Skip to main content
 

"แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง"

 

ทิพรดา ตากดำรงศ์กุล

ท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

 

1. ชีวิตของกรรมาชีพ

การพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี

2. การต่อสู้ทางชนชั้น

การต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

 

3. ใครหาเลี้ยงใคร?

แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

 

4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

แท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม

 

 

หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
กับประเด็นศาลรัฐธรรมนูญฟ้องแกนนำเสื้อแดง การถอนประกันตัวจตุพร การช่วยเหลือเพื่อนนักโทษการเมือง การใส่เสื้อแดงของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประกายไฟ
"..เบนพูดเรื่องโอกาส โลกทุกวันนี้หลอกลวงคนจนด้วยคำว่าโอกาส แต่เบนชี้ให้เห็นทางที่เร็วกว่า คือ คว่ำมันซะ ไอ้ระบบโครงสร้างที่ครอบเราอยู่ ปลดมันซะ อย่าพยายามปรับปรุงมันเหมือนที่แบทแมนทำเลย.."
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK(25 -07-2012) แขกรับเชิญ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ เจ้าหน้าที่โครงการณรงค์เพื่อแรงงาน ประเด็น - ปัญหาสิทธิแรงงาน ใน TPBS สหภาพแรงงานกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย เป็นต้น
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK(18 -07-2012) แขกรับเชิญ คุณ คุณจิตรา คชเดช เจ้าของรางวัลนักสิทธิมนุษยชนที่น่ายกย่อง ในงาน ประกาศรางวัล “สมชาย นีละไพจิตร 2555” ประเด็น - สถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย และกรณีการหายตัวไป 8 ปีของนักป้องสิทธิอย่างคุณสมชาย นีละไพจิตร -  สิทธิแรงงานกับกา
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น ความคืบหน้าคดีการสังหารหมู่ 2553 ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ และ ศาลรัฐธรรมนูญ ( 11 -07-2012) แขกรับเชิญ คุณ คารม พลพรกลาง ทนายความ นปช.
ประกายไฟ
..การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น..อานนท์ ชวาลาวัณย์
ประกายไฟ
อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น คณะราษฎรที่2 และ คณะบวรเดชที่3 และ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ( 27 -06-2012) แขกรับเชิญ ดิน บัวแดง จากประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน นักกิจกรรม คณะราษฎรที่2 ภรณ์ทิพ นักกิจกรรม คณะบวรเดชที่3 
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "80 ปี ปฎิวัติประชาธิปไตย 2475 และ ก้าวต่อไป ประเทศไทย " (20-06-2012) แ
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "ปธ.รัฐสภาไม่ลงมติแก้รธน.วาระ3" (13-06-2012) แขกรับเชิญ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk (6 มิ.ย. 55 ) แขกรับเชิญ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พูดคุยในประเด็น "รัฐประหารโดยตุลาการ"  
ประกายไฟ
 รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ พรบ.ปรองดอง ในมุมมองนักศึกษา 30-05-2012 แขกรับเชิญ พรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ประเด็น พรบ.ปรองดอง ในมุมมองนักศึกษา