Skip to main content

ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด น้ำเสียง' และ ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง

การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)

ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน


ตารางการรัฐประหารที่สำเร็จในประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 - ปัจจุบัน

วัน เดือน ปี

ผู้นำการรัฐประหาร

ผู้ถูกทำรัฐประหาร

1 เมษายน 2476

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารตัวเองโดยงดใช้รัฐธรรมนูญ

20 มิถุนายน 2476

พระยาพหลพลพยุหเสนา

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

8 พฤศจิกายน 2490

จอมพลผิน ชุณหวัณ

พลเรือเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

29 พฤศจิกายน 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

รัฐประหารตัวเอง

16 กันยายน 2500

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพลป. พิบูลสงคราม

20 ตุลาคม 2501

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพลถนอม กิตติขจร

17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร

รัฐประหารตัวเอง

6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

23 กุมภาพันธ์ 2534

พลเอกสุนทร คงสมพงษ์

พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ

19 กันยายน 2549

พลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

หมายเหตุ: แก้ไข 7 มิ.ย. 51 -- 17.34น. ตามการท้วงติงของธนาพล อิ๋วสกุล

บางที การเว้นช่วงครั้งหลังสุดที่ยาวนานกระทั่งทำให้สังคมไทยตายใจว่า ทหารกลับเข้ากรมกรองไปทำหน้าที่ ทหารอาชีพ แล้วนั้น อาจจะเป็นเพียงข้อยกเว้น

อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารที่ผ่านก็ยังได้รับการยอมรับกันว่าเป็นไปโดยสงบไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และซ้ำคณะทหารที่ขึ้นมาคุ้มครองประเทศก็ยังมีสายใยและความร่วมมืออันดีกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวภาคประชานเป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งที่ต่างออกไปจากการรัฐประหารที่เคยมีมาครั้งใดๆ ในประเทศนี้

แน่นอนว่าปัจจัยส่วนหนึ่งคือ ทหารเรียนรู้มากขึ้นที่จะอยู่ร่วมกับประชาสังคมไทย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนที่เข้มแข็งและไม่เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารได้ควบคุมความรับรู้ทุกอย่างในสังคมนี้ก็คือโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่ที่อำนาจรัฐและคณะรัฐประหารใดๆ ไม่เคยเผชิญมาก่อน

การควบคุมความรับรู้หรือการแสดงออกของประชาชนภายหลังการรัฐประหารนั้น เป็นสูตรสำเร็จที่จะต้องทำทันทีเมื่อมีการยึดอำนาจ ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นตัวกำหนดความรับรู้และท่าทีของประชาชน ดังจะเห็นได้ว่า ในการรัฐประหารใดๆ ก็ตาม ผู้ทำรัฐประหารต้องเข้ายึดพื้นที่ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสมัยก่อนได้แก่ สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ ทั้งการควบคุมการแสดงออกของประชาชนก็อาจทำได้โดยการออกกประกาศและใช้กองกำลัง แต่ สำหรับโลกไซเบอร์แล้ว นั่นอีกเรื่องที่ต่างออกไป มันหมายถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ต้องไล่กวดกันเหมือนแมวไล่จับหนู

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อ 24 ก.พ. 2534 และหลังเกิดเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองได้จับพิมพ์หนังสือ ต้านรัฐประหาร' ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภาคประชาชนในการต่อสู้กับการต้านรัฐประหารโดยผู้เขียนคือนักสันติวิธีนาม จีน ชาร์ป

แน่นอนว่าหนังสือเล่มนั้นพูดถึงเรื่องการปฏิบัติในโลกจริงซึ่งอาจจะเชยไปสักหน่อยสำหรับมนุษย์ยุคไซเบอร์ แต่หากใครสนใจก็ยังหาซื้ออ่านได้ นั่นเป็นแนวทางการต้านรัฐประหารโดยประชาชนซึ่งขณะนี้ คงจะต้องเพิ่มเติมวิธีการสำหรับประชากรไซเบอร์เข้าไปด้วย

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยทันที มีเว็บไซต์อย่างน้อย 2 แห่งกำเนิดขึ้นในโลกไซเบอร์นั่นก็คือ http://www.19sep.org/ และ http://www.dcode.net/ ทั้งสองเว็บเป็นต่อต้านการรัฐประหารแต่เห็นต่างในรายละเอียด โดยเว็บไซต์หลังนั้นเป็นกลุ่มนักเล่นเน็ต ที่ชื่นชมในนโยบายของพรรคไทยรักไทยและทักษิณ ชินวัตร แต่เว็บแรกนั้นไม่ใช่ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เว็บไซต์ได้พัฒนามาสู่การจัดตั้งมวลชนผ่านโลกไซเบอร์และได้เคลื่อนตัวจากพื้นที่ในโลกไซเบอร์สู่สนามหลวง ในชื่อของ กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ และกลุ่มประชาชนต้านรัฐประหารในที่สุด

ผลพวงอันเนื่องจากรัฐประหาร 19 กันยายน ต่อความตื่นตัวของประชาชนที่เข้าถึงเว็บไซต์ ยังได้ก่อให้เกิดเว็บไซต์และบล็อกเกอร์อีกจำนวนมากในการติดต่อสื่อสารกัน ทั้งในฐานะผู้รับและส่งสาร กระทั่งทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ใหม่ในการแย่งชิงความรับรู้ แต่ก็ยังคงเป็นสิ่งยากสำหรับภาครัฐ แม้จะมีกฎหมายอา๙ญากรรมว่าด้วยการกระทำความผิดด้วยคอมพิวเตอร์ออกมาก็ตาม เพราะ....ย้ำ...นี่คือเรื่องของเทคโนโลยีที่รัฐต้องคอยวิ่งไล่จับให้ทัน

ผมคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันจะทำให้ความคิดของคนมันวิ่งไปมาหากันได้เร็วขึ้น ทำให้เกิดการสทนาแลกเปลี่ยนได้อย่างกว้างขว้างขึ้น มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น และเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมก็เป็นได้. ซึ่งรัฐอาจจะกลัวตรงนี้ ก็เลยต้องการเข้ามาควบคุมจัดระเบียบ. พวกเราพลเมืองและพลเมืองอินเทอร์เน็ตทุกคน ก็ต้องพยายามรักษาพื้นที่ของเราตรงนี้ไว้ให้ปลอดจากการแทรกแซงโดยอำนาจรัฐและอำนาจอื่น ๆ. ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ พื้นที่สื่อพวกนั้นเราพลเมืองธรรมดาเข้าถึงได้ยากมาก. พวกเราพลเมืองจึงต้องรักษาพื้นที่ที่เรามีอยู่ไม่มากนักในอินเทอร์เน็ตเอาไว้. ไม่ใช่เพื่อตัวอินเทอร์เน็ตหรือตัวผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเอง แต่เพื่อสังคมทั้งหมด' อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์จากสถาบันเทคโนโลยี SIIT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขียนไว้ให้สัมภาษณ์วาวสร ปฏิรูปสื่อ' เมื่อปลายปีที่แล้ว

เขาตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่รัฐพยายามทำกับพื้นที่อินเตอร์เน็ตปัจจุบันนี้คือ

1) สั่งปิดเว็บไซต์ โดยติดต่อไปที่เว็บโฮสติ้ง (ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตสำหรับสร้างเว็บไซต์) ขอหรือสั่งให้ปิดเว็บไซต์นั้นลง หรือหาทางเจาะระบบเข้าไปทำลายเว็บไซต์ลง ผลก็คือเว็บไซต์นั้นก็จะหายไปจากอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ไม่ว่าจากประเทศไหนก็จะเข้าไม่ได้อีกแล้ว.

2) ปิดกั้นเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่าการบล็อค (block) ซึ่งก็ทำกันได้หลายระดับ ทั้งที่ระดับเกตเวย์ (gateway - เป็นประตูเชื่อมเครือข่ายภายในประเทศออกสู่อินเทอร์เน็ต) ที่ระดับไอเอสพี หรือที่ระดับองค์กรอย่างสถานศึกษาหรือบริษัทบางแห่งก็พบว่ามี. ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการหรือองค์กรนั้น ๆ ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบล็อคได้. หรือถ้าเป็นการบล็อคที่เกตเวย์ระดับประเทศ ก็จะมีผลทำให้ผู้ใช้ในประเทศทั้งประเทศไม่สามารถเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นได้ - อย่างไรก็ตามผู้ใช้อื่น ๆ ก็จะยังเข้าได้อยู่. วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐของไทยใช้กันมาก เพราะสะดวกไม่ต้องขอความร่วมมือจากใคร ทำได้เองเลย หรือว่าสามารถกดดันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ทำได้ไม่ยาก, ซึ่งก็อาจจะเกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาตประกอบธุรกิจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย.

3) ระดมโจมตีก่อกวนเว็บไซต์

3.1 ให้ทำงานช้าลงมาก ๆ จนใช้งานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า DoS (Denial of Service). หรือ

3.2 คัดกรองเนื้อหา วิธีนี้จะเนียนกว่า คือยังเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ตามปกติอยู่ แต่เนื้อหาบางส่วนในเว็บไซต์จะหายไป ซึ่งแบบนี้จะทำให้สังเกตได้ยากกว่าวิธีแรก.

ตัวอย่างเช่นในประเทศจีนที่เสิร์ชเอนจิ้นหลายเจ้า ยอมกรองเว็บไซต์บางอย่างออกจากผลลัพธ์การค้นหา. คือถ้าเรารู้ที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น ก็ยังอาจจะพิมพ์เข้าไปได้เอง แต่มันจะไม่ปรากฎอยู่ในรายการผลลัพธ์ของเสิร์ชเอนจิ้นเลยถ้าค้นหาจากประเทศจีน. ซึ่งถ้าพิจารณาว่าปริมาณการจราจรส่วนใหญ่ของเว็บนั้น วิ่งผ่านเสิร์ชเอนจิ้น, วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก อีกทั้งสังเกตได้ยากกว่าการทำให้เข้าเว็บไซต์ไม่ได้

หรือกรณีประเทศไทย ที่ขอความร่วมมือจากกูเกิ้ลให้บล็อคคลิปบางคลิปใน YouTube ไม่ให้ผู้ใช้จากประเทศไทยเห็น ก็เข้าข่ายนี้

3.3 บิดเบือนเนื้อหา ปล่อยข่าว หรือก่อกวนสร้างความปั่นป่วนในกระดานสนทนาออนไลน์ เว็บไซต์บางแห่งถูกก่อกวนด้วยโปรแกรมหรือคนที่ถูกจ้างมาโพสต์ข้อความไร้สาระซ้ำ ๆ กัน หรือโพสต์ข้อความบิดเบือนเบี่ยงประเด็นต่าง ๆ หรือล่อให้เกิดการทะเลาะกัน ที่เรียกว่า "ล่อเป้า" ทำให้คุณภาพของข้อมูลข่าวสารโดยรวมในอินเทอร์เน็ตลดลง

4 วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือการสร้างความเชื่อ หรือความกลัว เพื่อทำให้เกิด "การเซ็นเซอร์ตัวเอง". ทำหผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ไม่อยาก/ไม่กล้าโพสต์ไม่อยาก/ไม่กล้าเปิดดู ไม่อยาก/ไม่กล้าพูดถึง. ผมคิดว่าอันนี้น่ากลัวที่สุด และมีผลกว้างขวางมากกว่าแค่ในอินเทอร์เน็ต แต่รวมถึงทั้งสังคมเลย

การสร้างความกลัวนี่ รวมถึงการใส่มาตราบางมาตราลงมาใน พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นี่ด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ต. มาตรา 14, 15, 16. ซึ่งกว้างมาก แล้วแต่เจ้าหน้าที่รัฐจะตีความ

อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ในปี 2550 นอกเหนือจากลุ่มต้านรัฐประหารและรัฐบาลที่ไม่ได้มาตามิถีทางประชาธิปไตย จะสร้างข่ายใยเติบโตขึ้นในพื้นที่อินเตอร์เน็ตของไทยแล้ว กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตก็ทำงานไปพร้อมๆ กันด้วย กลุ่มเล็กๆ ที่ชื่อว่า FACT ได้ทำหน้าที่นี้อย่างแข็งขันในช่วงกว่าขวบปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่การพยายามเผยแพร่เรื่องราวการถูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ต และรวมถึงการแจกจ่ายแปรแกรม มุด' เพื่อให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูก บล็อก'

ในเรื่องร้ายมีเรื่องให้เรียนรู้ และก็คงต้องจับตากันต่อไปว่า พัฒนาการของประชากรในโลกไซเบอร์ของไทยจะถูกเร่งให้เติบโตขึ้นอีกหรือไม่.... แต่หากพื้นที่ในโลกไซเบอร์ของไทยได้เติบโตไปแบบไม่ต้องมีตัวเร่ง และแรงเสียดทานแบบเอาประเทศเป็นตัวประกัน...นั่น น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…