Skip to main content

Kasian Tejapira(9/1/56)

 

ถ้าคุณทำธุรกิจส่งออกไปตลาดประเทศทุนนิยมศูนย์กลางที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยใหญ่มาย่างเข้า 5 ปีแล้วอย่างอเมริกา, ยุโรปตะวันตก, ญี่ปุ่นเป็นหลัก ไม่พึ่งพาตลาดในประเทศ
 
คุณวางความสามารถในการแข่งขันของสินค้าออกของคุณตรงราคาถูก และที่สินค้าส่งออกของคุณถูก เพราะคุณอิงอาศัยแรงงานราคาถูกเป็นหลัก
 
คุณพบว่า 5 ปีหลังนี้ ใบสั่งสินค้าจากประเทศทุนนิยมศูนย์กลางเดิมหายากขึ้นทุกที และลูกค้าของคุณไม่สู้ราคา มีแต่ขอให้ลดราคาลง ไม่ต้องพูดถึงว่าถ้าคุณปรับราคาของคุณแพงขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ำที่ขึ้นไป เขาจะยอมซื้อ
 
และคุณไม่สามารถแบกรับต้นทุนการปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่สินค้าแบบอื่นที่อัตรากำไรสูงกว่าได้
 
แน่นอนว่าอัตรากำไรที่ต่ำลงจากค่าแรงแพงขึ้นทำให้คุณมีทางเลือกน้อย 
1) หากจะคงอัตรากำไรส่วนแบ่งของคุณไว้ให้เท่าเดิม ไม่ลดลง ก็ต้องหาทางเพิ่มผลิตภาพของฝ่ายแรงงานให้สูงขึ้น อย่างน้อยที่สุดเท่ากับอัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 
2) ยอมลดอัตรากำไรส่วนแบ่งของเจ้าของทุนลง ยอมให้ส่วนแบ่งของรายได้ฝ่ายแรงงานเพิ่มขึ้น 
3) ปิดกิจการ, หรือมิฉะนั้นก็
4) ชักชวนคนงานของคุณให้เข้าถือหุ้นในกิจการของคุณ โดยจ่ายส่วนต่างของค่าแรงเดิมกับค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่ให้แก่คนงานของคุณที่รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ในรูปหุ้นบริษัท นั่นหมายความว่าคุณจะต้องแบ่งส่วนกรรมสิทธิ์ อำนาจบริหารและดอกผลกำไรตอบแทนแก่พวกเขาตามสัดส่วนหุ้นที่พวกเขาถือร่วมกันด้วย
 
ส่วนเรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ