Skip to main content

ไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกมานาน จนลืมไปแล้วว่าเคยมีบล็อกเป็นของตัวเอง แต่เมื่อต้องหาที่เขียนอะไรสักอย่างก็กลับทำมาให้คิดได้ว่าน่าจะมาเขียนที่ตรงนี้ เพราะหลายๆ ครั้งอยากเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นวิชาการและไม่ยาวเกินไป เลยวนกลับมาหาบล็อกนี้ใหม่ดีกว่า

เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่ออาทิตย์กว่าๆ ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปประชุมกับหน่วยงานหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับอินโด-แปซิฟิกและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และมีประเด็นเรื่อง "Soft Power" ของไทยที่เป็นคำถามจากคนในงาน คำถามก็คือเราจะใช้ Soft Power ของไทยอย่างไรในยุคอินโด-แปซิฟิกแบบนี้

จริงๆ แล้วเรื่อง Soft Power ก็มีการพูดถึงเอาไว้เยอะมาก ทั้งพวกที่พยายามโต้เถียงว่ากรอบคิด (concept) เรื่อง soft power ของไทยไม่ตรงกับที่ Joseph Nye ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ (มีนักวิชาการและผู้ที่อยู่ในสายปฏิบัติเถียงกันมากมายว่า ความหมายของ Nye ก็เป็นแบบหนึ่ง ส่วนของไทยก็เป็นอีกแบบ เห็นเขาเถียงกันเรื่องแบบนี้)

และก็มีคนเถียงกันว่าเราจะใช้สิ่งที่ไทยมีให้เป็นอำนาจของไทยอย่างไร 

เพราะรัฐบาลมุ่งเน้นไปเรื่องของอาหาร วัฒนธรรม เทศกาล หนัง หนังสือ และอื่นๆ

พอมีผู้ถามเรื่องแบบนี้ในการประชุม ผมก็คิดว่าเรื่องหนึ่งในฐานะคนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย และมองว่าเป็นทรัพยากรที่อาจจะถูกนำมาแปลงเป็นอำนาจใหักับไทยผ่านการทำงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ไทยมีอำนาจขึ้นมานั้น คือการศึกษา หรือการเป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เมื่อเปรียบเทียบแล้ว จุดแข็งที่สำคัญของไทยคือการที่ไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เรามีโรงเรียน มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยที่ศึกษาเรื่องต่างๆ แบบเฉพาะมากๆ ทั้งเรื่องประชากรศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา สิ่งแวดล้อม สถาบันด้านการขนส่ง เรายังมี ASEAN-Japan Cybersecurity Capacity Building Centre (AJCCBC) ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ 

เรามีองค์การระหว่างประเทศ สถาบันวิจัย ที่มีศักยภาพสูง

การเดินทางมาอบรมที่ประเทศไทยจึงเป็นเรื่องที่สะดวกพอสมควร ทั้งในแง่การเดินทางไม่ไกลจากประเทศต่างๆ การเดินทางจากสนามบินมายังตัวเมือง ที่พัก ความปลอดภัย ค่าครองชีพ เมื่อพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้แล้ว หากไทยใช้โอกาสในการเอาจุดแข็งด้านการศึกษาเหล่านี้มาผลักให้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง ก็จะทำให้ไทยกลายเป็นผู้นำด้านการฝึกอบรมความท้าทายใหม่ๆ ของภูมิภาคได้

แน่นอนว่าคงมีคนบอกว่าปัญหาเชิงโครงสร้างคือเรื่องภาษา ที่ไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการหลัก ทำให้บางครั้งอาจจะเจอปัญหาเรื่องการฝึกอบรมในการหาวิทยากรบ้าง 

แต่ผมคิดว่าไม่น่าใช่ปัญหา เพราะเรื่องพวกนี้แก้ไขได้หลายวิธีมาก เพราะทุกหน่วยงานน่าจะมีคนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อยู่แล้ว และหรือเราก็มีเครื่องมือเรื่องการล่ามการแปลที่มีหลักสูตรการสอนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน

หากคิดเรื่องทรัพยากรของอำนาจที่จะทำให้ไทยโดดเด่นมากขึ้น ผมว่าเรื่องการพยายามผลักดันให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ของอนุภูมิภาคก็คงจะเป็นโอกาสดีทีไม่น้อย

แต่แค่รัฐบาลต้องประสานงานเอาหน่วยงานต่างๆ มาคุยกัน วางแผนหาจุดเด่น การวางแผนหากระบวนการตั้งแต่การทำ PR การคิดหลักสูตร การบริหารโครงการ การประเมินติดตามผล เพื่อให้ครบวงจร การประสานงานและคิดถึงกระบวนการนี้แหละคือ Soft Power ในการบริหารให้ไทยบรรลุเป้าหมายได้

แต่ก็แหละ นี่ก็เป็นการขยายความคำตอบของตัวเองที่พูดไปในงานสัมมนาที่กล่าวถึงในตอนต้น โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าไทยมีศักยภาพในเรื่องนี้พวกนี้มา แต่แค่คนอื่นจะมองว่านี่เป็นทรัพยากรของอำนาจเราหรือเปล่า และมันช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายการมีบทบาทที่โดดเด่นในอนุภูมิภาคได้หรือเปล่าเท่านั้นแหละ

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
อัตลักษณ์ทางการแข่งขันของประเทศเอสโตเนีย ระหว่าง ค.ศ.1991-2011 โดย สมพงค์ พรมสะอาด
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์ฯ ม.เชียงใหม่
นรุตม์ เจริญศรี
เวลาอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ บ่อยครั้ง หน้าด้านซ้ายถัดจาก
นรุตม์ เจริญศรี
ผมเริ่มต้นเขียน blog นี้ด้วยความสนใจต่อประเด็นองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิภาคนิยม และภูมิภาคศึกษา จึงอยากเริ่มเขียนและสนทนากับผู้สนใจในประเด็นที่คล้ายๆกัน ผมใช้เวลาคิดอยู่หลายวันว่าจะเริ่มต้นเขียนหัวข้ออะไรเป็นหัวข้อเปิด ซึ่งจะได้เชื่อมโยงต่อไปยัง