Skip to main content

"อธิการบดี มธ.แจง ไม่มีกฎบังคับใส่ชุดนักศึกษา เตรียมเรียกตักเตือน นศ.ทำโปสเตอร์ต้านไม่เหมาะสม"
http://www.mcot.net/site/content?id=522b08b0150ba00e38000032#.UixgpURBlGF

 

"สัมภาษณ์ "อั้ม เนโกะ" ค้นความหมาย "4 ภาพ sex" เกี่ยวอะไรกับการต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
http://prachatai.com/journal/2013/09/48627
 

มองจากมุมรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์และผู้บริหารในมหาวิทยาลัยก็เป็นความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบหนึ่ง

ในความสัมพันธ์ทางอำนาจนั้น มีความเหลื่อมล้ำ (อำนาจแต่ละฝ่ายไม่เท่ากันและมีขอบเขตต่างกัน) ขณะเดียวกัน แต่ละฝ่ายก็มีพื้นที่สิทธิเฉพาะตนตามฐานะบทบาทที่มีอยู่ พื้นที่สิทธิแปลว่าเป็นเขตอัตวินิจฉัยปกครองตนเองตัดสินใจอิสระของบุคคลใน ฐานะบทบาทหนึ่ง ๆ ในพื้นที่สิทธินั้น อำนาจห้ามเข้ามาล่วงล้ำ ล่วงล้ำเมื่อไหร่เกิดเรื่อง

กรณีการบังคับให้แต่งเครื่องแบบนักศึกษาเข้าเรียนวิชาหนึ่งที่ตกเป็นข่าวก็ เป็นเรื่องทำนองนี้ คืออำนาจล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่สิทธิซึ่งไม่ใช่ธุระกงการอะไรของอำนาจ เมื่อบุคคล/กลุ่มบุคคลลุกขึ้นประท้วงปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของตน ก็ชอบแล้วที่อำนาจจะถอยออกไป

ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร จะราบรื่นได้หากเข้าใจว่า

๑) ระเบียบที่มีอยู่ทั้งเป็นฐานให้ใช้อำนาจ และทั้งเป็นฐานคุ้มครองพื้นที่สิทธิ หรือพูดอีกอย่างเป็นหน้าที่ของอำนาจตามระเบียบของการอยู่ร่วมกันทำงานร่วม กันเป็นมหาวิทยาลัยที่จะต้องคุ้มครองปกป้องพื้นที่สิทธินั้นด้วย หากไม่ปกป้องสิทธิ อำนาจก็บกพร่องในหน้าที่ และในทางกลับกัน หากไม่มีอำนาจดำรงอยู่ ก็จะไม่มีกลไกป้องกันสิทธิเช่นกัน ภายใต้ระเบียบนี้ อำนาจบริหารกับพื้นที่สิทธิจึงกลายเป็นเงื่อนไขของกันและกัน และดำรงอยู่ด้วยกัน

๒) เหตุแห่งการมีอยู่คงอยู่ดำรงอยู่ของทั้งอำนาจและพื้นที่สิทธิก็เพื่อบรรลุ เป้าหมายร่วมกันของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นที่สุด เป้าหมายดังกล่าวไม่ควรคลาดหายจากสายตาเพราะในที่สุดมันเป็นตัวอธิบายให้ ความชอบธรรมและกำกับทั้งพื้นที่สิทธิและขอบเขตของอำนาจ

การใช้อำนาจเรียกให้มาชี้แจงหรือกระทั่งตั้งกรรมการสอบสวนไม่น่าจะช่วยแก้ปัญหา เพราะมันหลอนใจว่าดูเหมือนกระทำซ้ำซากกับต้นตอบ่อเกิดของปัญหาความขัดแย้งแต่ต้น (คือการใช้อำนาจที่ล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่สิทธิของนักศึกษา) หากมีข้อกังวลห่วงใยเกี่ยวกับพฤติกรรมรูปแบบการเคลื่อนไหวประท้วงของนักศึกษาก็ชอบที่ผู้บริหาร คณาจารย์หรือนักศึกษาด้วยกันจะใช้สิทธิวิเคราะห์วิจารณ์ท้วงติงในพื้นที่สาธารณะเช่นกัน การให้ข้อคิดทักท้วงตักเตือนกันอย่างเสรีและฉันคนร่วมมหาวิทยาลัยเดียวกัน เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ ใช้ดุลพินิจถึงความเหมาะไม่เหมาะควรไม่ควรของการใช้สิทธิของตน ในลักษณะเห็นต่างกันได้ คุยกันได้ แนะนำกันได้ ฟังกันได้ และพอทนกันได้โดยไม่ต้องเห็นพ้องต้องกัน บนฐานเหตุผลข้อเท็จจริงน่าจะดีกับแนวทางการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่าง อำนาจกับพื้นที่สิทธิในมหาวิทยาลัยต่อไป



คำถามต่าง ๆ เช่น
- รูปแบบการแสดงออกสอดรับกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อหรือไม่?
- หรือรูปแบบนั้นกลับฉีกดึงประเด็นและชักจูงความสนใจให้เบี่ยงเบนไขว้เขวไปจากเป้าที่ต้องการ/สารที่อยากสื่อ?
- การเลือกรูปแบบที่เหมาะกับเนื้อหาจำเป็นหรือไม่ หรือไม่จำเป็น?
- เมื่อใดอย่างไรรูปแบบจึงรับใช้เนื้อหาอย่างชัดเจนแม่นยำมีพลัง หรือเมื่อไหร่รูปแบบจึงสนองความสนใจและโน้มเอียงของผู้สื่อมากกว่าเนื้อหา?
ฯลฯลฯลฯ

คำถามเหล่านี้ถามกันได้และไม่แปลกที่จะถาม เห็นต่างกันได้และไม่แปลกที่จะเห็นต่าง เพราะพื้นที่สิทธิไม่ใช่พื้นที่อนาธิปไตย เหมือนกับที่อำนาจไม่ใช่สิ่งที่ดำรงอยู่โดยพลการ หากต้องมีเป้าหมายและความชอบธรรมกำกับรองรับ จึงจะอยู่กับพื้นที่สิทธิของฝ่ายต่าง ๆ ไปได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนและมีพลวัต

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม