Skip to main content

Kasian Tejapira(16/02/56)

ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล

ทว่าถึงแม้กองทัพจะแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้เองโดยลำพังไม่ได้ แต่กองทัพก็มีอำนาจ/อิทธิพลในทางเป็นจริงที่จะวีโต้ทางแก้ทางการเมืองซึ่งรัฐบาลเสนอ หากกองทัพยอมรับทางแก้นั้นไม่ได้ ในที่สุดแล้วการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้สำหรับรัฐบาลจึงมีลักษณะเป็นการแสวงหาหรือสร้างฉันทมติขึ้น (consensus-finding or -making) ในระหว่างกลุ่มฝ่ายและสถาบันอำนาจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำคัญกับเรื่องนี้

ในทำนองเดียวกัน งานหาทางแก้ปัญหาหรือทางออกให้กับความขัดแย้งทางการเมืองใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ ในรัฐบาลชุดนี้ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน คือรัฐบาลจำกัดการริเริ่มของตนอยู่ในกรอบการแสวงหา/สร้างฉันทมติกับกลุ่มฝ่ายและสถาบันอำนาจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เสียกับเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความเสี่ยง และจนกว่าบรรลุได้ซึ่งฉันทมติของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ เหล่านั้นรวมทั้งสาธารณชนอย่างท่วมท้นล้นหลามในปัญหาหนึ่ง ๆ รัฐบาลจึงจะเริ่มขยับตัว...นิดหนึ่ง

ในสถานการณ์ขัดแย้งช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ (power shift) ที่ดุลกำลังฝ่ายต่าง ๆ ก้ำกึ่งตรึงถ่วงกัน การเดินงานการเมืองอย่างรอจังหวะเวลาและยึดหยั่งตามฉันทมติอันท่วมท้นล้นหลามของสังคมเป็นที่ตั้ง, เกราะปกป้องและฐานรองรับแต่ละจังหวะก้าวที่ย่างไป ก็นับว่าสุขุมรัดกุมรอบคอบดี แต่ปัญหาอยู่ตรงฉันทมติที่แสวงหานั้นครอบคลุมกว้างไกลถึงไหน? หากเอาฉันทมติดังกล่าวไปขึ้นอยู่กับกรอบเกณฑ์ที่กำหนดโดยฝ่ายอนุรักษนิยมหรือปฏิกิริยาสุดโต่งเป็นที่ตั้งแล้ว ก็คงยากที่จะขยับเคลื่อนอะไรได้หรือสุดท้ายก็ไม่ต้องขยับเคลื่อนอะไร ในนามหรือข้ออ้างว่า "ไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งในสังคม" ลองคิดดูเถิดว่า....

หากรัฐบาลจะนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองตามที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสุเทพ เทือกสุบรรณวางเกณฑ์กำหนด

หากรัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ชี้นำกำกับ

หากรัฐบาลจะปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามที่หมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ตีกรอบจำกัด

หากรัฐบาลจะแก้ไขข้อพิพาทชายแดนกับกัมพูชาตามที่กลุ่มพลังชาตินิยมสุดโต่งยืนกรานกดดัน

และหากรัฐบาลจะปฏิรูปการเมืองเชิงรุกในชายแดนภาคใต้ตามที่ปีกเหยี่ยวของฝ่ายความมั่นคงซึ่งยึดมั่นรัฐเดี่ยวรวมศูนย์อำนาจและเอาแต่มิติทางการทหารในการแก้ปัญหาอย่างตายตัวสุดโต่งขีดเส้นล้อมวงไว้แล้ว

เรายังจะต้องพูดอะไรถึงการปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลกันอีกเล่า? มิสู้ประกาศเลิกปฏิรูปการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้นจนกว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯมิดมิดีกว่าหรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง