Skip to main content

 

ภาพล้อเลียนจาก businessweek.com
 
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการคลังของอเมริกากันมากว่าเป็น "ประชานิยม" บ้าง, จนต้องเตรียมเจอสภาพ "หน้าผาการคลัง" บ้าง เห็นว่าการขาดดุลงบประมาณขนานใหญ่เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ให้ได้ มิฉะนั้นอเมริกาจะกลายเป็นเหมือนกรีซตอนนี้ ฯลฯ
 
ผมคิดว่าหลวมกว้างและง่ายไปหน่อยที่จะเรียกนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งภาวะขาดดุลงบประมาณในอเมริกาว่า "ประชานิยม" ถ้าจำได้ งบประมาณอเมริกันสมดุล (เกินดุลหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ ถ้าจำไม่ผิด) สมัยปธน.บิล คลินตัน การใช้จ่ายมากกมายขึ้นมาเกิดเพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะสงครามอิรัก บวกกับมาตรการตัดลดภาษีให้แก่คนรวยที่สุด ซึ่งทั้งสองนโยบายนี้เกิดสมัยปธน.บุชผู้ลูก จะบอกว่า "ประชานิยม" ก็เบนไปนะครับ บอกว่า "เสรีนิยมใหม่+อนุกรักษ์นิยมใหม่" จะแม่นยำกว่า
 
แต่ในความเห็นผม กล่าวให้ถึงที่สุดปัญหาขาดดุลงบประมาณอเมริกันที่มาหนักหน่วงขึ้นหลายปีหลังนี้ มูลเหตุสำคัญ ไม่ได้เกิดจากนโยบายเสรีนิยมใหม่+อนุรักษ์นิยมใหม่สมัยปธน.บุชผู้ลูกด้วยซ้ำไป แต่เกิดจากฟองสบู่ซับไพรม์แตกต่างหาก (อาศัยการปล่อยกู้หนี้จำนองบ้านด้อยคุณภาพมากระตุ้น demand ในหมู่คนชั้นล่างของสังคมซึ่งหางานยากและค่าแรงต่ำมานานแล้ว เรียกแนวนโยบายกดดอกเบี้ย กระตุ้นเงินกู้คนจนอันนี้ว่า privatized Keynesianism) อันนั้นส่งผลต่อเนื่องหลายอย่าง ได้แก่ ๑) รัฐบาลต้องทุ่มเงินมหาศาลนับล้านล้านดอลล่าร์อุ้มระบบการเงินการธนาคารสหรัฐฯไว้ รวมทั้งเข้าไปซื้อหุ้นข้างมากในกิจการอสังหาฯและประกันภัยสำคัญของประเทศด้วย ๒) ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์ คนตกงานเยอะ ธุรกิจกดตัว ภาคเอกชนไม่ลงทุน รัฐจะเก็บภาษีได้จากไหนกัน? ไม่ต้องพูดถึงภาคเอกชนก็ไม่ลงทุนใหม่เพื่อจ้างงาน ขยายการผลิต (ลงทุนไปใครจะซื้อ) ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐอเมริกันต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พยุงประคองเศรษฐกิจที่ยอบแยบไว้ ถ้ารัฐไม่ลงทุนผ่านการขาดดุลงบประมาณตอนนี้แล้ว จะไปหา demand ในตลาดอเมริกันจากไหนกัน?
 
แต่พูดทั้งหมดนี้แล้ว ฐานคิดที่พลาดและเข้าใจผิดที่สุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจอเมริกา เป็นไปดังที่ Richard Duncan นักวิเคราะห์การเงินอเมริกันที่วิเคราะห์คาดการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งของไทยไว้ก่อนใครเมื่อสิบห้าปีก่อนระบุไว้ คือเสียงวิจารณ์ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะอเมริกันทั้งหลายนั้น ตั้งอยู่บนความไม่เข้าใจลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจอเมริกันตอนนี้ที่กลายเป็นระเบียบที่เขาเรียกว่า creditism (สินเชื่อนิยม) หรือ Financialized Capitalism อย่างหนักไปแล้ว มันอยู่ได้เพราะสินเชื่อ คุณหยุดสินเชื่อเมื่อไหร่ (ให้รัฐเลิกขาดดุลบัดเดี่ยวนี้) เศรษฐกิจอเมริกันจะตายชักกะแด่ว ๆ ทันที เพราะมันเสพติดสินเชื่อชนิดถอนตัวไม่ได้ง่าย ๆ แล้ว และการอุ้มภาคเอกชนของรัฐอเมริกันนั้นใหญ่โตมากมายกว่าที่เราคิดมาก เรียกว่าเข้าไปช่วยกระตุ้นในทุกภาค ถอนเมื่อไหร่ ชักกระตุกทันทีและโลกจะพลอยชักไปด้วย นี่คือเรื่องที่ยังวิ่งตามกันไม่ทันในหมู่ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ fiscal cliff ของเศรษฐกิจอเมริกันที่ผ่านมา
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก