Skip to main content

Hartmut Rosa (ค.ศ. ๑๙๖๕ - ปัจจุบัน) ศาสตราจารย์สังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Friedrich Schiller ในเมืองเจนา เยอรมนี เชื่อว่ามันมี “ระบอบเวลา” ดำรงอยู่ (ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่อย่างใด) เบื้องหลังมโนทัศน์เรื่องเวลาของพวกเราแต่ละคนที่ถือว่าเวลาเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไร หรือคิดว่าเวลาเป็นตัวแทนความพลิกผันเปลี่ยนแปลงในการดำรงอยู่ของแต่ละบุคคล

Hartmut Rosa


โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่:
-การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ)
-การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น)
-จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)

อันที่จริงโดยตรรกะแล้ว การเร่งเร็วทางเทคนิคน่าจะช่วยให้ชีวิตเราเครียดน้อยลง แต่เอาเข้าจริง แม้ว่ากระบวนการแต่ละอย่างจะกินเวลาน้อยลง การณ์กลับกลายเป็นว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลับเพิ่มจำนวนกระบวนการที่เราต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวดูแลจัดการมันเป็นทวีตรีคูณ เช่น พิมพ์อีเมล์ย่อมเร็วกว่าเขียนจดหมายก็จริง แต่เราก็พิมพ์อีเมล์วันละมากมายหลายฉบับกว่าที่เราเคยเขียนจดหมาย, ขับรถทำให้เดินทางเร็วขึ้นก็จริง แต่วัน ๆ เราก็เดินทางไปโน่นมานี่มากมายหลายที่หลายเที่ยวขึ้นจนลงเอยเป็นว่าเราก็หมดเวลาไปกับการเดินทางในแต่ละวันเท่าเก่านั่นแหละ นอกจากนี้ร้อยเรื่องสารพัดสารพันที่เข้ามาพัวพันอีนุงตุงนังกับเรา ดึงดูดความสนใจของเรามากกว่าเก่าหลายเท่าตัวนั้นมันต่างก็ยั่วยุเชื้อเชิญเปิดโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เราลองบริโภคอย่างนี้ ผ่อนคลายหรือทำงานอดิเรกอย่างนั้น ดูทีวีเรื่องนี้ ท่องเน็ตเว็บนั้น ไปทานอาหารร้านนี้ ไปเที่ยวหย่อนใจที่นั่น ฯลฯ ทำให้วัน ๆ เราก็เสียเวลาไปกับการชั่งวัดตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ไม่น้อยเลย



โรซ่าเชื่อว่าปรากฏการณ์เวลาเร่งเร็วในทางประวัติศาสตร์ที่ยกมานี้แรกเริ่มเดิมทีถูกขับเคลื่อนไปโดยสังคมตะวันตก ด้วยคำมั่นสัญญาว่ามันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าและอิสระเสรีที่ปรารถนามานมนาน ทว่ามาบัดนี้การเร่งเร็วกลับลัดวงจรบรรดาสถาบันและโครงสร้างการเมืองทั้หลายแล้วกลายเป็น “พลังเบ็ดเสร็จในสังคมสมัยใหม่” หรือนัยหนึ่งเป็นหลักการนามธรรมที่กำกับบงการทุกแห่งหนชนิดที่ไม่มีใครหนีมันพ้นได้ ผู้คนพากันรู้สึกว่าทั้งหมดที่พอทำไหวตอนนี้คือ “ทำให้ทัน” เท่านั้นเอง (ถ้ายังทันนะ) โดยไม่มีปัญญาจะมานั่งพินิจพิจารณาจากมุมมองที่แยกห่างเยือกเย็นเลยว่าที่ดำรงอยู่ทุกวันนี้นั้นมันเป็นอย่างไร มันคืออะไร หรือเพื่ออะไร, ชุมชนการเมืองระดับต่าง ๆ ทั้งหลายก็สูญเสียอำนาจควบคุมเหนือชะตากรรมของตนไป ความรีบร้อนเร่งเร็วนี้มาพร้อมกับความรู้สึกเฉื่อยเนือยและปล่อยวางปลงใจว่ามันเป็นเรื่องของชะตาฟ้าลิขิตที่ใครก็กำหนดควบคุมไม่ได้

เป็นอย่างงี้ใช่ไหมล่ะครับ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล