Skip to main content

Kasian Tejapira(27/3/56)

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในน้อยประเทศของโลกที่ดูเหมือนไม่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจหนักหน่วงนักในช่วงวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่หลายปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2008 - ปัจจุบัน) ค่าที่รัฐบาลออสเตรเลียดำเนินชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทันท่วงที ประจวบกับแนวโน้มมูลค่าสินค้าบูมทั่วโลก (commodities boom นับแต่ ค.ศ. 2000 - 2009 แล้วสะดุดวิกฤตซับไพรม์) พลิกฟื้นกลับขึ้นมาหนุนส่ง โดยเฉพาะอุปสงค์ด้านแร่ธาตุวัตถุดิบที่อุตสาหกรรมมหึมาของจีนต้องการจากออสเตรเลีย ไม่ว่าแร่เหล็ก, ถ่านหิน, บ็อกไซต์ ฯลฯ ทำให้ออสเตรเลียหลุดรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้

 

ทว่าเอาเข้าจริงในโครงสร้างเชื่อมโยงแบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ จะมีประเทศไหนไม่โดนผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกบ้าง? ออสเตรเลียก็เถอะ เพียงแค่ขูดผิวไปสักพัก เฝ้าสังเกตดูสักหน่อย ก็จะพบปัญหาเกี่ยวพันกับวิกฤตเศรษฐกิจกลัดหนองอยู่

 

ปัญหาพื้นฐานคือออสเตรเลียกำลังประสบสภาวะ two-speed economy หรือเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกัน กล่าวคือ

 

อัตราเร่งที่ 1) ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อันนี้กำลังส่งออกไปจีนอย่างเร่งเร็วมาก ที่ท่าเรืออ่าวซิดนีย์ มีขบวนเรือขนส่งสินค้าต่อคิวรอบรรทุกแร่ธาตุวัตถุดิบจากเหมืองแร่ในออสเตรเลียเพื่อส่งออกไปจีนยาวเหยียดร่วม 50 ไมล์ทะเล อานิสงส์จากการลงทุนขนานใหญ่ของบริษัทเหมืองแร่เพื่อต้อนรับกระแสมูลค่าสินค้าบูมและอุปสงค์แร่ธาตุวัตถุดิบจากจีน (เฉพาะปี 2010 ปีเดียว มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ออสเตรเลียถึง 1700,000 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย) ทำให้ชาวออสเตรเลียที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่กำลังบูม พากันยกระดับรายได้สูงลิ่ว จู่ ๆ ก็รวยไม่รู้เรื่อง พากันถอยเบนซ์มาขับเล่นกันใหญ่

 

อัตราเร่งที่ 2 ) ไม่ว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือค้าปลีกหรือบริการ หากไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับเหมืองแร่แล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์โภคผลนัก (ปัญหาหนึ่งของอุตสาหกรรมเหมืองแร่คือใช้แรงงานน้อยกว่า ใช้เครื่องจักรหนักมากกว่า โดยเปรียบเทียบ ดังนั้นถึงบูมก็จ้างแรงงานเพิ่มไม่มาก อีกทั้งงานเหมืองแร่ คนออสเตรเลียพื้นถิ่นไม่ค่อยชอบทำ ส่วนมากจะเป็นคนอพยพ) ซ้ำร้ายยังถูกกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ที่ข้าวของแพงขึ้นจากผลกระทบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุบูม คนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่เหลือเหล่านี้จึงถูกเบียดจากภาวะราคาเฟ้อจนหลุดออกจากตลาดบ้าน, ตลาดภัตตาคารหรือแม้แต่ตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตไป (คือของแพงจนเงินรายได้ไม่พอซื้อ สู้ราคาไม่ไหว)

 

ภาวะเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกันทำให้สังคมเศรษฐกิจออสเตรเลียเกิดความเครียดและแตกหักแยกส่วนกันมากขึ้น คนรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมเพิ่มสูงขึ้น อึดอัดไม่สบายใจกับภาวะที่เป็นอยู่ แม้แต่พวกที่โชคดีรวยจากเหมืองแร่บูมก็เล็งการณ์ร้าย หวาดวิตกในใจลึก ๆ ไม่แน่ใจว่าบูมจะยาวนานเท่าไหร่ ฟองสบู่จะแตกวันแตกพรุ่งไม่รู้ที หากกระแสมูลค่าสินค้าบูมของโลกเริ่มตกหรือเศรษฐกิจจีนพลิกกลับ ต่างมีอาการไม่มั่นคงในใจราวกับกำลังรวยอยู่ในช่วงเวลาที่ยืมมาก็มิปาน

กล่าวสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของออสเตรเลียนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามเข้าไปอุ้มชูช่วยเหลือ เพื่อหยุดยั้งภาวะตกต่ำเสื่อมถอย และพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไฮเทคขึ้นมา ไม่ว่าวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอควร เช่น สาขาชีวประดิษฐศาสตร์ (bionics) หรือ wi-fi ก็จดทะเบียนสิทธิบัตรในออสเตรเลียเป็นต้น ทว่าอุตสาหกรรมทั้งหลายเหล่านี้กลับรับผลกระทบด้านลบจากการที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุไปจีนบูม เพราะมันทำให้ดอลล่าร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น จนมูลค่าสูงกว่าดอลล่าร์อเมริกันต่อเนื่องกันมาในช่วงระยะหลัง อุตสาหกรรมด้านอื่นก็เลยเคราะห์ร้าย ส่งออกยากขึ้น เพราะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นแล้วแพงขึ้น (สูญเสียสมรรถนะในการแข่งขันเพราะค่าเงินสกุลชาติตนแข็งขึ้น) ในตลาดสากล จนกระทั่งรัฐบาลออสเตรเลียต้องออกนโยบายให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มาเปิดการผลิตในออสเตรเลียสืบต่อไป เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ว่า โตโยต้า, ฟอร์ด, จีเอ็ม ฯลฯ ต่างก็ได้รับอานิสงส์ส่วนนี้ ประมาณว่ารัฐบาลออสเตรเลียเอาเงินภาษีชาวบ้านมาติดสินบนบริษัทเหล่านี้ให้อยู่ต่อนั่นเอง ซึ่งนโยบายแบบนี้ไม่น่าจะคงทนยั่งยืนได้ในระยะยาว

ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ