ภาพล้อเลียนจาก businessweek.com
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการคลังของอเมริกากันมากว่าเป็น "ประชานิยม" บ้าง, จนต้องเตรียมเจอสภาพ "หน้าผาการคลัง" บ้าง เห็นว่าการขาดดุลงบประมาณขนานใหญ่เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ให้ได้ มิฉะนั้นอเมริกาจะกลายเป็นเหมือนกรีซตอนนี้ ฯลฯ
ผมคิดว่าหลวมกว้างและง่ายไปหน่อยที่จะเรียกนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งภาวะขาดดุลงบประมาณในอเมริกาว่า "ประชานิยม" ถ้าจำได้ งบประมาณอเมริกันสมดุล (เกินดุลหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ ถ้าจำไม่ผิด) สมัยปธน.บิล คลินตัน การใช้จ่ายมากกมายขึ้นมาเกิดเพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะสงครามอิรัก บวกกับมาตรการตัดลดภาษีให้แก่คนรวยที่สุด ซึ่งทั้งสองนโยบายนี้เกิดสมัยปธน.บุชผู้ลูก จะบอกว่า "ประชานิยม" ก็เบนไปนะครับ บอกว่า "เสรีนิยมใหม่+อนุกรักษ์นิยมใหม่" จะแม่นยำกว่า
แต่ในความเห็นผม กล่าวให้ถึงที่สุดปัญหาขาดดุลงบประมาณอเมริกันที่มาหนักหน่วงขึ้นหลายปีหลังนี้ มูลเหตุสำคัญ ไม่ได้เกิดจากนโยบายเสรีนิยมใหม่+อนุรักษ์นิยมใหม่สมัยปธน.บุชผู้ลูกด้วยซ้ำไป แต่เกิดจากฟองสบู่ซับไพรม์แตกต่างหาก (อาศัยการปล่อยกู้หนี้จำนองบ้านด้อยคุณภาพมากระตุ้น demand ในหมู่คนชั้นล่างของสังคมซึ่งหางานยากและค่าแรงต่ำมานานแล้ว เรียกแนวนโยบายกดดอกเบี้ย กระตุ้นเงินกู้คนจนอันนี้ว่า privatized Keynesianism) อันนั้นส่งผลต่อเนื่องหลายอย่าง ได้แก่ ๑) รัฐบาลต้องทุ่มเงินมหาศาลนับล้านล้านดอลล่าร์อุ้มระบบการเงินการธนาคารสหรัฐฯไว้ รวมทั้งเข้าไปซื้อหุ้นข้างมากในกิจการอสังหาฯและประกันภัยสำคัญของประเทศด้วย ๒) ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์ คนตกงานเยอะ ธุรกิจกดตัว ภาคเอกชนไม่ลงทุน รัฐจะเก็บภาษีได้จากไหนกัน? ไม่ต้องพูดถึงภาคเอกชนก็ไม่ลงทุนใหม่เพื่อจ้างงาน ขยายการผลิต (ลงทุนไปใครจะซื้อ) ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐอเมริกันต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พยุงประคองเศรษฐกิจที่ยอบแยบไว้ ถ้ารัฐไม่ลงทุนผ่านการขาดดุลงบประมาณตอนนี้แล้ว จะไปหา demand ในตลาดอเมริกันจากไหนกัน?
แต่พูดทั้งหมดนี้แล้ว ฐานคิดที่พลาดและเข้าใจผิดที่สุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจอเมริกา เป็นไปดังที่ Richard Duncan นักวิเคราะห์การเงินอเมริกันที่วิเคราะห์คาดการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งของไทยไว้ก่อนใครเมื่อสิบห้าปีก่อนระบุไว้ คือเสียงวิจารณ์ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะอเมริกันทั้งหลายนั้น ตั้งอยู่บนความไม่เข้าใจลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจอเมริกันตอนนี้ที่กลายเป็นระเบียบที่เขาเรียกว่า creditism (สินเชื่อนิยม) หรือ Financialized Capitalism อย่างหนักไปแล้ว มันอยู่ได้เพราะสินเชื่อ คุณหยุดสินเชื่อเมื่อไหร่ (ให้รัฐเลิกขาดดุลบัดเดี่ยวนี้) เศรษฐกิจอเมริกันจะตายชักกะแด่ว ๆ ทันที เพราะมันเสพติดสินเชื่อชนิดถอนตัวไม่ได้ง่าย ๆ แล้ว และการอุ้มภาคเอกชนของรัฐอเมริกันนั้นใหญ่โตมากมายกว่าที่เราคิดมาก เรียกว่าเข้าไปช่วยกระตุ้นในทุกภาค ถอนเมื่อไหร่ ชักกระตุกทันทีและโลกจะพลอยชักไปด้วย นี่คือเรื่องที่ยังวิ่งตามกันไม่ทันในหมู่ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ fiscal cliff ของเศรษฐกิจอเมริกันที่ผ่านมา
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ