Skip to main content

ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด น้ำเสียง' และ ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง

การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)

ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน


ตารางการรัฐประหารที่สำเร็จในประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 - ปัจจุบัน

วัน เดือน ปี

ผู้นำการรัฐประหาร

ผู้ถูกทำรัฐประหาร

1 เมษายน 2476

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารตัวเองโดยงดใช้รัฐธรรมนูญ

20 มิถุนายน 2476

พระยาพหลพลพยุหเสนา

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

8 พฤศจิกายน 2490

จอมพลผิน ชุณหวัณ

พลเรือเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

29 พฤศจิกายน 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

รัฐประหารตัวเอง

16 กันยายน 2500

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพลป. พิบูลสงคราม

20 ตุลาคม 2501

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพลถนอม กิตติขจร

17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร

รัฐประหารตัวเอง

6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

23 กุมภาพันธ์ 2534

พลเอกสุนทร คงสมพงษ์

พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ

19 กันยายน 2549

พลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

หมายเหตุ: แก้ไข 7 มิ.ย. 51 -- 17.34น. ตามการท้วงติงของธนาพล อิ๋วสกุล

บางที การเว้นช่วงครั้งหลังสุดที่ยาวนานกระทั่งทำให้สังคมไทยตายใจว่า ทหารกลับเข้ากรมกรองไปทำหน้าที่ ทหารอาชีพ แล้วนั้น อาจจะเป็นเพียงข้อยกเว้น

อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารที่ผ่านก็ยังได้รับการยอมรับกันว่าเป็นไปโดยสงบไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และซ้ำคณะทหารที่ขึ้นมาคุ้มครองประเทศก็ยังมีสายใยและความร่วมมืออันดีกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวภาคประชานเป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งที่ต่างออกไปจากการรัฐประหารที่เคยมีมาครั้งใดๆ ในประเทศนี้

แน่นอนว่าปัจจัยส่วนหนึ่งคือ ทหารเรียนรู้มากขึ้นที่จะอยู่ร่วมกับประชาสังคมไทย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนที่เข้มแข็งและไม่เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารได้ควบคุมความรับรู้ทุกอย่างในสังคมนี้ก็คือโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่ที่อำนาจรัฐและคณะรัฐประหารใดๆ ไม่เคยเผชิญมาก่อน

การควบคุมความรับรู้หรือการแสดงออกของประชาชนภายหลังการรัฐประหารนั้น เป็นสูตรสำเร็จที่จะต้องทำทันทีเมื่อมีการยึดอำนาจ ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นตัวกำหนดความรับรู้และท่าทีของประชาชน ดังจะเห็นได้ว่า ในการรัฐประหารใดๆ ก็ตาม ผู้ทำรัฐประหารต้องเข้ายึดพื้นที่ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสมัยก่อนได้แก่ สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ ทั้งการควบคุมการแสดงออกของประชาชนก็อาจทำได้โดยการออกกประกาศและใช้กองกำลัง แต่ สำหรับโลกไซเบอร์แล้ว นั่นอีกเรื่องที่ต่างออกไป มันหมายถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ต้องไล่กวดกันเหมือนแมวไล่จับหนู

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อ 24 ก.พ. 2534 และหลังเกิดเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองได้จับพิมพ์หนังสือ ต้านรัฐประหาร' ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภาคประชาชนในการต่อสู้กับการต้านรัฐประหารโดยผู้เขียนคือนักสันติวิธีนาม จีน ชาร์ป

แน่นอนว่าหนังสือเล่มนั้นพูดถึงเรื่องการปฏิบัติในโลกจริงซึ่งอาจจะเชยไปสักหน่อยสำหรับมนุษย์ยุคไซเบอร์ แต่หากใครสนใจก็ยังหาซื้ออ่านได้ นั่นเป็นแนวทางการต้านรัฐประหารโดยประชาชนซึ่งขณะนี้ คงจะต้องเพิ่มเติมวิธีการสำหรับประชากรไซเบอร์เข้าไปด้วย

ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยทันที มีเว็บไซต์อย่างน้อย 2 แห่งกำเนิดขึ้นในโลกไซเบอร์นั่นก็คือ http://www.19sep.org/ และ http://www.dcode.net/ ทั้งสองเว็บเป็นต่อต้านการรัฐประหารแต่เห็นต่างในรายละเอียด โดยเว็บไซต์หลังนั้นเป็นกลุ่มนักเล่นเน็ต ที่ชื่นชมในนโยบายของพรรคไทยรักไทยและทักษิณ ชินวัตร แต่เว็บแรกนั้นไม่ใช่ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เว็บไซต์ได้พัฒนามาสู่การจัดตั้งมวลชนผ่านโลกไซเบอร์และได้เคลื่อนตัวจากพื้นที่ในโลกไซเบอร์สู่สนามหลวง ในชื่อของ กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ และกลุ่มประชาชนต้านรัฐประหารในที่สุด

ผลพวงอันเนื่องจากรัฐประหาร 19 กันยายน ต่อความตื่นตัวของประชาชนที่เข้าถึงเว็บไซต์ ยังได้ก่อให้เกิดเว็บไซต์และบล็อกเกอร์อีกจำนวนมากในการติดต่อสื่อสารกัน ทั้งในฐานะผู้รับและส่งสาร กระทั่งทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ใหม่ในการแย่งชิงความรับรู้ แต่ก็ยังคงเป็นสิ่งยากสำหรับภาครัฐ แม้จะมีกฎหมายอา๙ญากรรมว่าด้วยการกระทำความผิดด้วยคอมพิวเตอร์ออกมาก็ตาม เพราะ....ย้ำ...นี่คือเรื่องของเทคโนโลยีที่รัฐต้องคอยวิ่งไล่จับให้ทัน

ผมคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันจะทำให้ความคิดของคนมันวิ่งไปมาหากันได้เร็วขึ้น ทำให้เกิดการสทนาแลกเปลี่ยนได้อย่างกว้างขว้างขึ้น มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น และเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมก็เป็นได้. ซึ่งรัฐอาจจะกลัวตรงนี้ ก็เลยต้องการเข้ามาควบคุมจัดระเบียบ. พวกเราพลเมืองและพลเมืองอินเทอร์เน็ตทุกคน ก็ต้องพยายามรักษาพื้นที่ของเราตรงนี้ไว้ให้ปลอดจากการแทรกแซงโดยอำนาจรัฐและอำนาจอื่น ๆ. ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ พื้นที่สื่อพวกนั้นเราพลเมืองธรรมดาเข้าถึงได้ยากมาก. พวกเราพลเมืองจึงต้องรักษาพื้นที่ที่เรามีอยู่ไม่มากนักในอินเทอร์เน็ตเอาไว้. ไม่ใช่เพื่อตัวอินเทอร์เน็ตหรือตัวผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเอง แต่เพื่อสังคมทั้งหมด' อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์จากสถาบันเทคโนโลยี SIIT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขียนไว้ให้สัมภาษณ์วาวสร ปฏิรูปสื่อ' เมื่อปลายปีที่แล้ว

เขาตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่รัฐพยายามทำกับพื้นที่อินเตอร์เน็ตปัจจุบันนี้คือ

1) สั่งปิดเว็บไซต์ โดยติดต่อไปที่เว็บโฮสติ้ง (ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตสำหรับสร้างเว็บไซต์) ขอหรือสั่งให้ปิดเว็บไซต์นั้นลง หรือหาทางเจาะระบบเข้าไปทำลายเว็บไซต์ลง ผลก็คือเว็บไซต์นั้นก็จะหายไปจากอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ไม่ว่าจากประเทศไหนก็จะเข้าไม่ได้อีกแล้ว.

2) ปิดกั้นเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่าการบล็อค (block) ซึ่งก็ทำกันได้หลายระดับ ทั้งที่ระดับเกตเวย์ (gateway - เป็นประตูเชื่อมเครือข่ายภายในประเทศออกสู่อินเทอร์เน็ต) ที่ระดับไอเอสพี หรือที่ระดับองค์กรอย่างสถานศึกษาหรือบริษัทบางแห่งก็พบว่ามี. ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการหรือองค์กรนั้น ๆ ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบล็อคได้. หรือถ้าเป็นการบล็อคที่เกตเวย์ระดับประเทศ ก็จะมีผลทำให้ผู้ใช้ในประเทศทั้งประเทศไม่สามารถเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นได้ - อย่างไรก็ตามผู้ใช้อื่น ๆ ก็จะยังเข้าได้อยู่. วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐของไทยใช้กันมาก เพราะสะดวกไม่ต้องขอความร่วมมือจากใคร ทำได้เองเลย หรือว่าสามารถกดดันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ทำได้ไม่ยาก, ซึ่งก็อาจจะเกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาตประกอบธุรกิจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย.

3) ระดมโจมตีก่อกวนเว็บไซต์

3.1 ให้ทำงานช้าลงมาก ๆ จนใช้งานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า DoS (Denial of Service). หรือ

3.2 คัดกรองเนื้อหา วิธีนี้จะเนียนกว่า คือยังเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ตามปกติอยู่ แต่เนื้อหาบางส่วนในเว็บไซต์จะหายไป ซึ่งแบบนี้จะทำให้สังเกตได้ยากกว่าวิธีแรก.

ตัวอย่างเช่นในประเทศจีนที่เสิร์ชเอนจิ้นหลายเจ้า ยอมกรองเว็บไซต์บางอย่างออกจากผลลัพธ์การค้นหา. คือถ้าเรารู้ที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น ก็ยังอาจจะพิมพ์เข้าไปได้เอง แต่มันจะไม่ปรากฎอยู่ในรายการผลลัพธ์ของเสิร์ชเอนจิ้นเลยถ้าค้นหาจากประเทศจีน. ซึ่งถ้าพิจารณาว่าปริมาณการจราจรส่วนใหญ่ของเว็บนั้น วิ่งผ่านเสิร์ชเอนจิ้น, วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก อีกทั้งสังเกตได้ยากกว่าการทำให้เข้าเว็บไซต์ไม่ได้

หรือกรณีประเทศไทย ที่ขอความร่วมมือจากกูเกิ้ลให้บล็อคคลิปบางคลิปใน YouTube ไม่ให้ผู้ใช้จากประเทศไทยเห็น ก็เข้าข่ายนี้

3.3 บิดเบือนเนื้อหา ปล่อยข่าว หรือก่อกวนสร้างความปั่นป่วนในกระดานสนทนาออนไลน์ เว็บไซต์บางแห่งถูกก่อกวนด้วยโปรแกรมหรือคนที่ถูกจ้างมาโพสต์ข้อความไร้สาระซ้ำ ๆ กัน หรือโพสต์ข้อความบิดเบือนเบี่ยงประเด็นต่าง ๆ หรือล่อให้เกิดการทะเลาะกัน ที่เรียกว่า "ล่อเป้า" ทำให้คุณภาพของข้อมูลข่าวสารโดยรวมในอินเทอร์เน็ตลดลง

4 วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือการสร้างความเชื่อ หรือความกลัว เพื่อทำให้เกิด "การเซ็นเซอร์ตัวเอง". ทำหผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ไม่อยาก/ไม่กล้าโพสต์ไม่อยาก/ไม่กล้าเปิดดู ไม่อยาก/ไม่กล้าพูดถึง. ผมคิดว่าอันนี้น่ากลัวที่สุด และมีผลกว้างขวางมากกว่าแค่ในอินเทอร์เน็ต แต่รวมถึงทั้งสังคมเลย

การสร้างความกลัวนี่ รวมถึงการใส่มาตราบางมาตราลงมาใน พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นี่ด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ต. มาตรา 14, 15, 16. ซึ่งกว้างมาก แล้วแต่เจ้าหน้าที่รัฐจะตีความ

อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ในปี 2550 นอกเหนือจากลุ่มต้านรัฐประหารและรัฐบาลที่ไม่ได้มาตามิถีทางประชาธิปไตย จะสร้างข่ายใยเติบโตขึ้นในพื้นที่อินเตอร์เน็ตของไทยแล้ว กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตก็ทำงานไปพร้อมๆ กันด้วย กลุ่มเล็กๆ ที่ชื่อว่า FACT ได้ทำหน้าที่นี้อย่างแข็งขันในช่วงกว่าขวบปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่การพยายามเผยแพร่เรื่องราวการถูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ต และรวมถึงการแจกจ่ายแปรแกรม มุด' เพื่อให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูก บล็อก'

ในเรื่องร้ายมีเรื่องให้เรียนรู้ และก็คงต้องจับตากันต่อไปว่า พัฒนาการของประชากรในโลกไซเบอร์ของไทยจะถูกเร่งให้เติบโตขึ้นอีกหรือไม่.... แต่หากพื้นที่ในโลกไซเบอร์ของไทยได้เติบโตไปแบบไม่ต้องมีตัวเร่ง และแรงเสียดทานแบบเอาประเทศเป็นตัวประกัน...นั่น น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะหนีไปพ้น คนยากคนจนทั่วโลก ในหลายประเทศวิกฤตการณ์นี้นำไปสู่การจลาจล เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่นในเฮติ อียิปต์และโซมาเลีย วิกฤติอาหารยังลามถึงภูมิภาคอเมริกากลาง จนประธานาธิบดีนิคารากัวเรียกประชุมฉุกเฉิน ยอมรับภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤติ จนเกรงว่าจะบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายในสังคมขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ออกมาให้ข้อมูลชวนหวั่นไหว ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า วิกฤตอาหารแพงนี้จะเพิ่มระดับความยากจนทั่วโลกอาจพุ่งสูงขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยราคาอาหารและน้ำมันแพงในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทำให้ประชาชนประมาณ 100…
หัวไม้ story
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ช่วงนี้ตรงกับเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างมากครั้งหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ประชาไทจึงเลือกพาด ‘หัวไม้' เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สำคัญตอนนี้หากกล่าวอย่างรวบรัดที่สุด คือ ใน ‘เดือนพฤษภา พ.ศ. 2535' เกิดการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือการต่อต้าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนึ่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ผู้ใช้วาทะ ‘เสียสัตย์เพื่อชาติ' มานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลงไปให้ถึงรายละเอียด เหตุการณ์พฤษภาคม 2535…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burmaคณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)ก่อนนาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น…
หัวไม้ story
พิณผกา งามสมปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองบนเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในไทยอยู่ขณะนี้ เป็นพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสื่อกระแสหลักก็เปลี่ยนหรือขยายเป้าหมายจากการช่วงชิงพื้นที่ในตลาดสิ่งพิมพ์มาสู่ตลาดแห่งใหม่ในโลกไซเบอร์ นักวิชาการด้านสื่อสารสนเทศ สังคมวิทยา และรวมถึงนักรัฐศาสตร์ในโลกก็เริ่มขยายการศึกษาวิจัยมาสู่พื้นที่ใหม่ที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน โลกวิชาการระดับนานาชาติผลิตงานศึกษาวิจัยถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีข้อเสนอว่า อินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดในโลกจริง เป็นต้นว่า…
หัวไม้ story
กลายเป็นภาพที่คุ้นตา เรื่องที่คุ้นหูไปแล้ว สำหรับการออกมาเดินขบวนยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในวันกรรมกรสากล (หรือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันเมย์เดย์) จนบางคนอาจชาชินกับสิ่งที่เกิดขึ้น "ก็เห็นเดินกันทุกปี" "เรียกร้องกันทุกปี" อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่มีข้อเรียกร้องอยู่ทุกปีนั้น สะท้อนถึงการคงอยู่ของ ‘ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข' ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มไหน เมื่อลองกลับไปดูข้อเสนอของปีที่แล้ว เทียบกับปีก่อน และปีก่อนๆ ก็จะเห็นว่า ไม่สู้จะต่างกันสักเท่าใด ดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงานการจะทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นนั้น นอกจากตัวงานและผู้ร่วมงานแล้ว…
หัวไม้ story
  ช่วงเวลาแห่งสงกรานต์ผ่านพ้นไปแล้ว การกระหน่ำสาดน้ำในนามของวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามยุติลง (ชั่วคราว) หลายคนที่เคยดวลปืน (ฉีดน้ำ) หรือแม้แต่จ้วงขันลงตุ่มแล้วสาดราดรดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ล้วนวางอาวุธและกลับเข้าสู่สภาวะปกติของชีวิตแน่นอนว่า สงคราม (สาด) น้ำที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ละปี เป็นห้วงยามแห่งความสนุกสนานและการรวมญาติในแบบฉบับไทยๆ แต่ในขณะที่คนมากมายกำลังใช้น้ำเฉลิมฉลองงานสงกรานต์จนถึงวันสิ้นสุด แต่สงคราม (แย่งชิง) น้ำที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง สงครามน้ำส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของโลก และมักจะมีสาเหตุจากข้อจำกัดทางภูมิประเทศ…
หัวไม้ story
จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง ยุคที่น้ำมันแพง ราคาเบนซินกระฉูดไปแตะที่ลิตรละ 35 บาท ส่วนดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 31 บาทกว่า การเดินทางในช่วงวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ รถโดยสารสาธารณะที่มีเส้นทางขนส่งประจำทางข้ามจังหวัดดูจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการเดินทางไม่มากนัก ด้วยเหตุผลเรื่องราคาที่พอจ่ายได้ ความสะดวกสบายและความปลอดภัยจากผู้ให้บริการที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งมีเส้นทางเดินรถจากสถานีต่างๆ ในกรุงเทพฯ กระจายไปทั่วประเทศ  การเดินทาง 1. "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)" หรือ "หมอชิต" สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปภาคเหนือ…
หัวไม้ story
 พิณผกา งามสม/พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อกระแสแก้รัฐธรรมนูญเริ่มต้นด้วยการถูกโจมตีว่าจะเป็นการเบิกทางให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีที่อยู่ที่ยืนในเวทีการเมืองไทยอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังเป็นการปูทางไปสู่การฟอกตัวของอดีตนายกผู้ซึ่งตามทัศนะของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองว่าเป็นเหตุแห่งความวิบัติทั้งสิ้นทั้งมวลของประเทศชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็กลายมาสู่เรื่องการเอาทักษิณ หรือไม่เอาทักษิณ แบบกลยุทธ์ขายเบียร์พ่วงเหล้า คือถ้าไม่เอาทักษิณก็ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ ถ้าใครจะแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นพวกทักษิณ ว่ากันตามจริงแล้ว…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)มุทิตา เชื้อชั่ง, คิม ไชยสุขประเสริฐ, ชลธิชา ดีแจ่ม นานๆ ทีจะเห็นคนระดับนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม และระดับคุณสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  หากย้อนดูปรากฏการณ์การเคลื่อนขบวนของประชาชนออกมาแสดงพลังขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลไทยรักไทย ที่ผ่านมานับแต่การเริ่มต้นเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งแรก…
หัวไม้ story
หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์) 
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  เพียงไม่นานหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช พูดออกอากาศในรายการ ‘สนทนาประสาสมัคร' ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ว่า อยากให้มี ‘บ่อนการพนันถูกกฎหมาย' เกิดขึ้นในประเทศ…