Skip to main content

ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ภาพประกอบจาก MaysaaNitto Org-home พร้อมข้อความที่ระบุว่า "สำหรับคนไม่มีรถและไปไหนมาด้วยขนส่งมวลชนราคาถูกอย่างรถเมล์หรือรถตู้ ผมเชื่อว่ากาีรมีรถคันแรกคือความใฝ่ฝันของพวกเขาครับ ผทเขื้อส้่คนที่ซื้่อรถคันแรกก็คืออดีตคนขึ้นรถเมล์หรือรถตู้แบบนี้ทั้งนั้น เขามีสิทธิใช้ถนนได้เท่ากับคนที่มีรถตอนนี้ เขาต้องการความสะดวกสบายและความเร็วในการเดินทางไปไหนมาไหนไม่ต่างจากท่านที่มีรถอยู่ในปัจจุบัน "                  Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

 
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
 
3 ประเด็นปัญหานี้มีส่วนจริงและเหตุผลรองรับด้วยน้ำหนักและลำดับความสำคัญแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในระดับปัญหานโยบายของรัฐชาติ และในระดับปัญหาแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกมีข้อจำกัด แต่ไม่มีประเด็นไหนที่ปัดทิ้งไปได้เลย หรือในทางกลับกันจริงและฟังขึ้นอยู่ประเด็นเดียว
 
ในที่สุดผู้มาก่อนจะถูกเรียกร้องให้ลดระดับการบริโภคพลังงานและปรับมาตรฐานการครองชีพลง ไม่มีทางเลี่ยง ถ้าจะให้ทั้งโลกรอดและเป็นธรรม
 
การกระตุ้นเศรษฐกิจคงชอบธรรมที่จะทำต่อ ซึ่งก็คงรวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์/คมนาคมด้วย แต่ในทิศทางที่คงต้องคิดกันว่าจะให้สอดรับกับขีดจำกัดและการเวียนใช้พลังงาน สอดรับหนุนเสริมกับแหล่งพลังธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการคมนาคมแบบใดที่เหมาะกับเขตเมืองภายใต้เงื่อนไขจำกัดดังกล่าว (จริง ๆไม่ใช่แค่เรื่องรถยนต์ แต่ตึกระฟ้า อาหารที่สัดส่วนเนื้อสูง เกษตรเคมีเข้มข้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่จะเจอขีดจำกัดด้วย)
 
สุดท้ายคือมันมีขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในทางค้นพบตระหนักรู้และยอมรับ น่าจะเห็นตรงกันได้มากขึ้นทั่วไป แต่จะผสานความรู้นั้น กับการวางแนวเพดานของการพัฒนาต่อไปอย่างไร อันนี้เป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องเจอแน่ ๆ ที่ว่าโลกแตก เพราะโลกแห่งรัฐชาติและโลกประชาธิปไตย ยังไม่มีคำตอบให้
 
ในบางแง่ มันจำลองสถานการณ์และข้อเหตุผลที่ถกเถียงระหว่างประเทศที่พัฒนามาก่อน (อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น) กับประเทศตลาดเกิดใหม่ (จีน เอเชียตะวันออก) ว่าใครควรแบกรับภาระลดลัดตัดทอนการบริโภคพลังงานเพื่อลดการปล่อย CO2 ที่ก่อโลกร้อน? ว่าใครควรได้สิทธิ์พัฒนาต่อ ปล่อย CO2 ต่อเพื่อให้พลเมืองของตนได้พัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงขึ้นกับโลกทุนนิยมตะวันตก เพื่อความเป็นธรรม/เท่าเทียม ที่เถียงกันในเวทีประชุมโลกร้อนระดับโลก กำลังมาเถียงกันในเมืองไทย แต่แตกไปเป็นประเด็นรถคันแรกครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล