Skip to main content

...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..

Kasian Tejapira(28/2/56)
 

การแถลงข่าวของ อ.สมบัติ จันทรวงศ์ กรณีเงินฝากจากสมาชิกครอบครัวของอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม (อ.สมบัติ แจงรับฝากเงินภรรยาพล.อ.เสถียร18ล้านบาทจริง ) คงมีประเด็นชวนคิดคาใจอยู่บ้างตามสมควร เช่น จำนวนเงินมากมายเป็นสิบ ๆ ล้านขนาดนั้น อาจารย์ไม่เอะใจบ้างหรือไร? โดยเฉพาะเมื่อถึงขั้นยืมชื่ออาจารย์ไปเป็นหุ้นส่วนทำธุรกรรมซื้อขายที่ดินและรับเช็คอันเป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย? และน้ำหนัก/ความหนักแน่นแห่งคำอธิบายอย่างเปิดเผยซื่อ ๆ ตรงไปตรงมาของอาจารย์ถึงที่สุดแล้วก็วางอยู่บนคำให้การของสมาชิกครอบครัวอดีตปลัดกระทรวงกลาโหมว่าจะสอดรับกันหรือไม่อย่างไร? ฯลฯ

คงเหนือวิสัยบุคคลภายนอกอย่างผมที่จะแสวงหาคำตอบอันกระจ่างแจ้งต่อคำถามเหล่านี้ได้หมด อย่างไรก็ตาม ผมลองถามตัวเองดูว่าเรื่องทำนองเดียวกันนี้ จะเกิดขึ้นกับผมได้หรือไม่? คิดไปคิดมา ผมพบว่าเป็นไปได้ อย่างนี้ครับ

ถามว่าในโลกนี้จะมีใครสักคนไหมที่ถ้าผมหรือภรรยาไปหาเขาพร้อมเงินสดหรือเช็คสัก ๕ - ๑๐ ล้านบาท (ตามอัตภาพ สมมุติว่าผมถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ ๑ สองใบซ้อนอะไรทำนองนั้น) ขอร้องให้รับฝากไว้และเอาเข้าบัญชีธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ฯที่ไหนสักแห่งให้ทีเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากเดือดร้อนที่ไม่ผิดกฎหมาย แล้วเขาผู้นั้นจะไว้วางใจทำให้ ค่าที่เชื่อถือเชื่อมั่นโดยสนิทใจจากความที่รู้จักมักคุ้นกันมาว่าผมหรือภรรยาจะไม่มาร้ายหรือหลอกใช้เขาไปในทางเสียหายผิดกฎหมายแน่นอน?

ผมคิดสะระตะดูแล้ว มีครับ อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ไง ผมว่าถ้าผมหรือภรรยาไปขอให้ทำอะไรแบบนี้ แกคนหนึ่งล่ะที่น่าจะวางใจและทำให้ได้

มันอธิบายยากแต่ในโลกที่เราอยู่นี้ มีคนบางคนที่เขารู้จักกับเรามากพอดีพอนานพอที่จะไว้ใจเราและเราก็ไว้ใจเขา นี่เป็นประสบการณ์ร่วมที่ค่อนข้างกว้างขวางและเป็นไปได้ว่าท่านผู้อ่านก็คงมี เรามีคนไว้ใจเหล่านี้ไว้ช่วยในยามลำบากยุ่งยากอึดอัด ทำให้เรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้ ง่ายเข้าหรือเป็นไปได้ เพราะความไว้ใจ เราไม่ได้คิดจะดึงเขาไปทำอะไรที่ผิดกฎหมายบ้านเมืองหรือสร้างความเดือดร้อนให้เขา แต่มันก็มักเป็นอะไรบางอย่างที่คนทั่วไปถ้าไม่รู้จักไว้ใจกันดี ๆ เขาก็ไม่ขอร้องกันหรือขอร้องก็มักไม่ทำให้กันเพราะมันอาจจะเสี่ยงบ้างหรือยุ่งยากบ้าง คนแบบนี้ที่เราไว้ใจนี่แหละที่ทำให้โลกอยู่ง่ายขึ้น พออยู่ได้ขึ้น น่าอยู่ขึ้น และชีวิตในโลกที่บัดซบและพลการใบนี้พอจะรับมือได้ ไม่เหลือบ่ากว่าแรงเกินไป

อย่างตอนผมแต่งงานกับแฟน จริง ๆ ผมลาราชการไปเรียนต่อที่อเมริกาล่วงหน้าก่อนปีหนึ่งโดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกันอย่างเป็นพิธีกรรมทางการ แล้วเธอค่อยตามไปสมทบ พอครบปี ก่อนที่เธอจะตามไปอยู่กับผม เราตกลงกันว่าต้องจัดพิธีสู่ขอแต่งงานกับทางคุณพ่อคุณแม่ของเธอเป็นทางการให้เรียบร้อย เพื่อความสบายใจของผู้ใหญ่ซะก่อน ตอนนั้นผู้ใหญ่ทางบ้านผม แตกกระจัดพลัดกระจาย มาดำเนินการให้ไม่ได้ ผมเองพูดตรง ๆ ก็ได้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อพอชักหน้าถึงหลังปริ่ม ๆ ไม่มีเงินค่าเดินทางจะบินกลับมา ในที่สุดผมก็ตัดสินใจเอ่ยปากขอให้อ.ชัยวัฒน์สู่ขอแทนให้ ไม่เพียงแค่นั้นยังขอให้ท่านทำหน้าที่เป็น “สแตนด์อิน” เจ้าบ่าวตัวจริงที่ in absentia อยู่อเมริกาให้ด้วย ของประหลาด ๆ พรรค์นี้ ถ้าไม่ใช่คนไว้ใจเราก็ไม่กล้าขอ และถ้าไม่ใช่คนไว้ใจขอ คนทั่วไปเขาก็ไม่ยุ่งยากลำบากมาทำให้ แต่ตอนนั้น อาจารย์ชัยวัฒน์ก็กรุณาดำเนินการให้ (ทั้งที่เป็นมุสลิม) ท่านยังอุตส่าห์ออกหน้าไปติดต่อขอให้ญาติผู้ใหญ่่ของท่านที่มีฐานะชื่อเสียงในสังคมและท่านรู้จักเคารพนับถือ (เป็นคนจีนและชาวพุทธ) มาช่วยเป็นผู้ใหญ่เอ่ยปากสู่ขอในพิธีให้อีกด้วย จนทุกอย่างเรียบร้อยด้วยดี และภรรยาผมเดินทางตามไปสมทบกับผมที่อเมริกาต่อมา

เพราะ Trust ชีวิตของคนเราในสังคมที่พลิกผันยอกย้อนเต็มไปด้วยสิ่งคาดไม่ถึงจึงพอดำเนินมาได้ด้วยดีตามสมควรและโลกจึงน่าอยู่ขึ้น

ถามว่าใน trust นี้มี risk ไหม? มีความเสี่ยงไหมว่าความไว้วางใจที่เรามีให้กับคนอื่นอาจถูกฉ้อฉล เราอาจถูกตบตาหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบไป? มีแน่นอน และผมก็เชื่อเหมือนกันว่าในประสบการณ์ของผมและของท่านผู้อ่านก็ย่อมเจอเหตุการณ์ที่เราไว้ใจเขา แต่เขาหลอกลวงเล่นงานเราบ้างไม่มากก็น้อยเหมือนกัน พูดอีกอย่างก็คือในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น (เช่น สินสอดทองหมั้นในงานสู่ขอของผม.... แหะ ๆ ก็ trust ทั้งนั้นแหละครับ) ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้

แต่ trust โดน abused แล้ว เก็บรับบทเรียนอันเจ็บปวดแล้ว ถามว่าต่อไปจะไม่ trust ใครในโลกอีกไหม? มันก็คงระวังเนื้อระวังตัวขึ้น รอบคอบรัดกุมขึ้น แต่ถ้า ๑) จะอยู่อย่างไม่ trust ใครเลยในโลก กับ ๒) อยู่อย่าง trust คนบางคน (อีกนั่นแหละ) และยอม take risk ใน trust นั้นบ้างเท่าที่พอเหมาะพอสมตามสมควร เพราะไว้วางใจเขา เห็นแก่เขา ต้องการช่วยเหลือเขา โดยตระหนักรู้ว่า เฮ้ย trust ของมึงอาจถูก abused ได้อีกนะโว้ย ไม่กลัวหรือ จะเสี่ยงหรือ?

ผมเลือกแบบ ๒) นะ มันเป็นโลกที่เสี่ยงน่ะแหละ แต่ผมก็คิดว่ายังน่าอยู่กว่า ขณะที่โลกแบบ ๑) นั้น ไม่มีอะไรให้ต้องเสี่ยง เพราะไม่ไว้ใจใครเลย และดังนั้น ในความรู้สึกผม ก็ไม่น่าอยู่เอาเลย

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ