Skip to main content

Hartmut Rosa (ค.ศ. ๑๙๖๕ - ปัจจุบัน) ศาสตราจารย์สังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Friedrich Schiller ในเมืองเจนา เยอรมนี เชื่อว่ามันมี “ระบอบเวลา” ดำรงอยู่ (ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่อย่างใด) เบื้องหลังมโนทัศน์เรื่องเวลาของพวกเราแต่ละคนที่ถือว่าเวลาเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไร หรือคิดว่าเวลาเป็นตัวแทนความพลิกผันเปลี่ยนแปลงในการดำรงอยู่ของแต่ละบุคคล

Hartmut Rosa


โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่:
-การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ)
-การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น)
-จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)

อันที่จริงโดยตรรกะแล้ว การเร่งเร็วทางเทคนิคน่าจะช่วยให้ชีวิตเราเครียดน้อยลง แต่เอาเข้าจริง แม้ว่ากระบวนการแต่ละอย่างจะกินเวลาน้อยลง การณ์กลับกลายเป็นว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลับเพิ่มจำนวนกระบวนการที่เราต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวดูแลจัดการมันเป็นทวีตรีคูณ เช่น พิมพ์อีเมล์ย่อมเร็วกว่าเขียนจดหมายก็จริง แต่เราก็พิมพ์อีเมล์วันละมากมายหลายฉบับกว่าที่เราเคยเขียนจดหมาย, ขับรถทำให้เดินทางเร็วขึ้นก็จริง แต่วัน ๆ เราก็เดินทางไปโน่นมานี่มากมายหลายที่หลายเที่ยวขึ้นจนลงเอยเป็นว่าเราก็หมดเวลาไปกับการเดินทางในแต่ละวันเท่าเก่านั่นแหละ นอกจากนี้ร้อยเรื่องสารพัดสารพันที่เข้ามาพัวพันอีนุงตุงนังกับเรา ดึงดูดความสนใจของเรามากกว่าเก่าหลายเท่าตัวนั้นมันต่างก็ยั่วยุเชื้อเชิญเปิดโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เราลองบริโภคอย่างนี้ ผ่อนคลายหรือทำงานอดิเรกอย่างนั้น ดูทีวีเรื่องนี้ ท่องเน็ตเว็บนั้น ไปทานอาหารร้านนี้ ไปเที่ยวหย่อนใจที่นั่น ฯลฯ ทำให้วัน ๆ เราก็เสียเวลาไปกับการชั่งวัดตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ไม่น้อยเลย



โรซ่าเชื่อว่าปรากฏการณ์เวลาเร่งเร็วในทางประวัติศาสตร์ที่ยกมานี้แรกเริ่มเดิมทีถูกขับเคลื่อนไปโดยสังคมตะวันตก ด้วยคำมั่นสัญญาว่ามันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าและอิสระเสรีที่ปรารถนามานมนาน ทว่ามาบัดนี้การเร่งเร็วกลับลัดวงจรบรรดาสถาบันและโครงสร้างการเมืองทั้หลายแล้วกลายเป็น “พลังเบ็ดเสร็จในสังคมสมัยใหม่” หรือนัยหนึ่งเป็นหลักการนามธรรมที่กำกับบงการทุกแห่งหนชนิดที่ไม่มีใครหนีมันพ้นได้ ผู้คนพากันรู้สึกว่าทั้งหมดที่พอทำไหวตอนนี้คือ “ทำให้ทัน” เท่านั้นเอง (ถ้ายังทันนะ) โดยไม่มีปัญญาจะมานั่งพินิจพิจารณาจากมุมมองที่แยกห่างเยือกเย็นเลยว่าที่ดำรงอยู่ทุกวันนี้นั้นมันเป็นอย่างไร มันคืออะไร หรือเพื่ออะไร, ชุมชนการเมืองระดับต่าง ๆ ทั้งหลายก็สูญเสียอำนาจควบคุมเหนือชะตากรรมของตนไป ความรีบร้อนเร่งเร็วนี้มาพร้อมกับความรู้สึกเฉื่อยเนือยและปล่อยวางปลงใจว่ามันเป็นเรื่องของชะตาฟ้าลิขิตที่ใครก็กำหนดควบคุมไม่ได้

เป็นอย่างงี้ใช่ไหมล่ะครับ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....