Skip to main content

Kasian Tejapira(15/9/56)

แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน เทเรซ่า ฟอร์คาดส์ แห่งนิกายเบเนดิคธีน (เกิด ค.ศ.๑๙๖๖ ที่เมืองบาร์เซโลนา) ขึ้นชื่อว่าเป็นปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ ย้อนศรการตัดทอนงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล ให้โอนกิจการธนาคารและบริษัทพลังงานทั้งมวลเป็นของรัฐ ผลักดันแนวคิดเฟมินิสต์คริสเตียน และสวัสดิการการแพทย์และสาธารณสุข
 
สำนักชีเซนต์เบเนธบนภูเขามองต์เซอราตอันศักดิ์สิทธิ์สงบสวยงามในสเปนซึ่งมีแม่ชีอยู่ราว ๓๐ กว่าคนกลายเป็นฐานที่มั่นและกองบัญชาการการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอด้วยแรงรักสนับสนุนของแม่ชีร่วมสำนักทั้งมวลที่เห็นว่าเธอเป็น “ของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า” และกำลังบุกเบิกทางใหม่แบบเฟมินิสต์ให้กับคริสตจักรคาทอลิก ผ่านรายการทอล์คโชว์ของทีวีท้องถิ่น, สื่อทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/Forcades กิจกรรมของเธอเยอะแยะมากมายเสียจนกระทั่งหาตัวแม่ชีเทเรซ่าว่าอยู่ไหนยากยิ่ง บ่อยครั้งที่กล่องอีเมล์ของเธอซึ่งมีเลขานุการดูแลให้ส่งคำตอบกลับมาโดยอัตโนมัติว่า “กล่องจดหมายเข้าเต็มแล้ว”
 
เธอจบการศึกษามาทางการแพทย์และเทววิทยาทั้งที่สเปนและอเมริกา ด้วยแววตาสุกใส บุคลิกเชื่อมั่นแจ่มใสสดชื่น เธอปราศรัยต่อฝูงชนเก่งและวางแผนเคลื่อนไหวได้เฉียบคม ทั้งยังพูดภาษาอังกฤษได้สมบูรณ์แบบค่าที่ไปอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในอเมริกามาหลายปี เธอใส่ชุดแม่ชีคลุมผมอยู่เสมอ และยืนยันว่าทุกอย่างที่เธอทำมาจากศรัทธาและการอุทิศตัวให้คริสต์ศาสนาอย่างลึกซึ้ง แม้เธอจะวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักรคาทอลิกและบาทหลวงที่บริหารมันอย่างรุนแรงก็ตาม
 
ขบวนการเคลื่อนไหวของเธอซึ่งชื่อว่า “กระบวนการสถาปนา” (Proces Constituent) ซึ่งล่ารายชื่อผู้เห็นด้วยชาวคาตาลันได้ราว ๕ หมื่นคนในปีนี้ ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายที่ไม่นับถือศาสนา เธอยืนยันว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งใด ๆ และไม่ตั้งพรรคการเมือง หากจะเคลื่อนไหวอิสระเพื่อบรรลุการล้มเลิกระบบทุนนิยมสากลและเปลี่ยนโฉมแผนที่ประเทศสเปนตามหลักนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
 
แต่ละวันมีขบวนผู้คนแวะมาเยี่ยมและพูดคุยกับแม่ชีเทราซ่าที่สำนักชีต่อเนื่องไม่ขาดสาย เธอเองก็ออกเคลื่อนไหวภายนอกไม่หยุดเช่นกัน เวลาเธอขึ้นไฮด์ปาร์คกลางเมือง ผู้คนจะแห่มาฟังเธอจนแน่นขนัด โดยเฉพาะแนวคิดข้อเสนอพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของเธอที่นักการเมืองกระแสหลักของสเปนมากมายได้ยินแล้วแตกตื่นตกใจ เธอเองชื่นชมคานธี นโยบายบางอย่างที่อดีตประธานาธิบดี ฮิวโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอล่าผู้ล่วงลับและประธานาธิบดีอีโว โมราเลสแห่งโบลิเวียดำเนิน อย่างไรก็ตามที่จับใจเธอเป็นพิเศษได้แก่ตัวแบบเศรษฐกิจของแม่ชีนิกายเบเนดิคที่มีมาหลายร้อยปีซึ่งเน้นการผลิตสร้างสินค้าที่เป็นประโยชน์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
 
แน่นอนว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวของเธอตกเป็นเป้าวิจารณ์โจมตีของสังฆาธิการทั้งหลายที่จงรักภักดีต่อทางการวาติกัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของเธอตั้งแต่เรื่องยึดกิจการธนาคารไปจนถึงการเปิดทำแท้งเสรี อย่างไรก็ตามพระสังฆาธิการเจ้าคณะของเธอในท้องถิ่นยังคงอนุญาตให้เธอเคลื่อนไหวต่อไปได้ไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด
 
ในทางส่วนตัว แม่ชีเทเรซ่าเผยว่าสมัยวัยรุ่น เธอเองก็ลังเลจะบวชชีเพราะข้อบังคับเรื่องรักษาพรหมจรรย์ อย่างไรก็ตามหลังบวชชีแล้ว เธอเองก็เคย “ตกหลุมรัก” ถึง ๓ ครั้งแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยความยึดมั่นอุทิศตนแก่พระผู้เป็นเจ้าและสำนักชีของเธอ เธอสรุปท้ายว่า:
 
“ตราบใดที่ชีวิตทางศาสนาของฉันเปี่ยมด้วยความรัก ฉันจะคงอยู่ที่นี่ แต่เมื่อใดชีวิตนี้เอวังสุดทางลง...ก็เป็นหน้าที่ของฉันที่จะผละจากมันไป”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก