Skip to main content

ที่มาภาพ Quote of the Day ประชาไท

Kasian Tejapira (13/11/55)

ในชีวิตผม ได้ยินได้ฟังและได้อ่านข้อความที่มุ่งปลุกเร้าให้ทำร้ายฆ่าฟัน "ศัตรู" หรือ "ฝ่ายตรงข้าม" มามากมายหลายครั้ง และไม่ใช่จากฝ่ายเดียว ถ้อยคำที่ใช้มักรุนแรงก้าวร้าวหรือหยาบคาย แต่ไม่จำต้องเป็นแบบนั้นก็ได้ บางทีถ้อยคำที่ปลุกให้คนลุกไปฆ่าฟันกันมากที่สุด สุภาพไพเราะสัมผัสคล้องจองกันมาก เป็นกลอนก็ได้ เป็นเพลงก็มี ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กที่ปลุกปั่นให้ฆ่าคอมมิวนิสต์ ผมได้ยินสมัยหนุ่มที่ปลุกปั่นให้ฆ่าฟันผมกับเพื่อน ผมได้ยินตอนอยู่ในป่าที่ปลุกปั่นให้ไปฆ่า "ศัตรู" และได้ยินอีกหลายครั้งไม่ว่า พฤษภา ๓๕, ๔๙, ๕๑, ๕๒, ๕๓ และล่าสุดเมื่อมีการเคลื่อนไหวให้แก่ไข ม.๑๑๒ และลงเอยโดยมีคนเกลียดชังเคียดแค้นอาฆาตมาดร้ายดูหมิ่นหมิ่นประมาทอาจารย์กลุ่มหนึ่งที่ชื่อนิติราษฎร์มาก และมีอาจารย์ท่านหนึ่งถูกทำร้ายร่างกาย

ผมไม่คิดว่าวาทะเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องอันใดกับความรุนแรงที่เกิดตามมาเลย ผมต้องการเสรีภาพในการแสดงออก แต่ผมก็ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในร่างกายชีวิตทรัพย์สินของผู้คน รวมทั้งการเคารพเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของคนอื่นและตัวผมด้วย

เราควรมีทั้ง ๒ - ๓ อย่างน้้นใช่ไหม? ถ้าใช่ ก็ควรคิดกันว่าจะทำอย่างไร? การจะมีหรือไม่มีแนวคิด/ประเภท (concept/category) ที่มาจัดการกับมันเป็นวิธีการหนึ่ง แต่การเป่าพ้วงให้แนวคิด/ประเภทหนึ่งมลายหายไปจากโลก ไม่ได้ช่วยลดทอนบรรเทาอาการป่วยของการไม่ฟัง การใช้ความเกลียดชังปลุกปั่นให้ก่อความรุนแรง ไม่ว่าได้ทำจริง หรือแค่ทำให้คนกลัวก็ตาม

บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ