Skip to main content
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 

ผมได้ยินกิตติศัพท์บาบู Chatterjee มานานในฐานะผู้บุกเบิกก่อตั้ง Subaltern Studies (ศึกษาความทันสมัยของประเทศหลังอาณานิคมทั้งหลายจากจุดยืน/มุมมองของชนชั้นผู้ถูกกดทับ) โดยเฉพาะเมื่อแกตีพิมพ์หนังสือ Nationalist Thought and the Colonial World (1986) เพื่อวิจารณ์งานเรื่อง Imagined Communities ของครูเบ็น แอนเดอร์สัน แต่เพิ่งเจอะเจอและได้เสวนากับตัวจริงในคราวไปประชุมวิชาการที่เมืองเฟซ ประเทศโมร็อกโก เมื่อปี ๒๐๐๔ ก็เป็นผู้ใหญ่ใจดีที่รอบรู้มาก แกอภิปรายในที่เสวนาแต่ละทียังกับขนหอจดหมายเหตุยุคอาณานิคมอังกฤษในอินเดียมาแบกางให้ดูแล้ววิเคราะห์ตีความ และบ่นอุบว่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมกาใช้งานแกหนักมาก ให้แกดูแลวิทยานิพนธ์เด็กนับสิบ ซึ่งแกก็ใจอ่อน ไม่อยากปฏิเสธ.....

หลังเจอกันหนนั้น ผมก็ตามเก็บงานวิชาการประเภทบทความและหนังสือของแกเท่าที่หาได้มาเรื่อย ๆ รวมทั้ง "Peasant cultures of the twenty-first century" (2008 http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2009/08/Chatterjee-peasant-cultures.pdf ) ด้วย แต่มาถูกระตุกกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของบทความนี้อีกทีเมื่ออ่านงานของ Andrew Walker เรื่อง Thailand's Political Peasants (2012 http://www.eastasiaforum.org/2012/08/29/thailands-political-peasants/ ) เมื่อต้นปีนี้แล้วพบว่า Walker ชี้แจงว่าเขาดึงแนวคิดพื้นฐานในการตีความเข้าใจสถานการณ์ชาวนาไทยมาจากบทความนี้ของบาบู Chatterjee

บทความนี้เป็นบทวิจารณ์ตัวเองของ Chatterjee ในฐานะตัวแทนสำนัก subaltern studies โดยรวมก็ว่าได้ กล่าวคือแกเสนอว่าแนวทางศึกษาชาวนาแบบเดิมของ subaltern studies ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์และใช้ไม่ได้แล้ว จนต้องรื้อโละเครื่องมือคิดวิเคราะห์สังคมชาวนาเอเชีย (โดยเฉพาะจีน อินเดีย เอเชียอาคเนย์ รวมทั้งไทย) ใหม่หมด ในบรรดาความเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ที่แกอ้างอิงถึง ได้แก่:

 

๑) รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ไม่ใช่ปัจจัยภายนอกอีกต่อไป

 

๒) เนื่องจากเกิดการปฏิรูปโครงสร้างทรัพย์สินภาคเกษตรใหม่ บัดนี้ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้าชนชั้นขูดรีด (เช่นเจ้าที่ดินศักดินา/กึ่งศักดินา) โดยตรงในหมู่บ้านอีกต่อไป

 

๓) ในสภาพที่ภาษีที่นาลดความสำคัญลงสำหรับรัฐ รัฐจึงไม่ได้มารีดไถชาวนาโดยตรงอีกต่อไป

 

๔) การที่ชาวชนบทจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้าเมือง เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกรรม ไม่ใช่เพราะยากจน สิ้นหนทาง แต่เพราะมองเห็นโอกาสยกระดับตัวเองทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น จึงอยากเสี่ยงไปเองแม้รู้ว่าจะลำบากก็ตาม

 

๕) หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ต้องการเข้าเมืองเพื่อเลื่อนชั้นฐานะทางเศรษฐกิจสังคมและปลดปล่อยตัวเองจากเอกลักษณ์เดิม

 

ผมจะทยอยเล่าข้อวิเคราะห์ของ Chatterjee เรื่องนี้ให้ฟังต่อภายหลังนะครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ