Skip to main content

Kasian Tejapira(8/4/56)

ไซปรัส เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรเกือบล้านคน เศรษฐกิจและแรงงานพึ่งพาภาคบริการมากที่สุด (๘๐.๙% ของ GDP, ๗๑% ของแรงงาน), ๓ กิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ท่องเที่ยว (โดยเฉพาะทัวริสต์เงินหนาจากยุโรปเหนือ), การขนส่งสินค้าทางเรือ (ทำเลเกาะเหมาะสม), และการเงินการธนาคาร

โดยเฉพาะเมื่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรือ EU ส่วนใหญ่เริ่มใช้เงินสกุลยูโร (ในทางบัญชี ๑๙๙๙, ในทางธนบัตรและเหรียญ ๒๐๐๒) และไซปรัสเข้าเป็นสมาชิก EU ในปี ๒๐๐๔ บรรดาธนาคารในไซปรัสก็ฉวยโอกาสเร่ล่าหาเงินฝากจากต่างประเทศโดยยื่นข้อเสนอที่ดึงดูดใจเศรษฐีทั่วโลก คือ:

- จะปริวรรตเงินฝากไม่ว่าสกุลใด ๆ จากนอกมาเป็นเงินตราสกุลยูโรซึ่งแข็งปั๋งคนอยากได้

- ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูง

- ไม่ถามให้รำคาญใจผู้ฝากว่าเงินนี้ท่านได้แต่ใดมา....

ผลคือชั่วเวลาไม่ถึงทศวรรษ บรรดาธนาคารเอกชนในไซปรัสสูบดูดเงินฝากจากต่างประเทศโดยเฉพาะรัสเซียมหาศาล คิดเป็น ๕ - ๘ เท่าของ GDP/ปีของประเทศตน (GDP ไซปรัส = ๒๒.๔๕ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ/๒๐๑๒) แล้วบรรดาธนาคารไซปรัสทั้งหลายก็เอาเงินก้อนนี้ไปลงทุน “ฉลาด ๆ” , “รอบคอบรัดกุม” เช่น ปล่อยกู้ให้รัฐบาลกรีซ เป็นต้น ผลก็คือประเมินความเสี่ยงผิด เกิดวิกฤตซับไพรม์และเงินกู้สาธารณะในยุโรปตามมา ส่งผลให้ระบบธนาคารไซปรัสเจ๊งกะบ๊งล้มละลาย เหลือวิสัยรัฐบาลไซปรัสจะอุ้มไว้อีกต่อไปโดยลำพัง จึงติดต่อขอความช่วยเหลือจาก EU-IMF-ECB ตั้งแต่เมื่อกลางปีก่อน

ข้อเสนอที่ EU-IMF-ECB ยื่นให้รัฐบาลไซปรัสแลกกับเงินกู้หมื่นล้านยูโรเพื่อประคองระบบการเงินการธนาคารและรัฐบาลไซปรัสไว้ก็คือ รัฐบาลไซปรัสจะต้องรีดไถเงินกินเปล่าหรือค่าต๋งหรือส่วยพิเศษ (ไม่รู้จะเรียกให้เพราะกว่านี้ได้ไง) จากบัญชีเงินฝากทุกบัญชีในธนาคารเอกชนในไซปรัสราว ๑๐% ของยอดเงินฝากทั้งหมด เพื่อเอามาชดเชยความสูญเสียจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นและอุ้มพยุงธนาคารที่เสี่ยงลงทุนแล้วเจ๊งนั้นเอาไว้

ประเด็นสำคัญคือนี่เป็นวิธีใหม่ที่ปฏิวัติสุดยอด ไม่เคยมีที่ไหนทำกันขนาดนี้ในโลก ประมาณว่าสงครามโลกครั้งที่สามทางการเงินว่างั้นเถอะ ปกติเขาก็ดึงเอาเงินงบประมาณรัฐบาล (ก็ภาษีชาวบ้านนั่นแหละ) มาอุ้มระบบธนาคารที่เจ๊ง โดยขึ้นภาษีเอากับชาวบ้าน (รีดเลือดจากปู) มั่ง ตัดลดงบประมาณโครงการสวัสดิการสังคมลงมั่ง เรียกว่าบีบรีดไถเอาแบบไฟเย็น ค่อยเป็นค่อยไป ให้ชาวบ้านทนทุกข์ระทมขมขื่นค่อย ๆ สิ้นไร้ไม้ตอก ไร้บ้าน แห้งเหี่ยวอับเฉาหัวโตตายไปเองช้า ๆ แต่นี่มันสุด ๆ คือ “ปล้นกลางแดด” เอาจากบัญชีเงินฝากของชาวบ้านและชาวโลกที่ละโมบโลภมากหลงเชื่อเอาเงินมาฝากในไซปรัสกันเลยทีเดียว คุณฝากไว้ ๑๐๐ ยูโร รัฐบาลริบไปหน้าตาเฉย ๑๐ ยูโร เพื่อเอาไปใช้หนี้ อุ้มนายธนาคารเงินเดือนเป็นล้าน ๆ ที่ลงทุนเฮงซวยแล้วเจ๊ง แทนที่ธนาคารจะทำหน้าที่รับผิดชอบรักษาเงินฝากและดอกเบี้ยงอกเงยของคุณทุกเม็ดทุกสตางค์ไว้ด้วยชีวิต มันกลับสมคบกับรัฐบาลยึดเงินคุณไปร้อยชักสิบดื้อ ๆ เลย นี่ ระบบการเงินทุนนิยมเสรีมันดีอย่างนี้ (มิลตัน ฟรีดแมนและเสรีนิยมใหม่จงเจริญ!) ต้องยอมรับว่าเป็นมาตรการแก้วิกฤตการเงินการธนาคารที่เฉียบขาด ฉับพลัน เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเรียบร้อยในทีเดียวจริง ๆ

แน่นอนครับ ชาวไซปรัสไม่ได้กินแกลบ ใครจะยอม เงินฝากที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาชั่วชีวิตของกู อยู่ดี ๆ มึงทำเจ๊งเองแล้วจะมาชุบมือเปิบหักเอาไปดื้อ ๆ ได้ไง ก็ต้องสู้ตายกันล่ะทีนี้ ดังนั้นก็ลุกฮือทั่วประเทศครับ นัดหยุดงาน นัดหยุดซื้อขาย ให้เศรษฐกิจตายคาที่ไปเลย พร้อมทั้งส่งสัญญาณให้ชาวบ้านร้านตลาดนานาชาติทั่วยุโรปที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารว่า พี่น้องเอ๊ย ดูตัวอย่างเราไว้นะ ปล่อยให้เกิดแบบนี้ที่นี่ได้ไง พี่น้องต้องลุกมาช่วยกันต่อต้านคนละไม้คนละมือ (solidarity) เพราะถ้ามันทำที่ไซปรัสนี่ได้ มันก็ทำที่อิตาลี สเปน โปรตุเกส ฯลฯ กับเงินของพี่น้องได้เหมือนกัน.... เท่านั้นเอง ดีลหักส่วยเงินฝาก ๑๐% ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า สภาไซปรัสไม่ยอมรับและแรงต้านใน EU ก็แรงมากจากมวลชนจนต้องล้มไป

ดีลใหม่ที่เบากว่าเก่าแต่โดยหลักการก็เหมือนกันคือ เล็งเอาเฉพาะบัญชีเงินฝากที่มียอดสูงกว่าแสนยูโร, แช่แข็งบัญชีเหล่านั้นไว้ห้ามเบิกจ่ายโยกย้ายเข้าออก, ให้รัฐบาลล้วงหยิบเงินฝากในบัญชีเหล่านั้นมาจ่ายหนี้โอบอุ้มระบบธนาคารได้ พร้อมทั้งปิดธนาคารเอกชน Laiki ใหญ่อันดับ ๒ ของไซปรัสทิ้ง (หนี้เน่าให้รัฐบาลไซปรัสแบกไป ส่วนสินทรัพย์ที่เหลือให้ธนาคารเอกชนอื่น ๆ มาแบ่งสันปันส่วนกันไปดำเนินการต่อ) ซึ่งแม้จะลดจำนวนผู้ฝากเงินที่เดือดร้อนรายย่อยลง แต่หลักการใหม่ที่ว่า “บัญชีเงินฝากของเอกชนในธนาคารบัดนี้ไม่ใช่เขตหวงห้ามศักดิ์สิทธิ์รัฐบาลล้วงลูกเข้าไปแตะต้องไม่ได้อีกต่อไป” แล้วก็ยังคงอยู่ เรียกว่าเป็นคอมมิวนิสต์กันกลาย ๆ ทีเดียว (ยกเว้นธนาคารเจ๊งกะบ๊งเฮงซวยเหล่านั้น ซึ่งรีดไถเงินผู้ฝากไปอุดรูรั่วตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นของเอกชนอยู่ดี)

สรุปก็คือ ตรวจดูยอดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของคุณหรือยัง? แน่ใจได้ไหมว่ามันจะปลอดภัยไม่ถูกรัฐบาลกับนายธนาคารปล้นกลางแดด? สู้เบิกเอามายัดที่นอนหรือฝังดินเก็บไม่ดีกว่าหรือ? เฮ้อ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..