แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน เทเรซ่า ฟอร์คาดส์ แห่งนิกายเบเนดิคธีน (เกิด ค.ศ.๑๙๖๖ ที่เมืองบาร์เซโลนา) ขึ้นชื่อว่าเป็นปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ ย้อนศรการตัดทอนงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล ให้โอนกิจการธนาคารและบริษัทพลังงานทั้งมวลเป็นของรัฐ ผลักดันแนวคิดเฟมินิสต์คริสเตียน และสวัสดิการการแพทย์และสาธารณสุข
สำนักชีเซนต์เบเนธบนภูเขามองต์เซอราตอันศักดิ์สิทธิ์สงบสวยงามในสเปนซึ่งมีแม่ชีอยู่ราว ๓๐ กว่าคนกลายเป็นฐานที่มั่นและกองบัญชาการการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอด้วยแรงรักสนับสนุนของแม่ชีร่วมสำนักทั้งมวลที่เห็นว่าเธอเป็น “ของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า” และกำลังบุกเบิกทางใหม่แบบเฟมินิสต์ให้กับคริสตจักรคาทอลิก ผ่านรายการทอล์คโชว์ของทีวีท้องถิ่น, สื่อทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/Forcades กิจกรรมของเธอเยอะแยะมากมายเสียจนกระทั่งหาตัวแม่ชีเทเรซ่าว่าอยู่ไหนยากยิ่ง บ่อยครั้งที่กล่องอีเมล์ของเธอซึ่งมีเลขานุการดูแลให้ส่งคำตอบกลับมาโดยอัตโนมัติว่า “กล่องจดหมายเข้าเต็มแล้ว”
เธอจบการศึกษามาทางการแพทย์และเทววิทยาทั้งที่สเปนและอเมริกา ด้วยแววตาสุกใส บุคลิกเชื่อมั่นแจ่มใสสดชื่น เธอปราศรัยต่อฝูงชนเก่งและวางแผนเคลื่อนไหวได้เฉียบคม ทั้งยังพูดภาษาอังกฤษได้สมบูรณ์แบบค่าที่ไปอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในอเมริกามาหลายปี เธอใส่ชุดแม่ชีคลุมผมอยู่เสมอ และยืนยันว่าทุกอย่างที่เธอทำมาจากศรัทธาและการอุทิศตัวให้คริสต์ศาสนาอย่างลึกซึ้ง แม้เธอจะวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักรคาทอลิกและบาทหลวงที่บริหารมันอย่างรุนแรงก็ตาม
ขบวนการเคลื่อนไหวของเธอซึ่งชื่อว่า “กระบวนการสถาปนา” (Proces Constituent) ซึ่งล่ารายชื่อผู้เห็นด้วยชาวคาตาลันได้ราว ๕ หมื่นคนในปีนี้ ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายที่ไม่นับถือศาสนา เธอยืนยันว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งใด ๆ และไม่ตั้งพรรคการเมือง หากจะเคลื่อนไหวอิสระเพื่อบรรลุการล้มเลิกระบบทุนนิยมสากลและเปลี่ยนโฉมแผนที่ประเทศสเปนตามหลักนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
แต่ละวันมีขบวนผู้คนแวะมาเยี่ยมและพูดคุยกับแม่ชีเทราซ่าที่สำนักชีต่อเนื่องไม่ขาดสาย เธอเองก็ออกเคลื่อนไหวภายนอกไม่หยุดเช่นกัน เวลาเธอขึ้นไฮด์ปาร์คกลางเมือง ผู้คนจะแห่มาฟังเธอจนแน่นขนัด โดยเฉพาะแนวคิดข้อเสนอพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของเธอที่นักการเมืองกระแสหลักของสเปนมากมายได้ยินแล้วแตกตื่นตกใจ เธอเองชื่นชมคานธี นโยบายบางอย่างที่อดีตประธานาธิบดี ฮิวโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอล่าผู้ล่วงลับและประธานาธิบดีอีโว โมราเลสแห่งโบลิเวียดำเนิน อย่างไรก็ตามที่จับใจเธอเป็นพิเศษได้แก่ตัวแบบเศรษฐกิจของแม่ชีนิกายเบเนดิคที่มีมาหลายร้อยปีซึ่งเน้นการผลิตสร้างสินค้าที่เป็นประโยชน์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
แน่นอนว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวของเธอตกเป็นเป้าวิจารณ์โจมตีของสังฆาธิการทั้งหลายที่จงรักภักดีต่อทางการวาติกัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของเธอตั้งแต่เรื่องยึดกิจการธนาคารไปจนถึงการเปิดทำแท้งเสรี อย่างไรก็ตามพระสังฆาธิการเจ้าคณะของเธอในท้องถิ่นยังคงอนุญาตให้เธอเคลื่อนไหวต่อไปได้ไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด
ในทางส่วนตัว แม่ชีเทเรซ่าเผยว่าสมัยวัยรุ่น เธอเองก็ลังเลจะบวชชีเพราะข้อบังคับเรื่องรักษาพรหมจรรย์ อย่างไรก็ตามหลังบวชชีแล้ว เธอเองก็เคย “ตกหลุมรัก” ถึง ๓ ครั้งแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยความยึดมั่นอุทิศตนแก่พระผู้เป็นเจ้าและสำนักชีของเธอ เธอสรุปท้ายว่า:
“ตราบใดที่ชีวิตทางศาสนาของฉันเปี่ยมด้วยความรัก ฉันจะคงอยู่ที่นี่ แต่เมื่อใดชีวิตนี้เอวังสุดทางลง...ก็เป็นหน้าที่ของฉันที่จะผละจากมันไป”
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง