Skip to main content

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง

 

Kasian Tejapira(4 ธ.ค.55)

 

(คำแถลงของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ภาษาอังกฤษ อ้างจากเว็บมติชนออนไลน์ )

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) 

ดูจากคำอธิบายของสายการบิน (ข้อความภาษาอังกฤษ สื่อเนื้อหาชัดมาก เมื่อเทียบกับคำแปลไทยของทางสายการบินเอง) ไม่ได้เอ่ยเลยว่าที่ดำเนินการกับพนักงานท่านนั้นเป็นเพราะทรรศนะทางการเมืองใด ๆ ของเธอ หรือการระบายความรู้สึกเชิงลบต่อผู้โดยสารแต่ไม่ได้กระทำจริงตามนั้นของเธอ

หากอธิบายว่าสาเหตุเกิดจากการที่เธอเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารท่านหนึ่งบนโซเชียลมีเดียโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเน้นความสำคัญของระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินเอง

นั่นแปลว่าด้วยหลักการและนโยบายเดียวกันนี้ หากมีพนักงานของสายการบินคนใดเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารที่เป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ที่มีทรรศนะทางการเมืองตรงข้ามกับคุณทักษิณ (เช่น สมาชิกครอบครัวของเสธ.อ้ายหรือคุณอภิสิทธิ์ เป็นต้น) ก็จะถูกดำเนินการเช่นกัน

นั่นแปลว่าสายการบินกำหนดให้พนักงานต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้โดยสารทุกสีทุกฝ่าย/คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารทุกคนในทางนโยบาย ถ้าคุณขึ้นสายการบินนี้ ข้อมูลส่วนตัวของคุณจะได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการและมาตรฐานแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร สีใด

ข้อความเฟสบุ๊คของคุณ Honey พนักงานสายการบิน แสดงความยอมรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์การรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ ) ระบุว่า 

 

   “วันนี้ผึ้งได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคแล้วค่ะ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพพจน์ของบริษัท
    ผึ้งขอขอบคุณและเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนๆทุกคนที่ให้กำลังใจ แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่มีไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กร เราในฐานะสมาชิกขององค์กรก็ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เหมือนกับ กฏหมายที่มีไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ทุกคนก็ควรที่จะเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน
    ผึ้งจึงอยากขอให้ทุกคนสนับสนุนการตัดสินใจ ของผึ้งด้วยนะคะ และโปรดอย่าตั้งข้อรังเกียจสายการบินคาเธ่แปซิฟิคในการรักษามาตรฐานของบริษัทเลยค่ะ
    ผึ้งมั่นใจว่าสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคที่ผึ้งทำงานมานานถึง 24 ปี เป็นสายการบินที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและการบริการในระดับโลก พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและมีความเป็นมืออาชีพสูง เมื่อผึ้งทำผิดกฎข้อบังคับของบริษัท ผึ้งก็ต้องรับผิดชอบ เหมือนกับทุกคน ถ้าทำผิดกฎหมายก็ต้องยอมรับโทษ
    ถ้าเราทุกคน ยอมรับและปฏิบัติตามกฏหมายและกฏระเบียบของสังคม ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
    ผึ้งอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีกฏระเบียบและเคารพกฏหมาย ประเทศชาติของเราจะได้พัฒนาและมีความสงบสุข
    เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพรักอย่างสูงของพวกเราชาวไทย ในวันที่ 5 ธันวาคม นี้ เราทุกคนมาร่วมกันตั้งต้นทำความดีถวายพระองค์ท่าน ด้วยการประพฤติตนเป็นผู้ที่เคารพกฏระเบียบและกฏหมายของบ้านเมืองกันดีมั้ยคะ เพื่อพระองค์ท่านจะได้สบายพระทัยที่พสกนิกรของพระองค์เป็นผู้ที่เคารพหลักนิติรัฐนิติธรรมและทำร่วมมือกันให้บ้านเมืองของเราสงบสุข ขอบคุณค่ะ”
ข้อคิดกรณีแอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร: ตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
 
ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำที่เป็นปัญหาในกรณี "แอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร" ก็คือเป้าหมาย "ชอบธรรม" ซะอย่าง ก็จะไม่เลือกวิธีการ แม้มันจะละเมิดกฎเกณฑ์หลักการอื่นใดก็ตามรวมทั้งความเป็นส่วนตัว ไม่คิดบ้างว่าถ้าคุณทำกับคนอื่น/ข้างอื่น คนอื่น/ข้างอื่นก็ทำกับฝ่ายคุณได้เช่นกัน (ครอบครัวของผู้นำฝ่ายค้าน, ครอบครัวแกนนำพันธมิตรฯก็อาจเจอได้เช่นกัน ถ้าไม่วางหลักห้ามปรามร่วมกันไว้บนฐานฉันทมติที่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งข้าง)
 
เอาเข้าจริงนี่เป็นวิธีคิดก่อนสมัยใหม่มาก คือมองโลกชีวิตทั้งหมดแบบองค์รวมที่กำกับอยู่ใต้ตรรกะเดียว หลักการเดียว ระเบียบเดียว สมัยก่อนคือศาสนา แต่วิธีคิดเหล่านี้มาผลัดเปลี่ยนในโลกสมัยใหม่ ที่มีปริมณฑลต่าง ๆ หลากหลาย เช่น เศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ โดยแต่ละปริมณฑลก็มีจรรยาบรรณ, หลักการมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะ คอยกำกับควบคุมหลากหลายกันออกไป คนสมัยใหม่จึงต้องแยก personal/ impersonal ในเวลาคุณอยู่ในปริมณฑลเฉพาะทางวิชาชีพ คุณก็ถูกกำหนดกำกับโดยกฎเกณฑ์ตรรกะอีกชุดที่ออกแบบมาเพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีระเบียบราบรื่นของปริมณฑลนั้น และคุณถูกคาดหมายให้วาง "ความเป็นส่วนตัว" (อุดมการณ์, ศาสนา, เพศ, เชื้อชาติ ฯลฯ) เอาไว้ข้างนอก และทำตัวเสมือนฟันเฟืองหรือกลไกหรือหุ่นพยนต์ขององค์การหน่วยงานหรือสถาบันที่มีภาระหน้าที่เฉพาะนั้น ๆ ไม่เอาอคติส่วนตัวมาข้องแวะยุ่งเกี่ยว
 
ชีวิตในโลกสมัยใหม่ดำเนินงานราบรื่นได้ตราบที่ผู้คนแยกชีวิต personal/ impersonal เหล่านี้ออกจากกัน ทำตัวตามตรรกะกฎเกณฑ์ต่างปริมณฑล ทว่าการสูญเสียองค์รวมและความหมายโดยรวมของชีวิตโลกสังคมก็ทำให้ "ขาด" บางอย่างไป จะเรียกว่า authenticity ก็ได้ 
 
อุดมการณ์การเมืองแบบสุดโต่งสนองตอบอันนี้ให้ คือมันทำหน้าที่เสมือนหนึ่งศาสนาแต่ก่อน เข้าครอบงำครอบครองเหนือชีวิตโลกสังคมทั้งหมดให้อยู่ใต้ตรรกะกฎเกณฑ์เดียวกัน ดังนั้นถ้าต่างอุดมการณ์ เป็นหมอก็จะไม่รักษาคนไข้ต่างอุดมการณ์, เป็นแอร์โฮสเตสอาจไม่ต้อนรับผู้โดยสารต่างอุดมการณ์ ฯลฯ และรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำตัวจริงแท้ตามความเชื่ออุดมการณ์สุดโต่งของตนโดยไม่เสแสร้งแสดงบท โดยไม่พักต้องเคารพกฎเกณฑ์ตรรกะเฉพาะปริมณฑลต่าง ๆ ที่ชีวิตตนเข้าไป

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ