Skip to main content

Kasian Tejapira(15/9/56)

แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน เทเรซ่า ฟอร์คาดส์ แห่งนิกายเบเนดิคธีน (เกิด ค.ศ.๑๙๖๖ ที่เมืองบาร์เซโลนา) ขึ้นชื่อว่าเป็นปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ ย้อนศรการตัดทอนงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล ให้โอนกิจการธนาคารและบริษัทพลังงานทั้งมวลเป็นของรัฐ ผลักดันแนวคิดเฟมินิสต์คริสเตียน และสวัสดิการการแพทย์และสาธารณสุข
 
สำนักชีเซนต์เบเนธบนภูเขามองต์เซอราตอันศักดิ์สิทธิ์สงบสวยงามในสเปนซึ่งมีแม่ชีอยู่ราว ๓๐ กว่าคนกลายเป็นฐานที่มั่นและกองบัญชาการการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอด้วยแรงรักสนับสนุนของแม่ชีร่วมสำนักทั้งมวลที่เห็นว่าเธอเป็น “ของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า” และกำลังบุกเบิกทางใหม่แบบเฟมินิสต์ให้กับคริสตจักรคาทอลิก ผ่านรายการทอล์คโชว์ของทีวีท้องถิ่น, สื่อทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/Forcades กิจกรรมของเธอเยอะแยะมากมายเสียจนกระทั่งหาตัวแม่ชีเทเรซ่าว่าอยู่ไหนยากยิ่ง บ่อยครั้งที่กล่องอีเมล์ของเธอซึ่งมีเลขานุการดูแลให้ส่งคำตอบกลับมาโดยอัตโนมัติว่า “กล่องจดหมายเข้าเต็มแล้ว”
 
เธอจบการศึกษามาทางการแพทย์และเทววิทยาทั้งที่สเปนและอเมริกา ด้วยแววตาสุกใส บุคลิกเชื่อมั่นแจ่มใสสดชื่น เธอปราศรัยต่อฝูงชนเก่งและวางแผนเคลื่อนไหวได้เฉียบคม ทั้งยังพูดภาษาอังกฤษได้สมบูรณ์แบบค่าที่ไปอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในอเมริกามาหลายปี เธอใส่ชุดแม่ชีคลุมผมอยู่เสมอ และยืนยันว่าทุกอย่างที่เธอทำมาจากศรัทธาและการอุทิศตัวให้คริสต์ศาสนาอย่างลึกซึ้ง แม้เธอจะวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักรคาทอลิกและบาทหลวงที่บริหารมันอย่างรุนแรงก็ตาม
 
ขบวนการเคลื่อนไหวของเธอซึ่งชื่อว่า “กระบวนการสถาปนา” (Proces Constituent) ซึ่งล่ารายชื่อผู้เห็นด้วยชาวคาตาลันได้ราว ๕ หมื่นคนในปีนี้ ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายที่ไม่นับถือศาสนา เธอยืนยันว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งใด ๆ และไม่ตั้งพรรคการเมือง หากจะเคลื่อนไหวอิสระเพื่อบรรลุการล้มเลิกระบบทุนนิยมสากลและเปลี่ยนโฉมแผนที่ประเทศสเปนตามหลักนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
 
แต่ละวันมีขบวนผู้คนแวะมาเยี่ยมและพูดคุยกับแม่ชีเทราซ่าที่สำนักชีต่อเนื่องไม่ขาดสาย เธอเองก็ออกเคลื่อนไหวภายนอกไม่หยุดเช่นกัน เวลาเธอขึ้นไฮด์ปาร์คกลางเมือง ผู้คนจะแห่มาฟังเธอจนแน่นขนัด โดยเฉพาะแนวคิดข้อเสนอพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของเธอที่นักการเมืองกระแสหลักของสเปนมากมายได้ยินแล้วแตกตื่นตกใจ เธอเองชื่นชมคานธี นโยบายบางอย่างที่อดีตประธานาธิบดี ฮิวโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอล่าผู้ล่วงลับและประธานาธิบดีอีโว โมราเลสแห่งโบลิเวียดำเนิน อย่างไรก็ตามที่จับใจเธอเป็นพิเศษได้แก่ตัวแบบเศรษฐกิจของแม่ชีนิกายเบเนดิคที่มีมาหลายร้อยปีซึ่งเน้นการผลิตสร้างสินค้าที่เป็นประโยชน์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
 
แน่นอนว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวของเธอตกเป็นเป้าวิจารณ์โจมตีของสังฆาธิการทั้งหลายที่จงรักภักดีต่อทางการวาติกัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของเธอตั้งแต่เรื่องยึดกิจการธนาคารไปจนถึงการเปิดทำแท้งเสรี อย่างไรก็ตามพระสังฆาธิการเจ้าคณะของเธอในท้องถิ่นยังคงอนุญาตให้เธอเคลื่อนไหวต่อไปได้ไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด
 
ในทางส่วนตัว แม่ชีเทเรซ่าเผยว่าสมัยวัยรุ่น เธอเองก็ลังเลจะบวชชีเพราะข้อบังคับเรื่องรักษาพรหมจรรย์ อย่างไรก็ตามหลังบวชชีแล้ว เธอเองก็เคย “ตกหลุมรัก” ถึง ๓ ครั้งแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยความยึดมั่นอุทิศตนแก่พระผู้เป็นเจ้าและสำนักชีของเธอ เธอสรุปท้ายว่า:
 
“ตราบใดที่ชีวิตทางศาสนาของฉันเปี่ยมด้วยความรัก ฉันจะคงอยู่ที่นี่ แต่เมื่อใดชีวิตนี้เอวังสุดทางลง...ก็เป็นหน้าที่ของฉันที่จะผละจากมันไป”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล