Skip to main content
 
เราได้ยินได้เห็นมานานแล้วว่า "ทุนนิยมคือการทำทุกอย่างให้เป็นสินค้า" (Capitalism is the commodification of everything. - Immanuel Wallerstein)
 
ทุกอย่าง ไม่ยกเว้น รวมทั้งซอกหลืบทุกส่วนของอวัยวะร่างกายคน 
 
ส่วนของผู้หญิงที่เพิ่งโดนทำให้เป็นสินค้าไปสด ๆ ร้อน ๆ ไม่เกินสิบปีที่ผ่านมาคือ "วงแขน"
 
วิธีการซับซ้อนหลากหลายขั้นตอน เช่น
 
- เปลี่ยนคำเรียกอวัยวะซอกหลืบส่วนนั้นของผู้หญิงจาก "จั๊กกะแร้" หรือ "รักแร้" หรือ "ซอกแขน" มาเป็นคำบัญญัติใหม่ที่ไม่มีมาก่อนในพจนานุกรมแต่ฟังละมุนหูกว่าเยอะเบย คือ "วงแขน"
 
- พา "วงแขน" ออกมาสู่ที่สาธารณะ ทำให้มันเห็นได้ visible ไม่อยู่ใต้ร่มผ้า --> ปรากฏต่อสาธารณะได้ publicized --> และโชว์แสดงเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามได้ showy --> โดยสถาปนาคุณสมบัติต่อเติมพิเศษผิดปกติวิสัยธรรมชาติให้จั๊กกะแร้ ได้แก่ แห้ง, ขาว, หอม (dry, whitish, perfumed) --> จนมันกลายเป็นสัญญาะแห่งปมเด่น/ปมด้อยข่มทับกันของความเป็นหญิง signifier of superiority/inferiority complex of womanhood or female sexuality
 
- จากนี้ก็ง่ายแล้วล่ะครับ แค่จัดการ commodify วงแขนผ่านครีมทานานาชนิดที่จะเปลี่ยนจั๊กกะแร้แฉะ-ดำ-เหม็น ธรรมชาติธรรมดาของคุณให้กลายเป็นวงแขนแห้ง-ขาว-หอมในอุดมคติ (ที่ถูกบัญญัติให้เป็นปกติธรรมดาของวงแขนทั่วไป) ในราคาเท่านั้นเท่านี้บาทเท่านั้นเอง
 
การที่กองบรรณาธิการนสพ.รายสัปดาห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง....
ภาพจาก www.theguardian.com
 
แต่น่าเสียดาย มันโดยแบนเสียก่อนเพราะถูกหาว่า "อนาจาร" ในทางกลับกัน เพราะโดนแบน ปกดังกล่าวจึงดังระเบิดและหวังว่า "สาส์น" ที่กองบก. Honi Soit อยากสื่อจะตามไปถึงด้วย

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ