Skip to main content

เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน

Kasian Tejapira (14/03/56)


เหมืองทองแดงเล็ตปาดวง ณ เมืองโมนีวา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่าเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างเครือบริษัท Union of Myanmar Economic Holdings ของกองทัพพม่า กับ บริษัทหวันเป่าของจีน มูลค่า ๙๙๗ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โครงการดังกล่าวก่อปัญหาสารพัดแก่ชาวบ้านตั้งแต่ลงนามสัญญากัน (พ.ค.๒๐๑๐) โดยไม่ผ่านการตรวจสอบของรัฐสภาเพราะอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร, มีการริบที่ดินชาวบ้านขนานใหญ่ไปใช้เตรียมขยายเหมืองดื้อ ๆ, จ่ายค่าชดเชยที่ดินให้ชาวบ้านอย่างไม่เป็นธรรม, ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างมาก


ชาวบ้านและพระสงฆ์ในพื้นที่จึงรวมตัวประท้วงยึดบริเวณเหมืองยืดเยื้อเพื่อเรียกร้องให้ปิดเหมืองนาน ๑๑ วันเมื่อปลายปีก่อน สุดท้ายตำรวจพม่าลุยปราบกลางดึกเมื่อ ๒๙ พ.ย. ศกก่อน มีผู้บาดเจ็บทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์เข้าโรงพยาบาลกว่าร้อยคนในนี้รวมทั้งพระ ๙๙ รูป หลายคนมีรอยแผลลวกไหม้ด้วย เจ้าหน้าที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้อาวุธเคมีเล่นงานผู้ชุมนุม แต่มาปรากฏภายหลังว่ามีการใช้ระเบิดควันฟอสฟอรัสขาวด้วย (ตำรวจอ้างว่าเคยใช้เล่นงานม็อบพระสงฆ์พม่าเมื่อปี ๒๐๐๗ มาแล้ว ไม่เห็นมีใครถูกไหม้อะไรนี่นา...)

ประธานาธิบดีเต็งเส่งจึงสั่งตั้งคณะกรรมาธิการรัฐสภาขึ้นสอบสวนเรื่องนี้โดยให้อองซานซูจีเป็นประธาน คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้สรุปและเผยแพร่รายงานการสอบสวนเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ มี.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าโครงการเหมืองทองแดงไม่มีมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่แข็งแรง อีกทั้งไม่สร้างงานให้ชาวบ้านท้องถิ่น แต่ก็เสนอแนะให้เปิดเหมืองดำเนินโครงการต่อเพื่อรักษาสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีและไว้วางใจกันได้กับจีนซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านและส่งเสริมการลงทุนต่างชาติซึ่งพม่าต้องการมาก

รายงานไม่ได้ระบุให้เอาผิดหรือดำเนินมาตรการใดกับเจ้าหน้าที่ที่สั่งให้ปราบปรามการชุมนุมด้วย เพียงแต่เสนอแนะให้ทางการฝึกอบรมการปราบจลาจลที่ถูกวิธีแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ, จ่ายค่าชดเชยที่ดินเพิ่มเติมแก่ชาวบ้านโดยยึดราคาตลาดปัจจุบัน, คืนที่ดินเพาะปลูกเกือบ ๒,๐๐๐ เอเคอร์ให้ชาวบ้าน, และตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วยตัวแทนหลายฝ่ายเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะนี้

อองซานซูจีได้เดินสายชี้แจงรายงานของคณะกรรมาธิการให้ชาวบ้าน ๓ หมู่บ้านในพื้นที่เหมือง แต่บรรดานักเคลื่อนไหวและชาวบ้านจำนวนมากไม่พอใจข้อสรุปเสนอแนะในรายงานของคณะกรรมาธิการนี้และเรียกร้องให้ปิดเหมืองต่อไป
 


ผมมีส่วนที่เห็นใจเธออยู่ว่ามันไม่ง่าย ในโลกการเมืองแบบที่เป็นอยู่นี้ มันมีการแลกเปลี่ยนที่คุณต้องจ่ายไป ยังไม่ต้องพูดถึงโจทย์ทำนองเดียวกันอีกมากที่จะตามมา (AEC, ทุนไทยและนานาชาติที่เตรียมแห่เข้าไปเหยียบย่ำชาวบ้านและชนชาติส่วนน้อยแถวทวาย ฯลฯ) แต่ถ้าเธอถอยแต่ต้น ชาวบ้านก็คงหวังการนำจาก NLD ยาก คือการผิดหวัง (disillusionment) กับประชาธิปไตยภายใต้อำนาจทุนโลกาภิวัตน์มันต้องเกิดขึ้นแน่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อ่ะครับ อย่างที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้หลังล้มระบอบ Aprtheid และที่อื่น ๆ แต่คุณจะเหลือ "พื้นที่" ให้เขายืนสู้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีแฟร์ ๆ ได้แค่ไหน? อันนี้สำคัญ คุณให้โลกไร้ทุน อำนาจชาวบ้านเป็นใหญ่ในแผ่นดินกับเขาไม่ได้หรอก ใคร ๆ ก็รู้ แต่อย่างน้อยที่สุดคุณควรให้โอกาสที่เขาจะสู้เองอย่างสันติและแฟร์และเสรีและมีสิทธิพอสมควร อันนี้ผมคิดว่าไม่ควรถอย การประนีประนอมของซูจีหนนี้มากไป โดยเฉพาะไม่เอาผิดกับเจ้าหน้าที่เลยเนี่ย มันไม่ไหว จะให้ชาวบ้านเขาสู้เวทีไหนได้บ้างล่ะครับ? ต้องมีเวทีให้เขาต่อรองบ้าง ไม่ใช่ไม่ปิดเหมือง แล้วไม่เหลือเวทีช่องทางต่อรองหลังจากนั้นแก่ชาวบ้านเลย แบบนี้ก็ผลักเขาลงถนนอีกเท่านั้นเอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

Aung San Suu Kyi support for copper mine outrages Burmese activists
Aung San Suu Kyi faces protesters at copper mine

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม