Skip to main content

blogazine headline 2009/07/25

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม

กระนั้น  ก็นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจที่นักการเมืองไทยเริ่มก้าวข้ามพรมแดนของโลกจริงมาสู่โลกเสมือน แม้ว่า..อย่างที่กล่าวไป เราอาจจะยังไม่เห็นนัยยะสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเนื่องจากเพิ่งเป็นระยะเริ่มต้นเท่านั้น หากเทียบกับการใช้สื่อใหม่ในทางการเมืองของประเทศที่เคลื่อนพื้นที่กิจกรรมทางสังคมมานานกว่า อย่างในอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้หรือแม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งสามารถใช้เครือข่ายทางสังคมในโลกเสมือนนี้เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองอย่าจริงจังกระทั่งส่งผลสะเทือนออกมาเป็นพลังทางสังคมในโลกจริงอย่างน่าทึ่ง ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านไปก็เช่น การประท้วงเอฟทีเอของชาวเกาหลีใต้ ซึ่งอินเตอร์เน็ตมีส่วนสำคัญยิ่งในการเชื่อมร้อนผู้คน และเป็นเสมือนสถานที่นัดแนะสำหรับการออกมาร่วมเดินถนนขงผู้คนเรือนแสน เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หรืออีกตัวอย่างที่ใกล้เข้ามาก็คือการประท้วงการเลือกตั้งของฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีมาห์มุด อามาดิเนจัด ซึ่งใช้ทวิตเตอร์เป็นนกสื่อสารออนไลน์ที่ทรงพลังอย่างยิ่ง

และเนื่องจากกระแสที่ฮือฮาขึ้นเกี่ยวกับนักการเมืองไทยซึ่งแต่ก่อนร่อนชะไรมักถูกถากถางว่าเป็นไดโนเสาร์ วันนี้เมื่อพวกเขาเริ่มสื่อสารกับประชาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเริ่มใช้พื้นที่ในโลกเสมือนสร้างเครือข่ายทางสังคมซึ่งเริ่มขยายจำนวนมากขึ้นๆ ก็น่าจะลองสำรวจดูในเบื้องต้นก่อนว่า ใครบ้างที่เริ่มปรับตัวแล้วกับเครือข่ายทางสังคมรูปแบบใหม่ แม้ว่าเอาเข้าจริงจะช้าไปสักนิดก็ตามที

หัวไม้สัปดาห์นี้ นำบทสำรวจเบื้องต้น พร้อมข้อสังเกต จากนักกิจกรรมในโลกไซเบอร์รายหนึ่ง มาเปิดประเด็นเรียกน้ำย่อยกันก่อนจะจับตากันต่อไปว่า พื้นที่เครือข่ายทางสังคมใหม่แห่งนี้ จะถูกใช้ไปในทางการเมืองได้เข้มข้นมากน้อยเพียงใด

- - - - -
 

Social Network by Amit Gupta from Flickr
by Amit Gupta from Flickr (via basicstep.net)

ปกติผมจะไม่ค่อยคิดว่านักการเมืองบ้านเราจะทันสมัยอะไรกับชาวบ้านเขา เท่าไรนัก แค่ลุ้นให้ทำงานกันก็เหนื่อยแล้ว ยิ่งหลังๆดูเหมือนจะแบ่งข้างกันชันเจนว่าฝ่ายไหนฝ่ายไหน ตีกันไปมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ขโมยซีน ชิงพื้นที่สื่อกันสนุกสนาน แต่เผอิญว่าข่าวนี้ใกล้กับ New Media เลยต้องเอามาพูดหน่อย เดี๋ยวจะเอาท์

 

เมื่อก่อนเราจะเห็นนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลออกมาอัด กันผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือทีวี แต่เดี๋ยวนี้เราเริ่มจะได้เห็นนักการเมืองไทยย้ายขึ้นไปใช้สื่อใหม่ (New Media) อย่างบรรดา Social Media ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือ Hi5 เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้บริโภคสื่อแบบเดิมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น คนทำงาน อายุไม่เกิน 35 นับว่าเป็นการจับจองกลุ่มคนที่ค่อนข้างจะเป็นหัวๆ มีพลังที่จะทำอะไรสักอย่าง และดูเป็นฐานเสียงที่จะเป็นกำลังสำคัญเลยทีเดียว

แน่นอนว่าการจะเข้าถึงคนกลุ่มที่ว่ามานี้ง่ายที่สุดก็คือกระโดดเข้าไป กลางวง กลางที่ๆเขาอยู่กัน Facebook และ Twitter จึงกลายเป็นกระแสขึ้นมาในไทยทันที (หลังจากที่ Hi5 ดูจะเอ้าท์ๆไปแล้ว)

ผมลองมาไล่ๆจากข่าวและที่เคยๆเห็นมา น่าแปลกใจมาก! ที่พรรคเพื่อไทยของคุณ ทักษิณ ชินวัตร กลับใช้ New Media น้อยและช้ากว่าที่คิด ผิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ภาพลักษณ์ดูเชย โบราณ กลับกลายเป็นว่ามีคนเล่นเยอะกว่าเพื่อน

ประชาธิปัตย์

1. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

2. กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

  • twitter: @korbsak (กรกฏาคม 2552)

3. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย

4. กรณ์ จาติกวณิช

5. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

  • twitter: @aoodda (กรกฏาคม 2552)

6. อภิรักษ์ โกษะโยธิน

7. อลงกรณ์ พลบุตร

  • twitter: @ponlaboot (มิถุนายน 2552)

เพื่อไทย (อดีตไทยรักไทย พลังประชาชน)

1. ทักษิณ ชินวัตร

2. จาตุรนต์ ฉายแสง

3. สุรนันท์ เวชชาชีวะ

  • twitter: @suranand (กุมภาพันธ์ 2552)

*หลายๆ account ไม่แน่ใจว่าตัวจริงทำเองหรือไม่

 

สำหรับเมืองนอกคงไม่ต้องพิสูจน์แล้วว่า New Media นั้นมีอิทธิพลต่อคนสมัยนี้อย่างไร ยกตัวอย่าง นาย โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐนั่นไงที่ใช้ New Media ได้ดีจนชนะการเลือกตั้งและเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศไปเลียนแบบ

เพียงแต่ผมไม่อยากให้เรื่องความสนใจในด้านเทคโนโลยีของบรรดานักการเมือง ทั้งหลายเป็นเพียงแค่กระแสเพื่อเอามาเกทับ บลัฟกัน ว่าใครทำก่อนทำหลัง แล้วก็จบๆไป แต่อยากให้ท่านๆใช้ New Media เป็นช่องทางในการสื่อสารที่เข้าถึงผู้คนได้มีประสิทธิภาพและดูใกล้ชิดกว่า ที่เคยมีมา แล้วเชื่อในเทคโนโลยีว่ามันมีประโยชน์ และกลับไปใช้เทคโนโลยีนำในการพัฒนาประเทศต่อไป

สาธุ

- - - - -

หมายเหตุ:

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะหนีไปพ้น คนยากคนจนทั่วโลก ในหลายประเทศวิกฤตการณ์นี้นำไปสู่การจลาจล เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่นในเฮติ อียิปต์และโซมาเลีย วิกฤติอาหารยังลามถึงภูมิภาคอเมริกากลาง จนประธานาธิบดีนิคารากัวเรียกประชุมฉุกเฉิน ยอมรับภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤติ จนเกรงว่าจะบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายในสังคมขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ออกมาให้ข้อมูลชวนหวั่นไหว ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า วิกฤตอาหารแพงนี้จะเพิ่มระดับความยากจนทั่วโลกอาจพุ่งสูงขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยราคาอาหารและน้ำมันแพงในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทำให้ประชาชนประมาณ 100…
หัวไม้ story
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ช่วงนี้ตรงกับเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างมากครั้งหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ประชาไทจึงเลือกพาด ‘หัวไม้' เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สำคัญตอนนี้หากกล่าวอย่างรวบรัดที่สุด คือ ใน ‘เดือนพฤษภา พ.ศ. 2535' เกิดการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือการต่อต้าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนึ่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ผู้ใช้วาทะ ‘เสียสัตย์เพื่อชาติ' มานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลงไปให้ถึงรายละเอียด เหตุการณ์พฤษภาคม 2535…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burmaคณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)ก่อนนาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น…
หัวไม้ story
พิณผกา งามสมปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองบนเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในไทยอยู่ขณะนี้ เป็นพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสื่อกระแสหลักก็เปลี่ยนหรือขยายเป้าหมายจากการช่วงชิงพื้นที่ในตลาดสิ่งพิมพ์มาสู่ตลาดแห่งใหม่ในโลกไซเบอร์ นักวิชาการด้านสื่อสารสนเทศ สังคมวิทยา และรวมถึงนักรัฐศาสตร์ในโลกก็เริ่มขยายการศึกษาวิจัยมาสู่พื้นที่ใหม่ที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน โลกวิชาการระดับนานาชาติผลิตงานศึกษาวิจัยถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีข้อเสนอว่า อินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดในโลกจริง เป็นต้นว่า…
หัวไม้ story
กลายเป็นภาพที่คุ้นตา เรื่องที่คุ้นหูไปแล้ว สำหรับการออกมาเดินขบวนยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในวันกรรมกรสากล (หรือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันเมย์เดย์) จนบางคนอาจชาชินกับสิ่งที่เกิดขึ้น "ก็เห็นเดินกันทุกปี" "เรียกร้องกันทุกปี" อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่มีข้อเรียกร้องอยู่ทุกปีนั้น สะท้อนถึงการคงอยู่ของ ‘ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข' ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มไหน เมื่อลองกลับไปดูข้อเสนอของปีที่แล้ว เทียบกับปีก่อน และปีก่อนๆ ก็จะเห็นว่า ไม่สู้จะต่างกันสักเท่าใด ดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงานการจะทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นนั้น นอกจากตัวงานและผู้ร่วมงานแล้ว…
หัวไม้ story
  ช่วงเวลาแห่งสงกรานต์ผ่านพ้นไปแล้ว การกระหน่ำสาดน้ำในนามของวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามยุติลง (ชั่วคราว) หลายคนที่เคยดวลปืน (ฉีดน้ำ) หรือแม้แต่จ้วงขันลงตุ่มแล้วสาดราดรดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ล้วนวางอาวุธและกลับเข้าสู่สภาวะปกติของชีวิตแน่นอนว่า สงคราม (สาด) น้ำที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ละปี เป็นห้วงยามแห่งความสนุกสนานและการรวมญาติในแบบฉบับไทยๆ แต่ในขณะที่คนมากมายกำลังใช้น้ำเฉลิมฉลองงานสงกรานต์จนถึงวันสิ้นสุด แต่สงคราม (แย่งชิง) น้ำที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง สงครามน้ำส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของโลก และมักจะมีสาเหตุจากข้อจำกัดทางภูมิประเทศ…
หัวไม้ story
จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง ยุคที่น้ำมันแพง ราคาเบนซินกระฉูดไปแตะที่ลิตรละ 35 บาท ส่วนดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 31 บาทกว่า การเดินทางในช่วงวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ รถโดยสารสาธารณะที่มีเส้นทางขนส่งประจำทางข้ามจังหวัดดูจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการเดินทางไม่มากนัก ด้วยเหตุผลเรื่องราคาที่พอจ่ายได้ ความสะดวกสบายและความปลอดภัยจากผู้ให้บริการที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งมีเส้นทางเดินรถจากสถานีต่างๆ ในกรุงเทพฯ กระจายไปทั่วประเทศ  การเดินทาง 1. "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)" หรือ "หมอชิต" สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปภาคเหนือ…
หัวไม้ story
 พิณผกา งามสม/พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อกระแสแก้รัฐธรรมนูญเริ่มต้นด้วยการถูกโจมตีว่าจะเป็นการเบิกทางให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีที่อยู่ที่ยืนในเวทีการเมืองไทยอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังเป็นการปูทางไปสู่การฟอกตัวของอดีตนายกผู้ซึ่งตามทัศนะของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองว่าเป็นเหตุแห่งความวิบัติทั้งสิ้นทั้งมวลของประเทศชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็กลายมาสู่เรื่องการเอาทักษิณ หรือไม่เอาทักษิณ แบบกลยุทธ์ขายเบียร์พ่วงเหล้า คือถ้าไม่เอาทักษิณก็ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ ถ้าใครจะแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นพวกทักษิณ ว่ากันตามจริงแล้ว…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)มุทิตา เชื้อชั่ง, คิม ไชยสุขประเสริฐ, ชลธิชา ดีแจ่ม นานๆ ทีจะเห็นคนระดับนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม และระดับคุณสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  หากย้อนดูปรากฏการณ์การเคลื่อนขบวนของประชาชนออกมาแสดงพลังขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลไทยรักไทย ที่ผ่านมานับแต่การเริ่มต้นเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งแรก…
หัวไม้ story
หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์) 
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  เพียงไม่นานหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช พูดออกอากาศในรายการ ‘สนทนาประสาสมัคร' ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ว่า อยากให้มี ‘บ่อนการพนันถูกกฎหมาย' เกิดขึ้นในประเทศ…