Skip to main content

Kasian Tejapira(6/4/56)

เที่ยงวานนี้ ขณะทานข้าวไปพลาง ฟังสถานีวิทยุ “ชุมชน” ใกล้บ้านที่เปิดเพลงสลับกับขายยาและสอนธรรมะไปพลาง ก็ได้ยินเสียงอุบาสิกาอ่านหลักพุทธธรรมคำสอนของหลวงพ่อวัดแห่งหนึ่งแถบชานเมืองยาวหลายนาที คำสอนนั้นผูกร้อยเชื่อมโยงความคิดชาตินิยม ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าด้วยกันเป็นเรื่องเดียวเนื้อเดียวอย่างไร้รอยต่อ ในลักษณะที่ว่า “ชาติ”, “ในหลวง” และ “พุทธธรรม” ถูกเปล่งออกมาต่อกันรวดเดียวในชั่วอึดใจอย่างคล้องจองสอดรับเป็นธรรมชาติ

อันที่จริงนี่ก็ไม่ใช่อะไรแปลกใหม่พิสดารนัก เป็นที่คาดหมายเข้าใจได้และเราท่านก็มักได้ยินกันอยู่เป็นปกติ แต่ที่สะดุดหูผมจนแทบสะอึกต้องวางช้อนส้อมนิ่งคิดไปพักหนึ่งคือวลีที่ว่า:

“...คนชั่วที่แอบอ้างเป็นคนไทย...”

ในวลีสั้นกระทัดรัดนี้ ได้ผูกโยงหลอมรวม ศีลธรรม, ชาตินิยม, การเมืองวัฒนธรรม, กฎหมาย, ความเป็นพลเมือง, เอกลักษณ์ชาติ เข้าด้วยกันอย่างแยกแยะไม่ออกทีเดียว

คำปราศรัยของท่านประธานองคมนตรีในภาพประกอบสองสามวันที่ผ่านมานี้ก็โน้มนำไปทำนองเดียวกัน คือผูกโยงการเมืองเข้ากับศีลธรรม, ชาตินิยมและเอกลักษณ์ชาติ เหล่านี้ทำให้ยากจะแยกแยะ เสียงเรียกร้องแห่งความเป็นไทยดังที่ยกมาข้างต้นออกจากข้อเสนอที่วางอยู่บนกรอบคิดและหลักเหตุผลทางปรัชญาว่า “ไม่อาจแยกการเมืองออกจากศีลธรรมได้ หากแยกออก การเมืองนั่นแหละจะเสื่อมทรามลง” ซึ่งครูบาอาจารย์อาวุโสและนักคิดนักเขียนมีชื่อบางท่านได้กล่าวหรือเขียนออกมาเนือง ๆ อย่างจริงจังและบริสุทธิ์ใจ

ผมอยากเสนออย่างรวบรัดว่า

- ถ้า Politics + Morality (การเมือง + ศีลธรรม) ในความหมาย A free marketplace of moral ideas (ตลาดความคิดศีลธรรมที่เลือกได้อย่างเสรี) ละก็ ผม OK นะ

- แต่ถ้าเป็น Politics + Moralism (การเมือง + ลัทธิยึดศีลธรรมเป็นเจ้าเรือน) ในความหมาย Self-centered, coercive moralism (ลัทธิศีลธรรมที่บังคับเอาด้วยอัตตาธิปไตย) ละก็ จะไหวหรือครับ? จะ work หรือครับ?

และจะอย่างไรก็ตาม ข้อเสนอที่จะผูกโยงการเมืองกับศีลธรรม ควรคำนึงถึงข้อสังวรในบริบทโลกสมัยใหม่และสังคมการเมืองไทยดังที่เป็นจริงปัจจุบันดังต่อไปนี้:

๑) ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่มีความแตกต่างหลากหลาย (พหุนิยม) ของคุณค่าพื้นฐานเชิงศีลธรรมและศรัทธาศาสนาอย่างที่ไม่อาจลดลัดตัดทอนหรือย่นย่อเหมารวมเป็นหนึ่งเดียวได้อีกแล้ว การบังคับกดดันให้ยึดหลักศีลธรรมเดียวหรือศรัทธาศาสนาเดียวเป็นที่ตั้งเจ้าเรือนรังแต่จะก่อความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้นดังเราเห็น ๆ กันอยู่

๒) ขณะเดียวกัน เอาเข้าจริงในทางปฏิบัติ สังคมวัฒนธรรมไทยไม่มีตลาดความคิดศีลธรรมที่เลือกได้อย่างเสรี หรือสนามประชันข้อเสนอทางศีลธรรมที่ราบเรียบเสมอหน้ากันอยู่จริง หากเทเอียงกระเท่เร่ไปทางหนึ่งตามฐานคติของรัฐและประชากรส่วนใหญ่

๓) ฉะนั้นแทนที่เราจะได้เห็น [การเมือง+ศีลธรรม] สมดังความมุ่งมาดปรารถนาของศาสนิกชน เรากลับมักเห็นผู้กุมอำนาจฐานะในสังคมการเมืองแสดงจริตศีลธรรมออกมา ไม่มากไปกว่านั้น

๔) นั่นแปลว่าข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”

๕) ในทางปรัชญา ผมเชื่อว่ามีความขัดแย้งขั้นมูลฐานอยู่ระหว่าง [หลักเป้าหมายที่ดีที่ถูกต้องย่อมให้ความชอบธรรมกับวิธีการใด ๆ ก็ได้ หรือ instrumental reasoning ของ โลกการเมือง] กับ [หลักเอกภาพทางศีลธรรมของเป้าหมายกับวิธีการ หรือ moral reasoning ของ โลกศีลธรรม] อุปมาเหมือนคนอุ้มห่อระเบิดออกวิ่งบนลู่อำนาจ ถึงจุดหนึ่งถ้าระเบิดที่อุ้มแนบอกไม่แตกตูมจนตัวเองตายคาที่ (หมดสิ้นอำนาจไป), ห่อที่ว่าก็อาจเน่าเสียคาอกได้ (ศีลธรรมเสื่อม) การประคองสองอย่างนี้ให้ไปด้วยกันอย่างถาวร ผมเกรงว่าเป็นไปได้ยากมากหรือไม่ได้เลย

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..