับได้
 
หลังลุงโอภาสถูกจับไม่กี่วัน เราบึ่งรถจากรัชดาไปเผชิญรถติดแถวๆ ซีคอน เพื่อช่วยเธอเจรจาเรื่องกฎหมายต่างๆ กับเจ้าของตลาดที่เธอเช่าอยู่ วันนั้นผมเจอเธอเป็นครั้งแรก เอาจริงๆ เราพูดรวมกันอยู่ไม่กี่คำ เมื่อผลการเจรจาเรียบร้อยดี เธอโผเข้ากอดเราแล้วหลั่งน้ำตา
 
"พวกหนูเป็นคนดีจริงๆ แม่ไม่รู้จะตอบแทนยังไง"
นั่นคือ First Impression ของผมกับเธอ
 
 
คนที่เราเรียกว่า "แม่" กล่าวขอบคุณเราแทบทุกครั้งที่เจอ ทั้งๆ ที่หลายครั้งเราก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อเขาและเธอสักเท่าไร แต่ในภาวะที่ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ก็มีเด็กๆ รุ่นราวคราวลูกกลุ่มนึงที่อาจพอฟังเธอร้องไห้ได้เป็นบางครั้งบางคราว กระนั้น เราก็ไม่อาจรู้ได้เลยว่าเบื้องหลังของด้วยสีหน้าทุกข์กังวล และแววตาที่ว้าวุ่นสับสนเหล่านั้น มีความหวาดกลัว ความเจ็บปวด หรือความรู้สึกประเภทใดอีกที่แฝงอยู่บ้าง
 
เรายังคงเรียกเธอว่า "แม่" อยู่ต่อเนื่องมา เราเจอเธออีกหลายครั้งเวลาไปเรือนจำ เธอจะมาเยี่ยมสามีวันเว้นวัน เพราะบ้านอยู่ไกลถึงศรีนครินทร์ เดินทางมาที่งามวงศ์วานทุกวันไม่ไหว นอกจากจะต้องเทียวมาเยี่ยมสามีที่เรือนจำตลอดแล้ว เธอยังต้องรับผิดชอบร้านขายของในตลาดนัดต่อ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของครอบครัวเพียงคนเดียว ทหารยังมาเยี่ยมเธอที่บ้านบ้างเป็นครั้งคราวโดยไม่มีเหตุผล จากคนไม่เคยสนใจการเมือง แต่ถูกการเมืองวิ่งมาบังคับให้เธอสนใจ
 
ลุงโอภาสถูกจับและคุมขังมาตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 นับถึงวันนี้ก็ครบหนึ่งปีพอดีที่ "แม่" ต้องต่อสู้มาลำพังภายใต้ความกดดันนานับประการที่อยู่นอกเหนือการควบคุมโดยมนุษย์ธรรมดาสามัญ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ประกันตัว ระยะเวลากว่าที่ศาลทหารจะกำหนดวันนัด และความหนักเบาของโทษตามคำพิพากษา
 
เมื่อวันนัดฟังคำพิพากษาครั้งแรก คงมีน้ำตาและความดีใจที่ลุงโอภาสอาจจะเริ่มนับถอยหลังสู่อิสระภาพได้อย่างไม่นานจนเกินไป แต่น้ำตาก็เปลี่ยนสีอีกครั้งเมื่อมีคดีที่สองจากการกระทำที่ควรจะนับเป็นกรรมเดียวกันตามมาติดๆ
 
วันที่ 16 ตุลาคม 2558 ครบหนึ่งปีกับหนึ่งวัน ทั้ง "แม่" และ "ลุงโอภาส" ต้องไปลุ้นกันอีกครั้งที่ศาลทหารกรุงเทพ
 
เอาจริงๆ ผมก็อยากไปเจอเธออีกครั้ง แต่ผมไม่อยากเห็นน้ำตาใครอีกแล้ว ไม่ว่ามันจะไหลลงมาเพราะเหตุใด
 
 
 
 
ดูรายละเอียดคดีของโอภาสเพิ่มเติมได้ที่--> http://freedom.ilaw.or.th/th/case/634
 
 
 

บล็อกของ นายกรุ้มกริ่ม

นายกรุ้มกริ่ม
  นาทีที่ผมยืนอยู่ข้างเวที ห่างจากจุดที่แสงไฟสารพัดจะสาดส่องเป็นระยะหนึ่งก้าวเต็มๆ ผ้าม่านสีดำผืนบางๆ เท่านั้นที่ทำหน้าที่กั้นระหว่างริมฝีปากของผมกับแสงไฟด้านนอก บริเวณที่ยืนอยู่นั้นปิดมืดหมด มืดสนิทจนมองไม่เห็นแม้แต่คนที่ยืนข้างๆ และความคิดความฝันของตัวเอง ระหว่
นายกรุ้มกริ่ม
  
นายกรุ้มกริ่ม
 ชั้น 10 ของอพาร์ทเม้นต์แห่งหนึ่ง เด็กหนุ่มอายุ 18 ปี นั่งเล่นคอมพิวเตอร์อยู่คนเดียวบนชั้นนั้นเด็กหนุ่มเพิ่งเข้าเรียนปี 1 ที่มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง แต่วันนี้เขาขี้เกียจไปเรียน จึงนั่งเล่นคอม แชทคุยกับสาวๆ อยู่ที่บ้าน
นายกรุ้มกริ่ม
เห็นด้วยกับไอเดียคสช.
นายกรุ้มกริ่ม
 พร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกาวส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล 22 พฤษภาคม 2558 วันคร
นายกรุ้มกริ่ม
ผมไม่เคยได้ยินชื่อของ “คฑาวุธ” มาก่อนเลย จนกระทั่งวันที่ 10 มิถุนายน 2557  ในเช้าวันที่กำลังยุ่งเหยิงอยู่กับจำนวนคนถูกเรียกและถูกจับโดยคสช.
นายกรุ้มกริ่ม
 ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการยึดอำนาจท่ามกลางบรรยากาศที่ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองอย่างสูงสุด จึงคาดหมายได้ว่าแรงต้านจากประชาชนฝ่ายป
นายกรุ้มกริ่ม
17 เมษายน 2557 เป็นวันสุดท้ายที่มีบุคคลอ้างว่าว่าพบเห็นนาย “บิลลี่” หรือพอละจี รักจงเจริญ แกนนำชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ที่เคลื่อนไหวต่อสู้เรื่องสิทธิที่ทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หรือบางคนนิยามว่าเขาคือ “นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน” การหายตัวไปของคนคนหนึ่งที่ตั้งตัวเป็นฝ่
นายกรุ้มกริ่ม
ผมได้ยินชื่อลุงครั้งแรกตามสื่อ ได้อ่านเรื่องราวผ่านๆ ดูคลิปของลุง แต่ไม่ได้ตั้งใจดูนัก ผมได้ยินว่าลุงเป็นนักแปล และเป็นนักเขียนด้วย โดนคดี 112 แต่ไม่รู้ว่าลุงทำอะไร ผมได้ยินคนตั้งฉายาลุงว่า "กึ่งบ้ากึ่งอัจฉริยะ" ผม
นายกรุ้มกริ่ม
 มาเยือนเมือง “สตูล สะอาด สงบ” เป็นครั้งที่สอง หลังจากเมื่อปีกว่าๆ ที่แล้วติดสอยห้อยตามเพื่อน NGO มาดูกิจกรรม “สัญญาประชาคม” ที่คนสตูลร่วมกันแสดงพลังคัดค้านการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา แต่ครั้งนี้สดใสกว่าเดิม มาร่วมเป็นพี่เลี้ยงในกิจกรรมที่อาจารย์พานักศึกษาจากม.ทักษิณ มาลง