Skip to main content

นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน

Kasian Tejapira (20/5/56)

1) จับประเด็นเก็บความสังเขปจาก: “การลงร่องของกระฎุมพีไทย”, มติชนสุดสัปดาห์, ๓ – ๙ พ.ค. ๒๕๕๖, น.๓๐.


- อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน


- เรื่องแรกที่สนใจคือ พลวัตของการแตกแยกทางการเมืองในหมู่นักปฏิวัติกระฎุมพีหลังชนะยึดอำนาจรัฐได้ (งานแนวนี้อีก เรื่องที่น่าสนใจนำมาศึกษาเปรียบเทียบคือ Crane Brinton, The Anatomy of Revolution, 1938) กระบวนการคร่าว ๆ มักเป็นดังนี้คือ: -


- แรงขับเคลื่อนเรียกร้องผลักดันของมวลชน → ปีกซ้ายของการปฏิวัติ → นำการปฏิวัติสังคม (รื้อระเบียบ เศรษฐกิจสังคมมูลฐาน)
- พวกเดินสายกลางปฏิรูปรับไม่ได้กับการเอียงซ้าย-ปฏิวัติสังคม → พยายามจำกัดการปฏิวัติไว้แค่ปริมณฑล การเมือง (โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองเท่านั้น) → หันไปร่วมมือกับพวกจารีตนิยม/กลุ่มอำนาจเดิมกลายเป็น ฝ่ายขวา


- อ.นิธิเห็นว่า “การปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ที่มีมาในไทย (ใช้ในความหมายหลวมกว้างที่รวมเอา ๒๔๗๕, ๒๕๑๖, ๒๕๓๕, และปัจจุบันได้ด้วย) เหมือนประสบการณ์การปฏิวัติกระฎุมพีฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ แต่ต่างจากการปฏิวัติสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ และจีน ค.ศ. ๑๙๔๙


- กล่าวคือ ลักษณะเด่นของการปฏิวัติไทย ได้แก่ no core leadership, no organization, no program, no concerted systemic efforts at ideological propaganda or mass mobilization, มีแต่การสร้างอารมณ์ร่วม


- “การปฏิวัติ” ของไทยแต่ละครั้งอาจไม่ขาดหมดเสียทุกอย่าง แต่มีบางอย่าง เช่น ปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีคณะราษฎรเป็นแกนนำ หลวม ๆ อยู่, ปฏิวัติ ๒๕๑๖ มีฐานมวลชนกว้างขวาง, เป็นต้น แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ค่อนข้างขาดสิ่งเหล่านี้ทำให้การปฏิวัติ มีขีดจำกัด (อ.นิธิเอ่ยผ่าน ๆ ว่า การเคลื่อนไหวปฏิวัติของ พคท. มีแกนนำ การจัดตั้ง หลักนโยบายและการปลุกระดมมวลชน ทว่าปฏิวัติแพ้…..)


- ข้อน่าสนใจคือการประเมินรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๐ และการเคลื่อนไหวมวลชนในปัจจุบัน


- นิธิเสนอว่า ภายใต้การนำของเครือข่ายนักปฏิรูปสังคม “รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้เกิดการเมืองมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก” นี่นับเป็นการประเมินที่กว้างขวางต่างไปจากข้อประเมินของ อุเชนทร์ เชียงแสน ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา อุเชนทร์ เสนอการวิเคราะห์ตีความที่น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้การเมืองภาคประชาชนกลายเป็นสถาบัน (คือกลายเป็น แบบแผนปฏิบัติและมีพื้นที่อำนาจทางการในระบบการเมืองการปกครองขึ้นมา) ดูเหมือนข้อเสนอนี้ใกล้เคียงล้อกันกับ ของ อ.นิธิ จุดต่างน่าจะอยู่ตรงอุเชนทร์จำกัดว่าเฉพาะ “การเมืองภาคประชาชน” เท่านั้นที่กลายเป็นสถาบัน ขณะที่นิธิเห็นว่า “การเมืองมวลชน” โดยรวมเลย กล่าวคือ มวลชนระดับล่างได้อาศัยช่องทางในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เข้าร่วมกระบวนการวาง และกำหนดนโยบายผ่านการเลือกตั้งและเคลื่อนไหวกดดันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก (ในคุณภาพและระดับที่ต่างจาก ลำพังการเคลื่อนไหวมวลชนในอดีตที่ผ่านมา เช่น ช่วง ๑๔ - ๖ ตุลาฯ, ช่วงหลังพฤษภาฯ ๒๕๓๕ เป็นต้น)


- นิธิยังวิเคราะห์ต่อว่า เครือข่ายนักปฏิรูปสังคมและอำนาจนำตามประเพณี เสียอำนาจการนำและอิทธิพลลงไปจาก การเมืองมวลชนที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันทำรัฐประหาร ๒๕๔๙ เพื่อโค่นล้มการเมืองมวล ชนลงเสีย สรุปคือ

[เครือข่ายนักปฏิรูปสังคม + อำนาจนำตามประเพณี = รัฐประหาร ๒๕๔๙ vs. การเมืองมวลชน]


-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเมืองมวลชนปัจจุบันมีลักษณะจุดอ่อนเป็นข้อจำกัดร่วมกันกับการปฏิวัติไทยครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมา ในอดีต กล่าวคือ:

- ไม่มีหลักนโยบายชัดเจนว่าจะนำพาสังคมไทยทางไหน ไม่ว่าในระดับปฏิวัติสังคมหรือปฏิรูปสังคม
- ประเด็นการเรียกร้องจึงเริ่มแตกฉานซ่านกระจายเป็นกรณีเฉพาะราย single issues
- นำไปสู่สภาพที่แกนนำกระฎุมพีเสรีนิยมแตกแยกแย่งอำนาจกันเอง
- และหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจเดิมตามลำดับ
→ จะนำไปสู่การเมืองกระฎุมพีปกติ/การเมืองอย่างที่มันเคยเป็น ๆ มาในที่สุด

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง