Skip to main content

Kasian Tejapira(27/3/56)

ผมอยากชวนคุยเรื่องนี้โดยแยกต่างหากจากปัญหาว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะผ่านสภาผู้แทนราษฎรในปลายเดือนมีนาคมนี้หรือไม่ เพราะไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ข้อสังเกตเหล่านี้ก็ยังเป็นเรื่องที่เราควรคำนึงอยู่ ไม่ว่าจะเพื่อบริหารจัดการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์อย่างรู้เท่าทันผลกระทบสืบเนื่องเชิงเศรษฐกิจ-นิเวศวิทยาที่เป็นไปได้ของมัน หรือเพื่อแสวงหาทางเลือกใหม่อื่น ๆ โดยตระหนักถึงเหล่าผลกระทบสืบเนื่องที่อาจเกิดขึ้นได้..... แม้ว่าเอาเข้าจริง ผมค่อนข้างเชื่อว่า พ.ร.บ.เงินกู้ฯ จะผ่าน เครือข่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัดจะไม่สามารถหยุดยั้งรั้งมันไว้ได้ เพราะเงินเดิมพันเบ็ดเสร็จสูงลิบถึง 4 ล้านล้านบาท (กู้กึ่งหนึ่ง งบฯหน่วยราชการสมทบอีกกึ่งหนึ่ง) และ “มีเงินซะอย่างก็ใช้ผีโม่แป้งได้” ดังที่ภาษิตจีนว่าไว้.....

 

นายกฯยิ่งลักษณ์ขึ้นเฟซบุ๊กโฆษณาคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์มูลค่า 4 ล้านล้านบาทไว้เป็นตัวเลขน่าประทับใจตอนท้ายว่า:

 

“ตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมที่จะได้ค่าขนส่งที่ลดลง 2% ในช่วงของการลงทุนมูลค่า GDP เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 1% ต่อปี และการจ้างงานประมาณ 500,000 อัตรา (ต่อปี) ซึ่งจะส่งผลทั้งความแข็งแรง การหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศอย่างเข้มแข็งต่อไปในอนาคต” ( http://www.dailynews.co.th/politics/192965)

 

ทว่าในทางกลับกัน รถไฟความเร็วสูงก็จะมาพร้อมกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองอีกมาก จนน่ากังวลว่าจะหามาจากแหล่งไหน? จะพอไหม? ดังที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธาน กยอ. ชี้ว่า:

 

“โครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางบกของเรา ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งทางราง เช่น รถไฟความเร็วสูง หรือระบบรถไฟรางคู่ การขยายท่าเรือน้ำลึก การยกระดับระบบการขนส่งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ ล้วนแต่เป็นโครงการที่จะต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่มากขึ้นอย่างมหาศาลในอนาคต

 

“การที่จะต้องเร่งพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าให้ทันกับความต้องการของประเทศก็ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น แต่การจะพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าภายในประเทศก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เป็นต้นว่า การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ใครขืนยกขึ้นมาในตอนนี้ก็คงจะถูกต่อต้านอย่างรุนแรง การจะคิดสร้างโรงไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน ซึ่งน่าจะเป็นเชื้อเพลิงที่ถูกที่สุดรองลงมาจากการใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ก็คงจะถูกต่อต้านทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีในเรื่องการขจัดมลภาวะจากการผลิตไฟฟ้าด้วย ถ่านหินก็ก้าวหน้าไปมากจนเกือบจะไม่มีปัญหาแล้ว

 

“แหล่งที่จะสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าภายในประเทศก็หมดแล้ว ถ้าจะมีเหลือก็คงมีปัญหาเรื่องการอพยพโยกย้ายผู้คนซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว ตกลงการที่จะตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าในประเทศไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรผลิตอย่างเป็นเรื่องเป็นราวก็คงจะเป็นไปได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้แล้ว

 

“จะมีเหลือก็คือไปลงทุนหาแหล่งผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วส่งไฟฟ้าเข้ามาขายให้ประเทศไทย ประเทศที่มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าทั้งจากพลังน้ำ หรือเป็นที่ตั้งสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่น เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่นิวเคลียร์ ก็เห็นจะมีอยู่เพียง 2-3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และจีน.....

 

“โครงการสนับสนุนให้เอกชนผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กทั่วไป ก็คงจะไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป

 

“ปัญหาเรื่องความมั่นคงทางด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของแหล่งผลิตไฟฟ้า จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องให้ความสนใจให้มากขึ้นกว่านี้อีกมาก.....” (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361723116)

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธาน กยอ.

สรุปก็คือค่าขนส่งที่จะถูกลง, GDP และการจ้างงานที่จะเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จะได้มาด้วยเงินกู้ + งบประมาณอย่างเดียว หากต้องแลกด้วยพลังงานไฟฟ้าอีกมหาศาลซึ่งไทยเราไม่มีปัญญาหรือความเป็นไปได้ทางสังคมการเมืองที่จะผลิตเอง ต้องขอซื้อเอาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องตราบที่รถไฟความเร็วสูงยังวิ่งอยู่ ผลกระทบทางนิเวศวิทยาจากการผลิตไฟฟ้ามหาศาลดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นแน่ และผลกระทบทางนิเวศนั้นไม่มีพรมแดน

Wolfgang Sachs

ผมอยากเสริมด้วยข้อคิดของ Wolfgang Sachs อาจารย์และนักวิจัยด้านสังคมวิทยาสิ่งแวดล้อมและการศึกษาการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ชาวเยอรมันแห่งสถาบัน Wuppertal Institute for Climate, Environment and Energy เจ้าของผลงานเด่น ๆ อย่าง The Development Dictionary (บรรณาธิการ, ค.ศ. 1992), และ Planet Dialectics: Explorations in Environment and Development (ค.ศ. 1999) ที่ชี้ให้เห็นถึง: -

 

- the growth effects : กล่าวคือการเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพระบบลอจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจนั้น แม้จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านเศรษฐกิจ (การขนส่ง) ลงจริงต่อการขนส่งแต่ละครั้ง (ดังที่รัฐบาลอ้าง) แต่ผลลัพธ์รวมของมันคือ มันจะส่งผลกระตุ้นกิจกรรมเศรษฐกิจและการขนส่งให้เพิ่มขยายจำนวนและถี่กระชั้นขึ้นตามต้นทุนที่ถูกลงนั้นอย่างมากมายมหาศาล (the growth effects) ส่งผลให้ในที่สุดการเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและลดทอนประหยัดต้นทุน กลับไม่ได้ช่วยลดระดับปริมาณการใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติลงแต่อย่างใด หากกระตุ้นให้ใช้เพิ่มขึ้นหนักขึ้นด้วยซ้ำ

 

- the expansion effects : การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment) ซึ่งเกิดตามการขยายระบบลอจิสติกส์มา & the transport effects: การที่ระยะห่างของการเดินทางระหว่างประเทศเสมือนหนึ่งหดสั้นลงเพราะระบบขนส่งคมนาคมดีขึ้น กระตุ้นให้ผู้คนเดินทางและสินค้าถูกขนส่งมากขึ้น --> จะทำให้ใช้พลังงานและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งผลิตมลภาวะตามออกมาอีกมาก (http://www.worldsummit2002.org/publications/sachsglobal.pdf)

 

สรุปคือภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด (อยากให้เกิดไง ทั้ง economic growth, expansion of production & increase in transportation) ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ (ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่คนเราปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเนื่องจากเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อใช้พลังงานในชีวิตปกติประจำวัน ดูภาพประกอบด้านล่าง)

คลิกดูภาพขนาดใหญ่

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง