Skip to main content

อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง

 
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิ.ย. ศกนี้ ศาลสูงสหรัฐฯลงมติเอกฉันท์ ๙: ๐ ให้บริษัท Myriad Genetics Inc. แพ้คดีที่อ้างกรรมสิทธิ์จากการจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์ที่นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทสกัดออกมาจากตัวมนุษย์ เพื่อเอาไปทดสอบว่ามีลักษณะผิดปกติอันอาจนำไปสู่มะเร็งในมดลูกและหน้าอกของผู้หญิงหรือไม่ (การทดสอบแบบเดียวกับที่แองเจลีนา โจลีทำและตัดสินใจผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง)
ศาลสูงแยกแยะระหว่าง [ยีนส์ของคนที่เกิดตามธรรมชาต]ิ กับ [ตัวการทดสอบและ/หรือยีนส์ที่ถูกดัดแปลงเสริมแต่งในห้องทดลองจนผิดแผกแปลกต่างไปจากธรรมชาติ], อันแรกจดสิทธิบัตรเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทเอกชนไม่ได้ มันเป็นของคนที่เกิดตามธรรมชาติ บริษัทแค่ไปดึงออกมาต่างหาก, ส่วนอันหลังบริษัทยังสามารถเอาไปจดสิทธิบัตรอ้างกรรมสิทธิ์ได้ตามปกติ
 
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ซึ่งรับผิดชอบเขียนคำพิพากษาตามมติเอกฉันท์ของศาลสูงดังกล่าวระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า:
 
“กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและความคิดนามธรรมนั้นไม่อาจนำไปจดสิทธิบัตรได้
 
“เราถือว่าส่วนของ DNA ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นผลผลิตของธรรมชาติและจะเอาไปจดสิทธิบัตรเพียงเพราะมันได้ถูกดึงแยกต่างหากออกมา (จากร่างกายมนุษย์) นั้นมิได้
 
“อย่างไรก็ตาม DNA ที่สังเคราะห์สร้างขึ้นยังนำไปจดสิทธิบัตรได้เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ”
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส(Clarence Thomas)
คำพิพากษานี้พลิกโค่นแบบปฏิบัติที่บริษัทเอกชนต่าง ๆ พากันยื่นจดสิทธิบัตรยีนส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อเนื่องกันมากว่า ๓๐ ปี และส่งผลสะเทือนพอสมควรต่ออุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพมูลค่ามหาศาลกำไรสูง
 
มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
 
(ภาพประกอบศาลสูงสหรัฐฯและผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.pri.org/stories/supreme-court-human-genes-cannot-be-patented-14094.html )
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง