Skip to main content

Kasian Tejapira(15/9/56)

แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน เทเรซ่า ฟอร์คาดส์ แห่งนิกายเบเนดิคธีน (เกิด ค.ศ.๑๙๖๖ ที่เมืองบาร์เซโลนา) ขึ้นชื่อว่าเป็นปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ ย้อนศรการตัดทอนงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล ให้โอนกิจการธนาคารและบริษัทพลังงานทั้งมวลเป็นของรัฐ ผลักดันแนวคิดเฟมินิสต์คริสเตียน และสวัสดิการการแพทย์และสาธารณสุข
 
สำนักชีเซนต์เบเนธบนภูเขามองต์เซอราตอันศักดิ์สิทธิ์สงบสวยงามในสเปนซึ่งมีแม่ชีอยู่ราว ๓๐ กว่าคนกลายเป็นฐานที่มั่นและกองบัญชาการการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอด้วยแรงรักสนับสนุนของแม่ชีร่วมสำนักทั้งมวลที่เห็นว่าเธอเป็น “ของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า” และกำลังบุกเบิกทางใหม่แบบเฟมินิสต์ให้กับคริสตจักรคาทอลิก ผ่านรายการทอล์คโชว์ของทีวีท้องถิ่น, สื่อทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/Forcades กิจกรรมของเธอเยอะแยะมากมายเสียจนกระทั่งหาตัวแม่ชีเทเรซ่าว่าอยู่ไหนยากยิ่ง บ่อยครั้งที่กล่องอีเมล์ของเธอซึ่งมีเลขานุการดูแลให้ส่งคำตอบกลับมาโดยอัตโนมัติว่า “กล่องจดหมายเข้าเต็มแล้ว”
 
เธอจบการศึกษามาทางการแพทย์และเทววิทยาทั้งที่สเปนและอเมริกา ด้วยแววตาสุกใส บุคลิกเชื่อมั่นแจ่มใสสดชื่น เธอปราศรัยต่อฝูงชนเก่งและวางแผนเคลื่อนไหวได้เฉียบคม ทั้งยังพูดภาษาอังกฤษได้สมบูรณ์แบบค่าที่ไปอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในอเมริกามาหลายปี เธอใส่ชุดแม่ชีคลุมผมอยู่เสมอ และยืนยันว่าทุกอย่างที่เธอทำมาจากศรัทธาและการอุทิศตัวให้คริสต์ศาสนาอย่างลึกซึ้ง แม้เธอจะวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักรคาทอลิกและบาทหลวงที่บริหารมันอย่างรุนแรงก็ตาม
 
ขบวนการเคลื่อนไหวของเธอซึ่งชื่อว่า “กระบวนการสถาปนา” (Proces Constituent) ซึ่งล่ารายชื่อผู้เห็นด้วยชาวคาตาลันได้ราว ๕ หมื่นคนในปีนี้ ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายที่ไม่นับถือศาสนา เธอยืนยันว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งใด ๆ และไม่ตั้งพรรคการเมือง หากจะเคลื่อนไหวอิสระเพื่อบรรลุการล้มเลิกระบบทุนนิยมสากลและเปลี่ยนโฉมแผนที่ประเทศสเปนตามหลักนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
 
แต่ละวันมีขบวนผู้คนแวะมาเยี่ยมและพูดคุยกับแม่ชีเทราซ่าที่สำนักชีต่อเนื่องไม่ขาดสาย เธอเองก็ออกเคลื่อนไหวภายนอกไม่หยุดเช่นกัน เวลาเธอขึ้นไฮด์ปาร์คกลางเมือง ผู้คนจะแห่มาฟังเธอจนแน่นขนัด โดยเฉพาะแนวคิดข้อเสนอพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของเธอที่นักการเมืองกระแสหลักของสเปนมากมายได้ยินแล้วแตกตื่นตกใจ เธอเองชื่นชมคานธี นโยบายบางอย่างที่อดีตประธานาธิบดี ฮิวโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอล่าผู้ล่วงลับและประธานาธิบดีอีโว โมราเลสแห่งโบลิเวียดำเนิน อย่างไรก็ตามที่จับใจเธอเป็นพิเศษได้แก่ตัวแบบเศรษฐกิจของแม่ชีนิกายเบเนดิคที่มีมาหลายร้อยปีซึ่งเน้นการผลิตสร้างสินค้าที่เป็นประโยชน์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
 
แน่นอนว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวของเธอตกเป็นเป้าวิจารณ์โจมตีของสังฆาธิการทั้งหลายที่จงรักภักดีต่อทางการวาติกัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของเธอตั้งแต่เรื่องยึดกิจการธนาคารไปจนถึงการเปิดทำแท้งเสรี อย่างไรก็ตามพระสังฆาธิการเจ้าคณะของเธอในท้องถิ่นยังคงอนุญาตให้เธอเคลื่อนไหวต่อไปได้ไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด
 
ในทางส่วนตัว แม่ชีเทเรซ่าเผยว่าสมัยวัยรุ่น เธอเองก็ลังเลจะบวชชีเพราะข้อบังคับเรื่องรักษาพรหมจรรย์ อย่างไรก็ตามหลังบวชชีแล้ว เธอเองก็เคย “ตกหลุมรัก” ถึง ๓ ครั้งแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยความยึดมั่นอุทิศตนแก่พระผู้เป็นเจ้าและสำนักชีของเธอ เธอสรุปท้ายว่า:
 
“ตราบใดที่ชีวิตทางศาสนาของฉันเปี่ยมด้วยความรัก ฉันจะคงอยู่ที่นี่ แต่เมื่อใดชีวิตนี้เอวังสุดทางลง...ก็เป็นหน้าที่ของฉันที่จะผละจากมันไป”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..