Skip to main content

 

Kasian Tejapira(7/7/56)

๑) เป็นเวลาหลายสิบปีหลังการปฏิวัติโค่นระบอบกษัตรย์ของนายพลนัสเซอร์ ต่อมายุคประธานาธิบดีซาดัตและมูบารัค กองทัพอียิปต์ได้รับอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจ สวัสดิการ ธุรกิจ งบประมาณและเงินช่วยเหลือจากอเมริกามหาศาล เรากำลังพูดถึง "กงสียักษ์" ที่มีธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรมรีสอร์ตของตัวเอง, มีอพาร์ตเมนท์ที่พักอย่างดีและร้านค้าพิเศษราคาย่อมเยาสำหรับนายทหารและครอบครัว, มีโรงงานผลิตสินค้าต่าง ๆ ของตัวเอง ดังนั้นรากทางผลประโยชน์และค่าเช่าเศรษฐกิจของกองทัพอียิปต์หยั่งรากลึกมากและแผ่กว้างมหาศาล (เป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างกงสีกองทัพกับลูกชายมูบารัคที่หันไปผลักดันแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่/privatization)


๒) ในการลุกฮือปฏิวัติของมวลชน+รัฐประหารของสภากลาโหมอียิปต์เพื่อโค่นประธานาธิบดีมูบารัคจอมเผด็จการเมื่อสองปีก่อน กองทัพอียิปต์ฉวยโอกาสถือหางทั้งสองข้างและฆ่าคนทั้งสองฝ่ายอย่างถึงที่สุด แม้ตอนจบ พวกนายทหารจะออกมาประกาศหนุนมวลชน บีบมูบารัคให้ลาออก และยืนดูเฉยขณะมวลชนบุกเผาที่ทำการใหญ่ของพรรคมูบารัค แต่ขณะเดียวกัน มวลชนฝ่ายต่อต้านมูบารัคเกือบพันที่ล้มตาย ถูกอุ้มหาย โผล่อีกทีกลายเป็นศพ ก็เป็นฝีมือทหารทำเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นไปตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ประธานาธิบดีมอร์ซีตั้งขึ้นมาเอง (http://www.dignityinstitute.org/servicenavigation/news-and-activities/international-news/2013/04/egypt%27s-army-took-part-in-torture-and-killings-during-revolution-the-guardian.aspx)

๓) แต่ทหารไม่ต้องกลัวว่าจะโดนดำเนินคดี เพราะ(อดีต)ประธานาธิบดีมอร์ซีได้ deal กับทหารไว้เรียบร้อยแล้ว ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังปฏิวัติโค่นมูบารัคที่มอร์ซีตั้งคณะกรรมการ (ส่วนใหญ่เป็นคนของ Muslim Brotherhood) ร่างเองแล้วโหวตผ่านประชามติมาแล้วนั้น มีมาตราที่ยกทหารไว้ว่าจะดำเนินคดีต่อพวกเขาได้ก็แต่โดยศาลทหารเท่านั้น ไม่ต้องมาขึ้นศาลพลเรือนปกติ ดังนั้นเมื่อรายงานอื้อฉาวดังกล่าวแพลมออกมา มอร์ซีก็เหยียบมันไว้เฉย ๆ ไม่ทำอะไร ไม่ดำเนินคดีกับบรรดานายทหารเก่าทีรับผิดชอบปราบฆ่าประชาชนตอนปฏิวัติโค่นมูบารัคดังกล่าว หรือต่อให้ดำเนินคดี คงยากมาก ๆ ที่ศาลทหารจะตัดสินเอาผิดกับบรรดานายทหารด้วยกันเอง

๔) ดังนั้นหลังปฏิวัติโค่นมูบารัคสองปีที่ผ่านมา ทหารยังคงบิดเบือนฉวยใช้อำนาจ เล่นรังแกสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุมและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ไม่หยุดหย่อน ไม่ว่าบังคับตรวจพรหมจรรย์ผู้ชุมนุมหญิงในเวลาค่ำคืน, ฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมชาวคริสเตียนคอพติคยี่สิบกว่าคน ฯลฯ โดยไม่ต้องห่วงว่าใครจะทำอะไรกับตนทางกฎหมายได้

๕) ในการลุกฮือของมวลชน+รัฐประหารโดยทหารโค่นประธานาธิบดีมอร์ซีล่าสุด ฝ่ายเศษเดนสมุนมูบารัคก็ออกมาเอาคืนเช่นกัน โดยรุมกระทืบรัฐบาลมอร์ซีอย่างสมแค้น แต่มีแนวทางชัดเจนว่า เรียกร้องให้ทหารออกมารัฐประหารโค่นมอร์ซีเสีย โดยเป็นกระบอกเสียงป่าวร้องทางสื่อมวลชนสารพัดขอให้ทหารเข้ามากุมกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย อย่าปล่อยให้มอร์ซี Muslim Brotherhood หรือคนอื่นทำ ซึ่งในที่สุดคำเรียกร้องของพวกสมุนมูบารัคเก่าก็ปรากฏเป็นจริง

สรุป กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย

นี่คือสถาบันที่กำลังดูแลการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของอียิปต์ปัจจุบันจ้า.....

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ