Skip to main content

Hartmut Rosa (ค.ศ. ๑๙๖๕ - ปัจจุบัน) ศาสตราจารย์สังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Friedrich Schiller ในเมืองเจนา เยอรมนี เชื่อว่ามันมี “ระบอบเวลา” ดำรงอยู่ (ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่อย่างใด) เบื้องหลังมโนทัศน์เรื่องเวลาของพวกเราแต่ละคนที่ถือว่าเวลาเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไร หรือคิดว่าเวลาเป็นตัวแทนความพลิกผันเปลี่ยนแปลงในการดำรงอยู่ของแต่ละบุคคล

Hartmut Rosa


โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่:
-การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ)
-การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น)
-จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)

อันที่จริงโดยตรรกะแล้ว การเร่งเร็วทางเทคนิคน่าจะช่วยให้ชีวิตเราเครียดน้อยลง แต่เอาเข้าจริง แม้ว่ากระบวนการแต่ละอย่างจะกินเวลาน้อยลง การณ์กลับกลายเป็นว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลับเพิ่มจำนวนกระบวนการที่เราต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวดูแลจัดการมันเป็นทวีตรีคูณ เช่น พิมพ์อีเมล์ย่อมเร็วกว่าเขียนจดหมายก็จริง แต่เราก็พิมพ์อีเมล์วันละมากมายหลายฉบับกว่าที่เราเคยเขียนจดหมาย, ขับรถทำให้เดินทางเร็วขึ้นก็จริง แต่วัน ๆ เราก็เดินทางไปโน่นมานี่มากมายหลายที่หลายเที่ยวขึ้นจนลงเอยเป็นว่าเราก็หมดเวลาไปกับการเดินทางในแต่ละวันเท่าเก่านั่นแหละ นอกจากนี้ร้อยเรื่องสารพัดสารพันที่เข้ามาพัวพันอีนุงตุงนังกับเรา ดึงดูดความสนใจของเรามากกว่าเก่าหลายเท่าตัวนั้นมันต่างก็ยั่วยุเชื้อเชิญเปิดโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เราลองบริโภคอย่างนี้ ผ่อนคลายหรือทำงานอดิเรกอย่างนั้น ดูทีวีเรื่องนี้ ท่องเน็ตเว็บนั้น ไปทานอาหารร้านนี้ ไปเที่ยวหย่อนใจที่นั่น ฯลฯ ทำให้วัน ๆ เราก็เสียเวลาไปกับการชั่งวัดตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ไม่น้อยเลย



โรซ่าเชื่อว่าปรากฏการณ์เวลาเร่งเร็วในทางประวัติศาสตร์ที่ยกมานี้แรกเริ่มเดิมทีถูกขับเคลื่อนไปโดยสังคมตะวันตก ด้วยคำมั่นสัญญาว่ามันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าและอิสระเสรีที่ปรารถนามานมนาน ทว่ามาบัดนี้การเร่งเร็วกลับลัดวงจรบรรดาสถาบันและโครงสร้างการเมืองทั้หลายแล้วกลายเป็น “พลังเบ็ดเสร็จในสังคมสมัยใหม่” หรือนัยหนึ่งเป็นหลักการนามธรรมที่กำกับบงการทุกแห่งหนชนิดที่ไม่มีใครหนีมันพ้นได้ ผู้คนพากันรู้สึกว่าทั้งหมดที่พอทำไหวตอนนี้คือ “ทำให้ทัน” เท่านั้นเอง (ถ้ายังทันนะ) โดยไม่มีปัญญาจะมานั่งพินิจพิจารณาจากมุมมองที่แยกห่างเยือกเย็นเลยว่าที่ดำรงอยู่ทุกวันนี้นั้นมันเป็นอย่างไร มันคืออะไร หรือเพื่ออะไร, ชุมชนการเมืองระดับต่าง ๆ ทั้งหลายก็สูญเสียอำนาจควบคุมเหนือชะตากรรมของตนไป ความรีบร้อนเร่งเร็วนี้มาพร้อมกับความรู้สึกเฉื่อยเนือยและปล่อยวางปลงใจว่ามันเป็นเรื่องของชะตาฟ้าลิขิตที่ใครก็กำหนดควบคุมไม่ได้

เป็นอย่างงี้ใช่ไหมล่ะครับ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก