Skip to main content

นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน

Kasian Tejapira (20/5/56)

1) จับประเด็นเก็บความสังเขปจาก: “การลงร่องของกระฎุมพีไทย”, มติชนสุดสัปดาห์, ๓ – ๙ พ.ค. ๒๕๕๖, น.๓๐.


- อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน


- เรื่องแรกที่สนใจคือ พลวัตของการแตกแยกทางการเมืองในหมู่นักปฏิวัติกระฎุมพีหลังชนะยึดอำนาจรัฐได้ (งานแนวนี้อีก เรื่องที่น่าสนใจนำมาศึกษาเปรียบเทียบคือ Crane Brinton, The Anatomy of Revolution, 1938) กระบวนการคร่าว ๆ มักเป็นดังนี้คือ: -


- แรงขับเคลื่อนเรียกร้องผลักดันของมวลชน → ปีกซ้ายของการปฏิวัติ → นำการปฏิวัติสังคม (รื้อระเบียบ เศรษฐกิจสังคมมูลฐาน)
- พวกเดินสายกลางปฏิรูปรับไม่ได้กับการเอียงซ้าย-ปฏิวัติสังคม → พยายามจำกัดการปฏิวัติไว้แค่ปริมณฑล การเมือง (โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองเท่านั้น) → หันไปร่วมมือกับพวกจารีตนิยม/กลุ่มอำนาจเดิมกลายเป็น ฝ่ายขวา


- อ.นิธิเห็นว่า “การปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ที่มีมาในไทย (ใช้ในความหมายหลวมกว้างที่รวมเอา ๒๔๗๕, ๒๕๑๖, ๒๕๓๕, และปัจจุบันได้ด้วย) เหมือนประสบการณ์การปฏิวัติกระฎุมพีฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ แต่ต่างจากการปฏิวัติสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ และจีน ค.ศ. ๑๙๔๙


- กล่าวคือ ลักษณะเด่นของการปฏิวัติไทย ได้แก่ no core leadership, no organization, no program, no concerted systemic efforts at ideological propaganda or mass mobilization, มีแต่การสร้างอารมณ์ร่วม


- “การปฏิวัติ” ของไทยแต่ละครั้งอาจไม่ขาดหมดเสียทุกอย่าง แต่มีบางอย่าง เช่น ปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีคณะราษฎรเป็นแกนนำ หลวม ๆ อยู่, ปฏิวัติ ๒๕๑๖ มีฐานมวลชนกว้างขวาง, เป็นต้น แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ค่อนข้างขาดสิ่งเหล่านี้ทำให้การปฏิวัติ มีขีดจำกัด (อ.นิธิเอ่ยผ่าน ๆ ว่า การเคลื่อนไหวปฏิวัติของ พคท. มีแกนนำ การจัดตั้ง หลักนโยบายและการปลุกระดมมวลชน ทว่าปฏิวัติแพ้…..)


- ข้อน่าสนใจคือการประเมินรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๐ และการเคลื่อนไหวมวลชนในปัจจุบัน


- นิธิเสนอว่า ภายใต้การนำของเครือข่ายนักปฏิรูปสังคม “รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้เกิดการเมืองมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก” นี่นับเป็นการประเมินที่กว้างขวางต่างไปจากข้อประเมินของ อุเชนทร์ เชียงแสน ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา อุเชนทร์ เสนอการวิเคราะห์ตีความที่น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้การเมืองภาคประชาชนกลายเป็นสถาบัน (คือกลายเป็น แบบแผนปฏิบัติและมีพื้นที่อำนาจทางการในระบบการเมืองการปกครองขึ้นมา) ดูเหมือนข้อเสนอนี้ใกล้เคียงล้อกันกับ ของ อ.นิธิ จุดต่างน่าจะอยู่ตรงอุเชนทร์จำกัดว่าเฉพาะ “การเมืองภาคประชาชน” เท่านั้นที่กลายเป็นสถาบัน ขณะที่นิธิเห็นว่า “การเมืองมวลชน” โดยรวมเลย กล่าวคือ มวลชนระดับล่างได้อาศัยช่องทางในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เข้าร่วมกระบวนการวาง และกำหนดนโยบายผ่านการเลือกตั้งและเคลื่อนไหวกดดันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก (ในคุณภาพและระดับที่ต่างจาก ลำพังการเคลื่อนไหวมวลชนในอดีตที่ผ่านมา เช่น ช่วง ๑๔ - ๖ ตุลาฯ, ช่วงหลังพฤษภาฯ ๒๕๓๕ เป็นต้น)


- นิธิยังวิเคราะห์ต่อว่า เครือข่ายนักปฏิรูปสังคมและอำนาจนำตามประเพณี เสียอำนาจการนำและอิทธิพลลงไปจาก การเมืองมวลชนที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันทำรัฐประหาร ๒๕๔๙ เพื่อโค่นล้มการเมืองมวล ชนลงเสีย สรุปคือ

[เครือข่ายนักปฏิรูปสังคม + อำนาจนำตามประเพณี = รัฐประหาร ๒๕๔๙ vs. การเมืองมวลชน]


-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเมืองมวลชนปัจจุบันมีลักษณะจุดอ่อนเป็นข้อจำกัดร่วมกันกับการปฏิวัติไทยครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมา ในอดีต กล่าวคือ:

- ไม่มีหลักนโยบายชัดเจนว่าจะนำพาสังคมไทยทางไหน ไม่ว่าในระดับปฏิวัติสังคมหรือปฏิรูปสังคม
- ประเด็นการเรียกร้องจึงเริ่มแตกฉานซ่านกระจายเป็นกรณีเฉพาะราย single issues
- นำไปสู่สภาพที่แกนนำกระฎุมพีเสรีนิยมแตกแยกแย่งอำนาจกันเอง
- และหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจเดิมตามลำดับ
→ จะนำไปสู่การเมืองกระฎุมพีปกติ/การเมืองอย่างที่มันเคยเป็น ๆ มาในที่สุด

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..