Skip to main content
 

"แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง"

 

ทิพรดา ตากดำรงศ์กุล

ท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

 

1. ชีวิตของกรรมาชีพ

การพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี

2. การต่อสู้ทางชนชั้น

การต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

 

3. ใครหาเลี้ยงใคร?

แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

 

4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

แท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม

 

 

หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
แถลงการณ์ กลุ่มประกายไฟ 
ประกายไฟ
...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา
ประกายไฟ
“..รู้สึกว่าธรายอาร์มไม่ใช่แค่กางเกงใน แต่มันแสดงถึงสัญญะบางอย่างของการต่อสู้ ซึ่งเห็นไหมคะ แค่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นกางเกงในของธรายอาร์ม คนที่สงสัยเขาก็ต้องหาเรื่องราวของมันบ้างล่ะค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้สื่อเรื่องความไม่เป็นธรรมนอกจากแคมเปญหลักของงานนี้..” - ลูกปัด 1 สวาผู้ร่วมรณรงค์ 
ประกายไฟ
 “...พวกนายทุนจึงต้องหาทางให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาเบาบางลง ไม่อย่างนั้นการผลิตในระบบทุนนิยมอาจต้องล่มสลาย จึงต้องสร้างกติกากลางขึ้นมาเพื่อให้การขูดรีดยังดำรงตนต่อไปได้...”
ประกายไฟ
...ผมไม่คิดว่าการมีวันพ่อวันแม่มันจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับคนที่ "มีพ่อมีแม่" (หรือแม้แต่ตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่) แต่ขณะเดียวกันมันกลับเป็นวันที่ "ซ้ำเติม" คนที่ "ขาดพ่อขาดแม่" ซึ่งโดยปกติก็อาจจะมีชีวิตที่รันทดเจ็บปวดกับเรื่องนี้อยู่แล้ว..
ประกายไฟ
...แต่เชื่อไหม (เหมือนถาพในหนัง) ใบหน้าคนเหล่านั้นลอยออกมาปะทะสายตาเรา เรามองไม่เห็นความกลัวในใบหน้าของคนเหล่านั้น บางคนด่าไปอมยิ่มไป บางคนด่าไปก็แสดงอาการท้าทายไป มันต่างกันมาก ต่างกันจริงๆ เราเคยเห็นคนในม็อบเสื้อแดงช่วงที่มีการสลาย ทั้งวันที่ 10 เมษา และ 19 พฤษภา เราเห็นแววตาคนที่กลัวตาย เห็นแววตาคนที่มีห่วงเห็นแววตาคนที่พร้อมจะยอมตาย แต่คนเหล่านั้นไม่กร่างเท่านี้นะ
ประกายไฟ
...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..